Latest Movie :
Recent Movies
 

ลูกขี้แยชอบร้องไห้

เด็กๆ ยังพูดไม่ค่อยเก่งค่ะ ก็เข้าใจค่ะว่า ส่วนใหญ่ถ้าเด็กๆ ต้องการจะบอกอะไร ก็จะใช้การร้องไห้นี่แหละบอกนำไปก่อน แต่ถ้าโดนนี่นิดก็ร้องถูกนั่นหน่อยก็ร้องอีกแล้ว แบบนี้ลูกเข้าข่ายเป็นเด็กขี้แยหรือเปล่าเนี้ยะ...!!!



แบบไหนถึงเรียกว่า เป็นเด็กขี้แย


ร้องไห้เก่ง นี่ล่ะ อาการเริ่มต้นแล้วล่ะค่ะ ไม่พอใจนิดหรืออยากได้อะไรก็จะร้องไห้นำไปก่อนเลย นี่ยังไม่รวมถึงพอได้ยินเสียงดังเข้าหน่อยก็ร้องไห้แล้วด้วยนะคะ

ชอบเรียกร้องความสนใจ สังเกตง่ายๆ ค่ะ บางทีร้องไห้ไม่มีน้ำตาหรอกค่ะ ร้องแต่เสียง พอคุณแม่เดินมาหา หรือทำอะไรที่ลูกอยากให้ทำก็หยุดร้องไปเสียเฉยๆ

ขี้น้อยใจ ตามมาติดๆ กับอาการขี้น้อยใจ ชอบคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บมาน้อยใจ หรือถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียวนานไปก็อาจจะทำให้น้อยใจได้

อ่อนไหวง่ายมาก ถ้า ลูกไม่เห็นคุณแม่หลังจากที่เขาตื่นนอน บางทีอาจจะทำให้ลูกน้อยใจจนร้องไห้ออกมาได้ค่ะ อาการอ่อนไหวง่ายๆ นี่ อาจจะทำให้ลูกเป็นเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองได้ค่ะ


จัดการอย่างไรกับลูกขี้แย

ใช้วิธีอื่นแทนการตำหนิ ถ้าลูกขี้แยขี้น้อยใจนี่ ถ้าจะบอกจะสอนอะไรให้หลีกเลี่ยงการใช้คำตำหนิ เพราะการตำหนิจะยิ่งทำให้ลูกคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บไว้น้อยใจต่ออีก แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกร้องไห้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ใช้ไม้อ่อน ถ้าจะ พูดจะบอกอะไรขอให้เลือกใช้ไม้อ่อนไว้ก่อนค่ะ ใช้การปลอบโยน น้ำเสียงที่นุ่มนวล ใช้วิธีให้กำลังใจ เพื่อลูกจะได้พยายามทำอะไรด้วยตัวเองเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

ให้ความสนใจ แต่ไม่มากจนกลายเป็นการตามใจลูกไป เป็นเรื่องปกติค่ะที่เด็กๆ มักจะเรียกร้องความสนใจจากพ่อกับแม่ แต่ถ้าคุณแม่ตามใจทุกครั้งอาจจะทำลูกมีนิสัยที่เอาต่าใจได้ค่ะ

ให้ความอบอุ่น บาง ครั้งเด็กๆ ร้องไห้ เพราะเขารู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองค่ะ การกอดลูกบ่อยๆ ช่วยได้มากค่ะ นอกจะทำให้รู้สึกอบอุ่นแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกมีกำลังใจขึ้นด้วยค่ะ

วิธีจัดการเด็กแรกเกิดงอแง

เป็นธรรมดาค่ะ
 ตอนแรกคลอดร้องอยู่ตั้งหลายชั่วโมง ไอ้เรารึเหนื่อยหลับแบบสลบเป็นตาย พอตื่นขึ้นมาก็ยังได้ยินเสียงเค้าร้องจากห้องดูแลทารก ก็เลยบอกพยาบาลว่าพาเค้ามาให้ด้วย

ก็เอาเค้ามานอนข้าง ๆ บนเตียงที่มีที่กั้น พยายามให้นมด้วย แล้วเค้าก็หลับไป ไม่แน่ใจว่าร้องมาจนเหนื่อยแล้วหรือว่าเป็นเพราะมาอยู่กับแม่ กอดกันกลมเชียว

อีกอย่างนึง อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ภายนอกที่เค้ายังไม่ชิน ต้องกอดเค้าไว้ ให้รู้สึกเหมือนกับว่ายังอยู่ในพุง โดยเฉพาะถ้าเอาเค้ามานอนบนตัวเรานะ หลับสบายทีเดียว-ลูกลับนะ ไม่ใช่แม่หลับ

ใจ เย็น ๆ ค่ะ ปรกติแล้ว เด็กกับการร้องไห้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเปียก, หิว, ไม่สบายตัวก็จะร้อง เค้าไม่สามารถจะสื่อสารด้วยวิธีอื่นได้ นอกจากการร้อง

ถ้า เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ แม่จะต้องระวังเรื่องอาหารที่ทานเข้าไปด้วย เพราะจะมีผลโดยตรงกับเค้าที่ทานนมเรา ตอนแรกก็ไม่เชื่อหรอก แม่บอกก็ยังไม่เชื่อ ต้องเจอกับตัวเองจึงพูดไม่ออก อาหารรสจัด ๆ จะทำให้ลูกปวดท้องแล้วก็ร้องไม่หยุดไม่หย่อนทีเดียว

มื่อลูกงอแง - สาเหตุ 7 ประการที่ทำให้ลูกร้องไห้ และทำอย่างไรให้เขาหยุดร้อง

เรามาดูกันค่ะว่าเราว่าสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้นั้น มีอะไรบ้าง และจะช่วยแก้ไขอย่างไรดี

ร้องเพราะหิว
สัญญาณที่ทำให้คุณเรียนรู้ได้จากการร้องเสียงดังของลูกคุณก็คือ เขาต้องการกิน ถ้าคุณอุ้มเขาขึ้นมาให้นม
แล้วคุณสังเกตดูว่าเขาร้องหลังให้นม นั่นแสดงว่าเขาร้องเพราะหิว
หรือไม่บางครั้งเด็กอาจร้องเพราะให้นมมื้อก่อนน้อยไปซึ่งแน่นอนที่เดียวเขาจะตื่นเร็ว และร้องเพราะเขาหิว
ถ้าคุณให้นมเขาเพิ่มเมื่อเขาอิ่มแล้วเขาจะหยุดร้องแล้วก็หลับไป

ร้องเพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะต้องการเปลี่ยน
เด็กแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อการเปียกแฉะของผ้าอ้อมต่างกัน
เด็กบางคนจะร้องให้เปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อเขาปัสสาวะออกมาสักพัก เนื่องจากว่าตอนที่เขาปัสสาวะออกมาใหม่ ๆ จะยังไม่รู้สึกเย็น
แต่พอทิ้งไว้และปัสสาวะเริ่มระเหยไปในอากาศ เขาจะเริ่มรู้สึกเย็นขึ้นและเริ่มร้องไห้
แต่ในขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจจะรู้สึกเย็นสบายเมื่อปัสสาวะออกมาและไม่ร้องกวนให้เปลี่ยนผ้าอ้อมก็ได้ค่ะ

ร้องเมื่อรู้สึกร้อน หรือหนาว
เด็กแรกเกิดชอบการห่อหุ้มเพื่อความอบอุ่นเสมือนอยู่ในท้องแม่ ถ้าคุณปล่อยให้เขาเปลือยกายนานๆ
ไม่ ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเสื้อผ้าเขาหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กแรกเกิดนั้นยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่นี้ไม่ทัน เขาจะรู้สึกหนาวและร้องไห้ได้
ดังนั้นคุณควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมโดยเร็วอย่าปล่อยให้เขาเปลือยเปล่าอยู่กับอากาศเย็นเป็นเวลานาน ๆ

ร้องเพราะอยากให้อุ้ม
เด็กที่ต้องการความอบอุ่นจากแม่จะร้องให้อุ้ม การกอด จูบ ลูบไล้ การได้มอง ได้ยิน ได้จับสัมผัส จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัย
การอุ้มประคองจากพ่อแม่จึงดียิ่งกว่ายาวิเศษขนานใด ฉะนั้นเมื่อลูกร้อง คุณควรอุ้มเขา กอดเขาไว้
สัมผัสนี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการพัฒนาของเซลล์สมองและแน่นอนการเพิ่มจำนวนเซลล์ย่อมเพิ่มความสามารถและความฉลาด
และยังสมารถกระตุ้นให้ลูกเป็นเด็กดี และมีสุขได้

ร้องเพราะเพลียเหนื่อยล้า
คุณพ่อคุณแม่บางคน ชอบเล่นกับลูกตลอดเวลาจนเรียกว่ามีอาการขี้เห่อ คือไม่ให้ลูกได้ว่างเอาเสียเลย เพราะเด็กน่ารักน่าเอ็นดู
ซึ่งอาจทำให้หนูน้อยเพลีย และหงุดหงิดง่าย ๆ ความจริงเด็กแรกเกิดไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก การกอดจูบบ่อย ๆ ไม่ควรทำ
เพราะเด็กแรกเกิดจะยังอยู่ในช่วงที่บอบบาง ถ้าเราเจ็บป่วยจะนำไปยังเด็กได้ เด็กบางคนร้องลั่นแล้วเสียงค่อย ๆ เบาลงและหลับไป
แสดงว่าเขาเพลียและรำคาญที่พวกผู้ใหญ่ไปวุ่นวายกับเขามาก

ร้องเพราะรู้สึกไม่สบาย
คุณแม่ควรหมั่นตรวจเช็คความสมบูรณ์ของลูกอยู่เสมอ ถ้าลูกมีอาการที่ดูผิดปกติเช่น หงุดหงิด ซึม อ่อนเพลีย
ร้อง กวนอย่างกระวนกระวายอยู่ไม่สุข ซึ่งอาจจะมีไข้ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำยิ่งถ้าวัดอุณหภูมิในร่างกายแล้วพบว่า เกิน 38 Co ยิ่งต้องรีบพามาพบแพทย์ เพราะเด็กช่วยอายุ 1-2 ปี แม้จะมีโรคติดเชื้อเล็กน้อยก็มีไข้สูงได้

ต้องการการห่อหุ้มและอุ้มไว้
เด็กแรกเกิดรู้สึกคุ้นเคยกับความอบอุ่นมาจากในครรภ์ของแม่ ให้คุณลองห่อผ้าให้กระชับและอุ้มเขาขึ้นพาดบ่าของคุณ จะรู้สึกได้เลย
ว่าเขาจะหดแขนขากอดรัดคุณเพื่อค้นหาความอบอุ่นจากอกแม่ จะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้นและร้องน้อยลง


เราจะให้เขาหยุดร้องได้อย่างไร

ให้ฟังเพลง
เด็กคุ้นเคยกับเสียงหัวใจเต้นของแม่มาตั้งแต่อยู่ในท้อง
เพราะฉะนั้นถ้าอุ้มลูกน้อยแนบอกแม่ให้ชิดตรงตำแหน่งที่เป็นหัวใจแม่ ลูกจะร้องน้อยลง นอกจากนี้ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อเสียงดนตรีได้ดี
ทั้ง นี้อาจเพราะเสียงจังหวะดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบใด คลาสสิค แจ๊ส ร็อค มักมีจังหวะตี ซึ่งเป็นจำนวนที่พอ ๆ กับเสียงหัวใจเต้นของคนพอดี

การเคลื่อนที่
เด็กบางคนชอบให้อุ้มแค่นั้นก็พอแล้วเขาก็จะเงียบไปเอง แต่บางครั้งเด็กชอบให้อุ้มโยกตัวไปมาบนเก้าอี้โยก หรือไกวเปลไปมาเบาๆ
ซึ่ง พอๆ กับจังหวะการเต้นของหัวไจ 60-100 ครั้ง/นาที เด็กจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับจังหวะนั้นคล้ายจังหวะที่ลูกเคยได้ยินตอนที่ อยู่ในท้องแม่
ซึ่งเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจแม่

ลูบท้องอย่างแผ่วเบา
การลูบท้อง หรือหลังอย่างแผ่วเบาจะทำให้เด็กเรอออกมาหรือผายลม จะทำให้ลูกรู้สึกสะบาย ควรยึดถือปฏิบัติหลังจากลูกดื่มนมทุกมื้อ
เพราะเป็นการไล่ลมที่เต็มกระเพาะหลังจากลูกดื่มนมเสร็จแล้ว มิฉะนั้นแก จะเกิดอาการจุกเสียดไม่ยอมนอนได้

การให้นมลูก
คุณแม่ควรจัดท่าในการให้นมลูกที่สบายที่สุด พร้อมทั้งการทรงตัวของลูกน้อยให้ผ่อนคลาย
เมื่อให้นมเขาอิ่มแล้วเขาจะหลับไปควรนวดตามแขนขา และนิ้วอย่างแผ่วเบาจะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้น เมื่อคุณให้นมลูกนานพอควรจนรู้ใจกัน
คุณจะแปลกใจในการไหลของนม เช่นพอลูกเริ่มร้องเมื่อถึงเวลาให้นม น้ำนมคุณก็จะไหลออกมาเอง

สุดท้ายนี้ขอให้อย่าลืมใส่ใจกับตัวเองบ้าง
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่เหนื่อยยากและวิตกกังวล ซึ่งไม่ใช่การเจ็บป่วยของลูกแต่เด็กปกติดี

ถ้าคุณแม่อดทนรอจนครบ 3 เดือน เด็กที่ร้องมาก ๆ คุณแม่ไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก คุณควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง หางานอดิเรกทำ เช่น
- ออกไปเดินเล่น คุยกับเพื่อนบ้าน หรือญาติใกล้ ๆ บ้าง
- ผลัดเวรกันดูแลกับคุณพ่อ อาจจะให้คุณพ่อช่วยเห่กล่อม ส่วนคุณแม่ก็ไปเปิดสมอง
- ทำใจให้สบาย ปลดปล่อยอารมณ์ที่ต้องทนกับการฟังเสียงลูกร้องบ้าง สุขภาพจิตจะได้ดีขึ้น

ที่มา http://www.dumex.co.th/forums_and_friends/mums_stories/not-so-cute_baby_behaviour/story/Story_50


ทำไมทารกร้องไห้โยเย

             ไม่มีอะไรซับซ้อน ทารกร้องไห้โยเยด้วยสาเหตุเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เขารู้สึกเจ็บปวด (ไม่ทางกายก็ทางใจ) หรือเขาต้องการอะไรบางอย่าง การร้องไห้มีมากมายหลายแบบ เช่น ทารกที่ร้องไห้เพราะอยากให้อุ้ม เราสามารถปลอบเขาให้เงียบได้ง่ายตราบเท่าที่ยังมีคนอุ้มเขาอยู่ ส่วนทารกที่ร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บปวด อาจจะร้องไห้งอแงและไม่สามารถปลอบให้เงียบได้ง่าย ๆ เราเรียกว่าอาการร้องไห้แบบนี้ว่า โคลิก

ทารกร้องไห้โยเยเพราะรู้สึกไม่สบายตัว ตอนทารกอยู่ในท้องแม่ เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเขาอย่างสมบูรณ์แบบ สภาพที่ได้ลอยตัวอย่างเป็นอิสระในถุงน้ำคร่ำ มีอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา ความต้องการสารอาหารได้รับการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สิ่งแวดล้อมในท้องแม่เป็นระเบียบและสะดวกสบาย ทารกร้องโยเยเพราะคิดถึงสภาวะที่เขาเคยชินในท้องแม่ การออกจากท้องแม่ทำลายความเป็นระเบียบและสะดวกสบายนี้ไป

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกอยากกลับไปสู่สภาวะที่มีระเบียบและสะดวกสบาย และต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตนอกท้องแม่ การกำเนิดและการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตหลังคลอดจะดึงอารมณ์ของทารกออกมา เป็นครั้งแรกที่เขาต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง เขาถูกบังคับให้กระทำ ให้ทำตัวดี ๆ ถ้ารู้สึกหิว, หนาว, กังวล เขาจะร้องไห้ เขาต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการจากสิ่งแวดล้อมที่ให้ความดูแลเขาอยู่ ถ้าเขามีความต้องการในเรื่องง่ายๆ เขาก็จะได้รับสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างง่ายดาย และเราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงง่าย” แต่ถ้าเขาไม่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงยาก” ทารกที่หงุดหงิดงอแง คือทารกที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก คือทารกที่ไม่พอใจง่าย ๆ กับการดูแลที่เขาได้รับ พวกเขามีความต้องการมากกว่านั้น และพวกเขาแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เพื่อให้ได้มันมา

การร้องไห้ ไม่ใช่แค่เสียง แต่มันคือสัญญาณที่ถูกออกแบบเพื่อความอยู่รอดของทารกและพัฒนาการของพ่อแม่ การไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ ทั้งพ่อแม่และทารกจะเสียประโยชน์ทั้งคู่

ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่สามารถบอกความต้องการของเขาออกมาเป็นคำพูดได้ ในระหว่างที่ทารกไม่สามารถพูด “ภาษาของพ่อแม่” ได้ เขาก็มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาเองที่เรียกว่า “การร้องไห้”
เมื่อทารกมีความต้องการ เช่น หิวหรือต้องการให้คนปลอบเวลาที่เขารู้สึกไม่สบาย ความต้องการเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดเสียงที่เราเรียกว่า เสียงร้องไห้ ทารกไม่ได้คิดหรอกว่า “ตอนนี้ตีสามแล้ว หนูคิดว่าหนูควรจะปลุกแม่ขึ้นมาป้อนอาหารว่างให้หนูดีกว่า” การใช้เหตุผลแบบผิด ๆ นี้เป็นการตีความของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกก็ไม่มีความฉลาดปราดเปรื่องมากพอที่จะเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงตอบสนองเสียงร้องของเขาอย่างดีตอนบ่ายสามโมง แต่กลับไม่อยากตอบสนองเสียงร้องเดียวกันตอนตีสาม

เสียงร้องของทารกแรกเกิดบอกพวกเราว่า “หนูต้องการอะไรบางอย่าง ตอนนี้มีอะไรบางอย่างผิดปกติ ช่วยทำให้มันดีเหมือนเดิมด้วย”

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับการร้องไห้ของลูก

1. การร้องไห้ของทารก คือ การส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันมานานแล้วว่า เสียงร้องไห้ของทารก มีลักษณะ 3 อย่างของการส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

    หนึ่ง. สัญญาณที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ – ทารกแรกเกิดร้องไห้โดยอัตโนมัติ เขารับรู้ถึงความต้องการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสูดอากาศเข้าปอดอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการไล่อากาศออกผ่านเส้นเสียง เมื่อเส้นเสียงถูกอากาศสั่นจะเกิดเสียงร้องที่เราเรียกกันว่า เสียงร้องไห้ ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่ได้คิดว่า “การร้องไห้แบบไหนจะทำให้เราได้กินนม?” ทารกแค่ร้องไห้ไปตามกลไกอัตโนมัติ นอกจากนี้การร้องไห้ยังทำได้ง่าย เมื่อมีอากาศอยู่เต็มปอด ทารกสามารถร้องไห้ได้โดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย
    สอง. การร้องไห้เป็นการรบกวนที่พอเหมาะ – เสียงร้องไห้จะกวนหูมากพอที่จะทำให้ผู้แลหันมาสนใจทารกและพยายามปลอบให้เขาหยุดร้องไห้ แต่ก็ไม่รบกวนมากเกินไปจนทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญจนไม่อยากจะทนฟัง
    สาม. การร้องไห้สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ในขณะที่ผู้ร้องและผู้ฟังเรียนรู้วิธีส่งสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำขึ้น – สัญญาณจากทารกแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสียงร้องไห้ของทารก คือ ภาษาของเขา และทารกแต่ละคนร้องไห้แตกต่างกันไป นักวิจัยด้านเสียงเรียกเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ว่า “ลายเสียงร้องไห้” ซึ่งจะแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของทารก

2. การตอบสนองต่อเสียงร้องของทารกเป็นความปกติทางชีวภาพ

คนที่เป็นแม่จะถูกกำหนดโดยทางชีวภาพให้ตอบสนองต่อเสียงร้องของทารก และไม่สามารถต่อต้านหรือฝืนใจตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพอันน่าอัศจรรย์นี้จะเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่เป็นแม่เพื่อตอบสนองเสียงร้องไห้ของลูกตนเอง เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง เลือดจะไหลเวียนไปที่หน้าอกมากขึ้น และมีความต้องการทางชีวภาพที่อยากจะ “อุ้มลูกและให้นม”

การให้นมลูกทำให้ระดับโปรแล็คตินสูงขึ้นอย่างผิดปกติ โปรแล็คตินคือฮอร์โมนที่เข้าใจกันว่าเป็นพื้นฐานทางชีวภาพของคำว่า “สัญชาติญาณความเป็นแม่” ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม จะทำให้คนเป็นแม่รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขใจ รู้สึกปลดปล่อยจากความเครียดก่อตัวจากเสียงร้องของทารก ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกรักลูกของตัวเอง

เวลาที่ลูกร้องไห้ แม่จะฟังเสียงเรียกร้องทางชีวภาพภายในร่างกายของตนเอง มากกว่าฟังเสียงคนอื่นที่คอยแนะนำให้ทำหูทวนลม ความเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเหล่านี้ คือสาเหตุว่าทำไมมันจึงง่ายสำหรับคนอื่นที่จะพูดเช่นนั้น เพราะพวกเขาไม่มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับทารก ระดับฮอร์โมนของเขาจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อลูกของคุณร้องไห้

3. ควรละเลยหรือตอบสนองต่อเสียงร้องไห้?

เมื่อคุณตระหนักถึงคุณค่าอันเป็นสัญญาณพิเศษของเสียงร้องไห้แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ คุณจะทำอย่างไรกับมัน คุณแม่มี 2 ทางเลือก ละเลย หรือ ตอบสนอง

การละเลยเสียงร้องของทารกมักจะเป็นทางเลือกที่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวอ่อนหรือว่าง่ายจะยอมแพ้และหยุดส่งสัญญาณ กลายเป็นเด็กเงียบและเริ่มตระหนักได้ว่า การร้องไห้ไม่มีประโยชน์ และคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ทารกเริ่มหมดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็เสียโอกาสที่จะได้รู้จักลูกตัวเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวแข็งหรือดื้อดึง (ทารกที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด) จะไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เขาจะร้องไห้ดังขึ้น และเพิ่มความแรงของสัญญาณขึ้น ทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่อาจละเลยสัญญาณอันดื้อดึงนี้ได้หลายวิธี

คุณแม่อาจจะรอจนกว่าเขาจะหยุดร้องไห้ แล้วค่อยอุ้มเขาขึ้นมา เพื่อที่เขาจะได้ไม่คิดว่าการร้องของเขาสามารถเรียกร้องความสนใจของคุณได้ นี่คือการต่อสู้เพื่อแสดงอำนาจ คุณสอนลูกให้รู้ว่าคุณคือผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ ในขณะเดียวกันคุณก็กำลังสอนลูกว่าเขาไม่มีอำนาจในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นี่เป็นการปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก และในระยะยาวทุกคนก็เสียประโยชน์

คุณอาจจะตัดความรู้สึกอ่อนไหวออกไปได้หมด จนคุณไม่รู้สึกรู้สากับเสียงร้องของทารกเลย วิธีนี้คุณสามารถสอนให้ลูกรู้ว่า เขาจะได้รับการตอบสนองเมื่อถึงเวลา นี่ก็คือทางเลือกที่เสียทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน ทารกไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ พ่อแม่ก็ติดอยู่กับความรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถมีความสุขกับบุคลิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูก

คุณอาจจะอุ้มลูกขึ้นมา ปลอบให้เงียบ แล้วก็วางเขาลงเพราะ “ยังไม่ถึงเวลากินนม” เพราะท้ายที่สุด เขาควรจะต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขด้วยตัวของเขาเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน เพราะเขาก็จะร้องไห้อีก แล้วคุณก็จะโมโห ทารกจะเรียนรู้ว่าการพยายามสื่อสารของเขามีคนรับรู้ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งจะทำให้เขาเริ่มไม่เชื่อมั่นความรู้สึกของตนเอง เขาอาจจะเริ่มคิดว่า “บางทีพ่อแม่อาจจะถูก บางทีหนูอาจจะยังไม่หิวนมจริง ๆ ก็ได้”

4. ให้ความทะนุถนอม

อีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม นี่คือทางเลือกที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสร้างระบบการสื่อสารที่ช่วยทั้งสองฝ่าย

คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดียิ่งขึ้น” ร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ ๆ แม่จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อย ๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริง ๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเอง

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกกอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งแรกและหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในการสื่อสารกับลูกที่คุณแม่จะต้องเผชิญ คุณแม่จะมีความเชียวชาญขึ้นหลังจากได้ฝึกซ้อมเป็นพัน ๆ ครั้งในช่วงเดือนแรก ๆ

ถ้าคุณแม่คิดไว้ตั้งแต่แรกว่า การร้องไห้ของทารกคือสัญญาณที่ต้องประเมินสถานการณ์และได้รับการตอบสนอง มากกว่าจะคิดว่ามันคือนิสัยเสียที่ต้องแก้ไข ความคิดของคุณแม่ก็จะเปิดกว้างขึ้นและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านสัญญาณจากลูก ซึ่งจะทำให้คุณแม่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับลูกในที่สุด

การส่งสัญญาณระหว่างแม่ลูกแต่ละคู่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นมันจึงเป็นความคิดตื้น ๆ ถ้า “ผู้ฝึกสอนการร้องไห้” ที่จะแนะนำสูตรสำเร็จในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ให้กับคุณแม่ เช่น “คืนแรกปล่อยให้เขาร้อง 5 นาที คืนที่สอง 10 นาที” ฯลฯ

5. การที่ลูกร้องไห้ไม่ใช่ความผิดของคุณ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ละเลยต่อการร้องไห้ของลูก และพยายามทำให้เขารู้สึกปลอดภัยในโลกใหม่ของเขา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะคิดว่ามันเป็นความผิดของพวกคุณที่ลูกร้องไห้บ่อย ๆ และไม่ควรคิดว่าการจะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ขึ้นอยู่กับคุณ

แน่นอนว่าความคิดของพวกคุณจะต้องเปิดกว้างเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยลูก (เช่น เปลี่ยนอาหารการกินของตัวเอง หรือเรียนวิธีใหม่ ๆ ในการอุ้มลูก) และคุณอาจจะต้องพาลูกไปพบหมอถ้าหากสงสัยว่ามีอาการเจ็บป่วยเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้

แต่อาจจะมีบางเวลาที่คุณหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมลูกร้องไห้ บางครั้งคุณอาจจะสงสัยด้วยซ้ำไปว่าลูกรู้ตัวหรือเปล่าว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร อาจจะมีบางเวลาที่ทารกแค่ต้องการจะร้องไห้ ถ้าคุณได้ลองทำทุกวิธีที่ปกติเคยทำให้เขาหยุดร้องไห้ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ทำให้เขาหยุดร้องไห้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกสิ้นหวังที่จะทำให้เขาหยุดร้องไห้

มันเป็นสัจธรรมในชีวิตของพ่อแม่มือใหม่ว่า ถึงแม้ทารกจะร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ แต่วิธีการที่เขาร้องไห้เป็นผลมาจากลักษณะอารมณ์ของเขา อย่าเอาการร้องไห้ของทารกมาเป็นอารมณ์ หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อทำให้เขาจำเป็นต้องร้องไห้น้อยลง ให้ความห่วงใยและอ้อมแขนอันอบอุ่นเพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่คนเดียว และทำงานสืบสวนให้มากที่สุดเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงร้องไห้ และคุณจะช่วยเขาได้อย่างไร เรื่องอื่น ๆ ที่เหลือเป็นเรื่องของลูก

6. งานวิจัยเกี่ยวกับการร้องไห้

ซิลเวีย เบลล์ และ แมรี เอนส์เวิร์ธ สองนักวิจัยซึ่งทำการศึกษาในช่วงศตวรรษ 1970 ได้ทำลายความเชื่อเรื่อง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” (สิ่งที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงช่วงเวลานั้นหรืออาจจะถึงปัจจุบันนี้ด้วยซ้ำ ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของทารกที่คอยพร่ำบอกว่า ควรปล่อยให้ทารกร้องไห้จนพอใจ มักจะเป็นผู้ชายแทบทั้งนั้น ต้องใช้นักวิจัยผู้หญิงมาแก้ความเชื่อผิด ๆ ให้ถูกต้อง)

นักวิจัยทั้งสองศึกษาคู่แม่ลูก 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เมื่อลูกร้องไห้ แม่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน กลุ่มที่ 2 แม่จะหักห้ามใจในการตอบสนองมากกว่า พวกเขาพบว่าเด็กในกลุ่มที่ 1 ซึ่งแม่ตอบสนองอย่างอ่อนโยนและรวดเร็วกว่า จะไม่ค่อยใช้การร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารเมื่อเขาอายุ 1 ขวบ เด็กเหล่านี้รู้สึกผูกพันกับแม่ของพวกเขาค่อนข้างมาก และมีพัฒนาการของทักษะการสื่อสารดีกว่า เป็นเด็กที่ไม่ค่อยโยเยและไม่เอาแต่ใจตัวเอง

ก่อนการวิจัยครั้งนี้ พ่อแม่ถูกทำให้เชื่อว่า ถ้าพวกเขารีบอุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกร้อง ลูกจะไม่มีทางเรียนรู้ที่จะปรับตัวและจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น งานวิจัยของเบลล์และเอนส์เวิร์ธแสดงผลในทางกลับกัน ทารกที่มีความรู้สึกปลอดภัยและได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะติดพ่อแม่น้อยลงและเรียกร้องน้อยลง มีการทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเพื่อลบล้าง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” แสดงว่า ทารกที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจะร้องไห้มากขึ้น, นานขึ้น, และด้วยวิธีการที่น่ารำคาญมากขึ้น

ในการวิจัยครั้งหนึ่ง เปรียบเทียบเด็ก 2 กลุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ เด็กที่ได้รับการตอบสนองอย่างอ่อนโยนจะร้องไห้น้อยลง 70 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ ไม่ร้องไห้ลดลง สรุปง่าย ๆ ก็คือ งานวิจัยเรื่องการร้องไห้แสดงว่า ทารกที่เสียงร้องไห้ของเขามีคนรับฟังและตอบสนองจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดีขึ้น” ทารกที่พ่อแม่พยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูก จะเรียนรู้ทีจะ “ร้องไห้ให้ดังขึ้น”

สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะมีความแตกต่างของวิธีที่ทารกสื่อสารกับพ่อแม่ตามการตอบสนองที่เขาได้รับต่อการร้องไห้ของเขาแล้ว และยังมีความแตกต่างในหมู่คุณแม่อีกด้วย งานวิจัยแสดงว่า แม่ทีพยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ หรือตอบสนองด้วยความอ่อนไหวน้อย จะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อเสียงร้องของทารกน้อยลงเรื่อย ๆ และความไม่อ่อนไหวนี้จะส่งต่อไปยังความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกด้านอื่น ๆ งานวิจัยแสดงว่าการปล่อยให้ลูกร้องจนพอใจ ทำให้ความรู้สึกของครอบครัวเสียไปด้วย

7. การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้ทารก “ได้ขยายปอด”

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ทางการแพทย์คือ “ปล่อยให้ทารกร้องไห้ ช่วยขยายปอด” ช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 มีงานวิจัยแสดงว่าทารกที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จะมีอัตราการเต้นหัวใจสูงขึ้นถึงระดับที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อการร้องไห้ของเขาได้รับการปลอบประโลม ระบบหัวใจและหลอดเลือดกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าทารกสามารถรับรู้ความเป็นดีอยู่ดีทางกายได้รวดเร็วมาก ถ้าการร้องไห้ไม่ได้รับการปลอบประโลม ทารกจะตกอยู่ในความเครียดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการร้องไห้ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ เพราะหนึ่งในคะแนน Apgar (การทดสอบที่แพทย์ใช้ประเมินสภาพของทารกแรกเกิด) ทารกจะได้คะแนนเพิ่ม 2 คะแนนถ้า “ร้องไห้เสียงดังเต็มที่” ทั้ง ๆ ที่การได้คะแนนเพิ่มเพราะการร้องไห้ไม่มีความสมเหตุสมผลในทางสรีระศาสตร์เลย ทารกแรกเกิดซึ่งรู้สึกตัวดีแต่นอนเงียบ ๆ หายใจในระดับปกติ และตัวเป็นสีชมพูมากกว่าเด็กที่ร้องไห้เสียงดัง กลับเสียคะแนน Apgar นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า เสียงร้องไห้ ซึ่งเป็นเสียงที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของมนุษย์ ยังคงถูกแปลความหมายไปในทางที่ผิดอยู่

วิธีสอนให้ลูกร้องไห้ได้ดีขึ้น

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับซึ่งผ่านการทดสอบมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถแปลความหมายและตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติ และค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์ในการสื่อสาร เพื่อที่ทารกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่ตลอดเวลาเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่

1. คิดว่าการร้องไห้ของทารก คือ เครื่องมือสื่อสาร มากกว่า เครื่องมือที่ใช้บงการพ่อแม่ – คิดว่าการร้องไห้เป็นสัญญาณที่ต้องรับฟัง แปลความหมาย มากกว่า คิดกลัวว่าจะตามใจลูกจนเสียเด็ก หรือกลัวจะตกอยู่ในการควบคุมของลูก

2. เร็วดีกว่าช้า – พ่อแม่มือใหม่มักจะคิดว่า ยิ่งชะลอการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกออกไป ลูกจะร้องไห้น้อยลง ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กใจอ่อน, หัวอ่อน แต่ทารกที่มีบุคลิกดื้อดึงจะร้องไห้เสียงดังขึ้น, ส่งเสียงน่ารำคาญมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรจะหัดอ่านสัญญาณที่มักเกิดขึ้นก่อนการร้องไห้ เช่น สีหน้าวิตกกังวล การกางแขนหรือโบกมือเรียก การหายใจถี่ ฯลฯ การตอบสนองต่อสัญญาณเรียกร้องให้พ่อแม่อุ้มเหล่านี้ จะสอนให้ทารกรู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรลืมเรื่องถูกตามใจจนเสียเด็กไปก่อน ผลงานวิจัยแสดงว่า ทารกที่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อเขาร้องไห้ จะเรียนรู้ที่จะร้องไห้น้อยลงเวลาที่เขาโตขึ้น

3. ตอบสนองให้เหมาะสม – คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน ช่วงสัปดาห์แรกเป็นช่วงของการซ้อมคิว คุณแม่ควรตอบสนองอย่างรวดเร็วและทำตามสัญชาติญาณ เมื่อคุณกับลูกสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น คุณแม่จะรู้เองว่าการร้องไห้ของเขาเป็น “เหตุด่วน” ที่ต้องตอบสนองทันที หรือสามารถรอได้

เรียนรู้คำตอบที่เหมาะสมสำหรับการร้องไห้ รู้ว่าจะพูดว่า “ได้จ้ะ” หรือ “ไม่ได้จ้ะ” เมื่อไร โดยธรรมชาติคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเป็น “คุณแม่ได้จ้ะ” แต่ต่อมาสัญชาติญาณจะทำให้คุณแม่กลายเป็น “คุณแม่ได้จ้ะและไม่ได้จ้ะ” เวลาคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจ ให้ตอบว่า “ได้จ้ะ” ไปก่อน การตอบสนองมากเกินไปแก้ไขได้ง่ายกว่ามาก คุณแม่ก็แค่ถอยหลังออกมานิดหนึ่ง การแก้ไขความไม่เชื่อใจของทารกที่เกิดจากการตอบสนองไม่เพียงพอเป็นเรื่องยากกว่ามาก และอาจทำให้สูญเสียการสื่อสาร

4. ลองใช้วิธีแบบชาวแคริบเบียน – ระบบที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสงบทางจิตใจให้กับทารก เป็นระบบที่เราเรียกชื่อเล่นตามทัศนคติของชาวแคริบเบียนว่า “ไม่มีปัญหา” สมมติว่าลูกวัยเจ็ดเดือนของคุณกำลังนั่งเล่นอยู่ที่พื้นใกล้ ๆ ในขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์ ลูกเริ่มงอแงและทำท่าจะให้อุ้ม แทนที่จะวางโทรศัพท์แล้วรีบอุ้มเขาขึ้นมา คุณก็ทำหน้าสดใส แสดงให้เขาเห็นว่าคุณรับรู้ความต้องการของเขาและพูดกับว่า “ไม่เป็นไรนะจ๊ะ” การทำเช่นนี้ ภาษากายของคุณจะบอกว่า “ไม่มีปัญหา ไม่ต้องงอแง” อีกวลีหนึ่งที่พวกแคริบเบียนชอบใช้คือ “สบายดี ไม่มีปัญหา” ใช้ภาษากายของคุณ สื่อให้ลูกคุณรู้ว่า “สบายดี ไม่มีงอแง”

โรคปิดเครื่อง (SHUTDOWN SYNDROME)*

จากการทำงานตลอด 30 ปีร่วมกับพ่อแม่และทารก เราได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของเด็ก (ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ) และวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่

“เธอตามใจลูกมากเกินไป” ลินดากับนอร์ม พ่อแม่มือใหม่พาเฮทเธอร์ลูกสาววัยสี่เดือนซึ่งมีความต้องการสูงมาพบผม เพราะเฮทเธอร์หยุดเจริญเติบโต

เฮทเธอร์เคยเป็นเด็กที่มีความสุข เติบโตสมบูรณ์ (thrive) จากการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเต็มที่ มีคนอุ้มวันละหลาย ๆ ชั่วโมง เวลาร้องไห้ก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ได้กินนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ มีคนสัมผัสกอดรัดใกล้ชิดเกือบทั้งวัน ทั้งครอบครัวมีความสุขดี และการเลี้ยงดูแบบนี้ได้ผลดีสำหรับพวกเขา แต่เพื่อนผู้หวังดีเกลี้ยกล่อมให้พ่อแม่คู่นี้เชื่อว่า พวกเขาตามใจลูกมากเกินไป ลูกสามารถบงการพวกเขาได้ และเฮทเธอร์จะโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่

พ่อแม่หมดความเชื่อมั่น – เหมือนพ่อแม่มือใหม่ทั่ว ๆ ไป นอร์มกับลินดาหมดความเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ และยอมแพ้ต่อแรงกดดันของคนรอบข้าง ยอมรับวิธีการเลี้ยงลูกแบบยับยั้งชั่งใจและห่างเหินกว่าเดิม พวกเขาปล่อยให้เฮทเธอร์ร้องไห้จนหลับไป ให้กินนมตามตารางเวลา และอุ้มเฮทเธอร์น้อยลงเพราะกลัวว่าลูกจะเสียเด็ก

สองเดือนต่อมา เฮทเธอร์เปลี่ยนจากเด็กที่มีความสุขและชอบโต้ตอบกับพ่อแม่ เป็นเด็กที่เศร้าสร้อยและเงียบงัน น้ำหนักของเธอไม่เพิ่มขึ้น จากเด็กที่อยู่บนสุดของตารางการเจริญเติบโต ตกลงมาอยู่ล่างสุด เฮทเธอร์ไม่เติบโตสมบูรณ์อีกต่อไป พ่อแม่ของเธอก็เช่นกัน

ทารกหมดความเชื่อมั่น – หลังจาก 2 เดือนที่ไม่มีการเจริญเติบโต หมอบอกว่าเฮทเธอร์ “ล้มเหลวในการเติบโตสมบูรณ์” (fail to thrive) และเกือบจะต้องเข้ารับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เมื่อพ่อแม่มาปรึกษาผม ผมวินิจฉัยว่าเธอเป็น “โรคปิดเครื่อง”

ผมอธิบายว่าเฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์เพราะการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม และด้วยการเลี้ยงดูแบบนี้ เฮทเธอร์มีความเชื่อมั่นว่าความต้องการของเธอจะได้รับการตอบสนอง และสภาพทางกายภาพโดยรวมของเธอจะได้รับการจัดการเป็นอย่างดี เพราะคิดว่าพวกเขาจะให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก พ่อแม่คู่นี้ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงไปใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบอื่น พวกเขาถอดปลั๊กความผูกพันระหว่างพวกเขากับเฮทเธอร์โดยไม่รู้ตัว และสูญเสียช่องทางที่ทำให้เฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์ ความกดดันต่อทารกก็จะเกิดขึ้น และระบบทางกายภาพของเฮทเธอร์ชะลอตัว

ผมแนะนำพ่อแม่คู่นี้ให้กลับไปใช้วิธีเลี้ยงดูแบบเดิม อุ้มลูกบ่อย ๆ ให้กินนมเวลาที่ต้องการ ตอบสนองต่อเสียงร้องของเธอย่างอ่อนโยนทั้งกลางวันและกลางคืน ภายใน 1 เดือนเฮทเธอร์กลับมาเติบโตสมบูรณ์เหมือนเดิม

ทารกจะเติบโตสมบูรณ์เมื่อได้รับการทะนุถนอม – เราเชื่อว่า ทารกทุกคนมีความต้องการที่จะได้สัมผัสและทะนุถนอมระดับหนึ่งเพื่อที่เขาจะเติบโตสมบูรณ์ (เติบโตสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความแค่ โตขึ้น แต่ต้องโตขึ้นได้เต็มศักยภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)

เราเชื่อว่า ทารกสามารถสอนพ่อแม่ได้ว่าเขาต้องการการเลี้ยงดูในระดับใด มันขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าจะรับฟังหรือไม่ และขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในทางวิชาชีพที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ ไม่ทำลายความมั่นใจด้วยการแนะนำวิธีการเลี้ยงดูที่เหินห่างกว่า เช่น “ปล่อยให้ลูกร้องไห้ให้พอใจ” หรือ “คุณต้องอุ้มเขาให้น้อยลง” ตัวทารกเท่านั้นที่รู้ระดับความต้องการของตัวเอง และพ่อแม่เป็นคนที่จะเข้าใจภาษาของลูกตัวเองได้ดีที่สุด

ทารกที่ “ได้รับการฝึกสอน” ให้ไม่แสดงความต้องการของตัวเองออกมา อาจจะดูเงียบสงบ, หัวอ่อน, หรือ เป็นเด็กดี แต่ทารกเหล่านี้อาจจะเป็นเด็กที่มีความกดดัน ซึ่งปิดกั้นการแสดงความต้องการของตัวเอง พวกเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าพูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด

(แปลและเรียบเรียงจากบทความในเว็บไซต์ www.askdrsears.com) โดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

* หมายเหตุ ครั้งแรกผู้แปลแปลคำว่า Shutdown Syndrome ว่า โรคเงียบ เพราะเข้าใจผิดว่าดร.เซียร์สจะบอกว่าทารกนิ่งเงียบไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้ไปอ่านทวนบทความภาษาอังกฤษอีกรอบ จึงเข้าใจว่าประเด็นหลักน่าจะเป็นการหยุดเจริญเติบโตของทารกมากกว่าการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คำว่า Shutdown นี้จึงควรจะเป็นความหมายเดียวกับที่่เราใช้เวลาเราปิดหรือหยุดสิ่งต่าง ๆ เช่น ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, หยุดกิจการ, ปิดโรงงาน ฯลฯ โรคเงียบ จึงถูกเปลี่ยนเป็น โรคปิดเครื่อง ด้วยประการฉะนี้...
--------------------------------------------------------------------
บทความนี้ ถึงกับทำให้ผู้แปลเปลี่ยนทัศนคติ และรู้สึกผิดที่เคยหงุดหงิดหลานๆ ซึ่งร้องไห้ งอแงพูดไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว บทความนี้ให้ความรู้กับเราในประเด็นที่แตกต่างไปอย่างมาก จากที่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก  อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้อ่านพิจารณาให้ดีว่า การที่ลูกร้องไห้นั้น เราควรตอบสนองอย่างไร ในแต่ละช่วงวัยหรือสถานการณ์  ดังที่ในบทความก็กล่าวไว้ว่า "คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน"

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกอย่างเหมาะสมนั้นไม่ได้หมายถึงการตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นะคะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถสื่อสารกับเราด้วยวิธีอื่นได้แล้ว - webmother

ทำไมลูก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ง่วงนอน แต่ไม่ยอมนอน

     ตามหัวข้อเลยค่ะ ลูกชายเราก็เป็นค่ะ แรกๆร้องบ้านแตกเลยค่ะเพราะเค้าง่วง แต่หลับเองไม่เป็น ร้องทั้งวันเลยค่ะ ร้องจนหมดแรงหลับไปเอง เรากลุ้มมากเพราะอยากให้ลูกนอน จนในที่สุดเราเลยหาข้อมูลตามเน็ท และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการนอนของเด็ก และเราได้ลองเอาคำแนะนำจากหนังสือมาลองใช้กับลูกเราดู ปรากฎว่าลูกเราเปลี่ยนเป็นคนล่ะคนเลยค่ะ จากเด็กที่หงุดหงิดงอแงกลายมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดีมาก และถือว่าเลี้ยงง่ายมากค่ะ เราเลยอยากเอาข้อมูลความรู้ที่ได้จากหนังสือมาแบ่งปันให้คุณแม่ๆทั้งหลายได้ลองนำไปใช้ดูค่ะ

เด็กทารก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ยังหลับเองไม่เป็น คุณแม่ต้องช่วยกล่อมให้เค้าหลับค่ะ หลังจาก 4 เดือนๆไปแล้วค่อยเริ่มสอนให้เค้ากล่อมตัวเองให้หลับ  เราต้องรู้ว่าเค้าเริ่มง่วงตอนไหน โดยปกติแล้วเค้าจะแสดงอาการเหล่านี้เมื่อเริ่มง่วง

เอามือขยี้ตา
เลิกสนใจของเล่น
นอนนิ่งๆ
หาว
ตาลอย หรือตาปรือ
อยู่ดีๆก็งอแงขึ้นมาเฉยๆ

พอเราเห็นอาการดังกล่าวแล้วเราก็ต้องเริ่มกล่อมให้เค้านอนได้แล้ว เด็กวัยนี้เค้าจะตื่นมากินนมหรือเล่นได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ถ้าเราปล่อยให้ลูกตื่นนานกว่านี้ร่างกายเค้าจะทนรับไม่ไหว สมองเค้ายังไม่พัฒนาพอที่จะหลับเองได้  ร่างกายเค้าก็จะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งขี้นมา ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เด็กไฮเปอร์ตื่นตัวไม่ยอมหลับ และในที่สุดเค้าก็จะร้องให้ ร้องจนเหนื่อยจนร่างกลายทนไม่ไหว และน็อคไปในที่สุด  ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้บ่อยๆล่ะก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเค้าแน่นอน

มาดูขั้นตอนการช่วยให้ลูกหลับกันค่ะ

1 จับเวลาค่ะ เค้าตื่นเมื่อไหร่เราก็เริ่มจับเวลาได้เลย 1-2 ชั่วโมงหลังจากลูกตื่น เค้าจะเริ่มแสดงอาการง่วงนอนออกมา (ลูกเราประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ก็เริ่มแสดงอาการแล้ว กล่อมประมาณ 5-10 นาทีก็หลับแล้วค่ะ)

2 พอเค้าเริ่มง่วงเราก็กล่อมเค้าให้หลับได้เลย ใช้วิธีที่เค้าชอบที่สุดเช่น ให้กินนม อุ้มเดิน ไกวเปล เป็นต้น

3 จำไว้ว่าเราต้องกล่อมเค้าให้หลับภายในเวลาที่กำหนด ถ้าปล่อยไว้เกินเวลา รับรองร้องบ้านแตกแน่ค่ะ แถมกล่อมยังไงก็ไม่หลับอีกต่างหาก

เด็กที่พักผ่อนเพียงพอ จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่นอนไม่พอด้วยค่ะ
---------------------------------------------
ลูกชายเราอายุ 2 เดือน 3 อาทิตย์ ค่ะ ตั้งแต่ได้นอนเต็มอิ่มก็แทบจะไม่งอแงเลยค่ะ

ช่วงแรกเกิด - 3 เดือนลูกเราเลี้ยงง่ายค่ะ ไม่งอแง อารมณ์ดี ยิ้มเก่งมากๆ (ถ่ายรูปลูกทีไรจะยิ้มหวานทุกที) ปรับกลางวัน-กลางคืนได้ก่อน 1 เดือน 

พอ 1 เดือนเริ่มนอนกลางคืนยาวแล้วค่ะ ตื่นมากินนม 2 รอบ  เริ่มให้นอนเองโดยไม่แบกค่ะ เพราะเราต้องดูลูกคนโตด้วย  คือ ถ้าร้องเราก็อุ้มกล่อม พอเงียบได้ซักพักเราก็วางค่ะ พยายามไม่ให้ติดอุ้มหลับ

พอ 2 เดือนก็เริ่มนอนยาวมากขึ้น ตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบค่ะ (บางคืนอาจจะ 2)
ตอนนี้เริ่มนอนเองได้แล้ว เวลาตื่นมากลางคืน หากกินนมแล้วไม่นอน ยิ้มตาหวานแป๋วๆให้ เราจับเค้าลงเตียงนอน เค้าก็หลับเองได้ค่ะ  (เคยตื่นมากินนมตี 4 ยิ้มให้แม่อย่างหวาน ปากบานเชียวค่ะ พร้อมเล่นเต็มที่  เราก็คิดว่าแล้วจะหลับไหมเนี่ย แต่ก็ลองเอาไปหย่อนเตียงเค้าทั้งๆที่ตาแป๋วๆอย่างนั้นแหละ แล้วเราก็ไปนอนต่อเอาแรงอีกหน่อยเพราะเดี๋ยวคนโตตื่นเราต้องจัดการเตรียมเค้าไปโรงเรียนอีก  เค้าก็หลับเองได้นะคะ ไม่ต้องกล่อมเลย) กลางวันเริ่มหลับเองได้เช่นกัน

ตอนนี้ 3 เดือนกว่าแล้วค่ะ เหลือตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบ หลับเองได้ทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ


ตอนลูกคนแรกเราขอบอกว่าเหนื่อยมากค่ะ ตื่นมากินนมหลายรอบ นอนเองไม่เคยเป็น
พอมามีคนเล็ก เราพยายามจะหัดเค้า ไม่ให้ติดอุ้มกล่อม เพราะเราก็ต้องจัดการคนโตด้วยไหนจะ อาบน้ำ แปรงฟัน เอาเข้านอน เลยลองปล่อยให้คนเล็กหัดหลับเอง ไม่งั้นเราก็ไม่ไหวเหมือนกันค่ะ เพราะต้องทั้งเลี้ยงลูกและทำงาน


หมอของลูกเราบอกว่าที่คนเล็กดูเลี้ยงง่าย สบายๆด้วย น่าจะเป็นเพราะพ่อแม่มีความมั่นใจมากขึ้นค่ะ มั่นใจและรู้จักวิธีการรับมือลูกมากกว่าเดิม เพราะมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว

-----------------------------
ช่วงอายุครบ 1 เดือน ลูกงอแงมากมายช่วงหัวค่ำ เราคิดแต่ว่าเค้าปวดท้อง ให้กิน air-x ก็แล้ว จับเรอก็แล้ว ให้กินนมอีก ฯลฯ ก็ไม่หาย จนมีคนมาเห็นบอกว่าเค้า "ง่วง" ค่ะ แค่นั้นแหละ เก็ตเลย หลังจากนั้นก็รับมือได้ พอง่วงก็กล่อมหลับ

ตอนนี้ 7 เดือนแล้วยังงอแงเวลาง่วงเหมือนเดิมเลย แต่แม่มันจับทางได้แล้วเวลาขยี้ตา ไม่ค่อยอยากเล่นของเล่นแล้ว แสดงว่าง่วงล่ะ ถ้าปล่อยไว้สักพักจะงอแงมาก ตามที่คุณ จขกท เขียนมาเป๊ะเลยค่ะ

ไล่ลม…ให้ลูกรัก

เมื่อเจ้า ตัวเล็กดูดนมมักกลืนลมไปด้วย โดยเฉพาะถ้ามื้อนั้นลูกหิวนมมากๆ หรือน้ำนมคุณแม่เยอะ ทำให้หนูน้อยดูดเร็ว ดูดแรง ส่งผลให้ลมเข้าไปแน่นท้อง เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อ และร้องไห้โยเยตามมา คุณแม่เลิกกังวล เมื่อต้องไล่ลมให้ลูกรักหลังมื้อนมได้แล้วค่ะ เพราะวิธีต่อไปนี้ช่วยได้

babymomypedia
ท่าอุ้มลูกพาดบ่า
คุณแม่อุ้มลูกหันหน้าเข้าหาตัว วางศีรษะลูกบนบ่าหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูก ส่วนมืออีกข้างประคองก้นลูกไว้ การอุ้มลูกท่านี้ ไหล่ของคุณแม่จะช่วยนวดลิ้นปี่ของลูกไปโดยปริยายอย่างเบาๆ ทำให้ลูกเรอได้ค่ะ

ท่าอุ้มลูกนั่งบนตัก
คุณแม่ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงคางของลูก จากนั้นก็โน้มตัวลูกมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังตรง อุ้งมือคุณแม่จะอยู่บริเวณลิ้นปี่ลูก ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลูกมากดทับที่มือคุณแม่ เป็นการช่วยคลึงท้องลูกเพื่อช่วยไล่ลมออก ส่วนมืออีกข้างก็ลูบหลังลูกเบาๆ

ท่าอุ้มลูกวางพาดบนขา
คุณแม่อุ้มลูกให้นอนคว่ำโดยช่วงหน้าอก (ลิ้นปี่) ของลูกอยู่บนหน้าขา (คุณแม่นั่งบนเก้าอี้ชันเข่า) ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงไหล่ลูก และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังลูกเบาๆ หน้าขาคุณแม่จะช่วยนวดเบาๆ ที่ท้องลูก เพื่อช่วยไล่ลมได้เช่นกันค่ะ

ลืมไม่ได้เมื่อต้องไล่ลม
1. ขณะที่อุ้มไล่ลมให้ลูก ต้องเตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือนะคะ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้สะดวก
2. ทุกครั้งที่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของลูกยังไม่แข็งแรงพอ

มหาหิงส์ไล่ลม
คุณแม่สามารถใช้มหาหิงส์ไล่ลมให้ลูกได้เช่นกัน โดยทาให้ลูกที่ฝ่าเท้าหรือหน้าท้องลูกก็ได้ค่ะ กลิ่นระเหยที่มีความร้อนนิดๆ จะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวและบีบตัว ช่วยไล่ลมในท้องหนูน้อยได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าทามากเกินไป เพราะความร้อนทำให้ผิวบอบบางของลูกไหม้ได้ค่ะ

สำหรับคุณแม่มือใหม่หัดขับที่อุ้มลูกให้เรอแล้วแต่ลูกไม่เรอก็ไม่ต้องตกใจ เพราะปกติเด็กจะเรอหรือไม่เรอก็ได้ แต่คุณแม่ควรอุ้มลูกต่อไปอีกสักแป๊บนึง เพื่อให้น้ำนมลงในกระเพาะ ก่อนให้ลูกนอนค่ะ

ไล่ลม...ลูกรัก infrographic

จาก : นิตยสารรักลูก

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน
สมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษกันมากขึ้น นั่นอาจเพราะด้วยเหตุผลที่ว่า การมีสุขภาพดี ย่อมทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวคนที่รักได้อย่างยืนยาวค่ะ และอย่างพืชผักพื้นบ้านของไทย ก็กินดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ฉะนั้นเราลองมาดูกันซิว่าพืชผักพื้นบ้านไทยชนิดใด ที่แม่หลังคลอดสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารบำรุงร่างกาย และยังช่วยบำรุงน้ำนมอีกด้วย


5 พืชผักที่กินดีมีประโยชน์




ใบกะเพรา

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม และยังมีเส้นใยอาหารสูง


           คุณประโยชน์ แก้ท้องอืด เป็นหวัดคัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน ช่วย ให้เจริญอาหาร


           เมนูสุขภาพ แกงเลียงใบกะเพราะ, ผัดกะเพราะหมู/ปลา, ไข่เจียว ใบกะเพรากรอบ ฯลฯ




ใบแมงลัก

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี


           คุณประโยชน์ ช่วยขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร


           เมนูสุภาพ แกงเลียงรวมมิตรใส่ใบแมงลัก, กินแกล้มกับขนมจีน น้ำยาป่า, ต้มยำน้ำใสใส่ใบแมงลัก, จิ้มจุ่ม ฯลฯ




หัวปลี

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน


           คุณประโยชน์ แก้โรคกระเพาะ บำรุงเลือด (โลหิตจาง) บำรุงน้ำนมในหญิงให้นมบุตร


           เมนูสุขภาพ ยำหัวปลี, แกงเลียงหัวปลี, ลวกจิ้มน้ำพริก, ทอดมัน หัวปลี ฯลฯ




ขิง

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และแคลเซียม


           คุณประโยชน์ ช่วยขับลม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยบำรุงเลือดให้ไหลเวียนดี


           เมนูสุขภาพ ยำกุ้งใส่ขิง, ไก่ผัดขิง, มันต้มขิง, ยำปลาทูใส่ขิง, บัวลอยน้ำขิง ฯลฯ




ฟักทอง

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส เบต้า-แคโรทีน มีสารสีเหลือง และโปรตีน


           คุณประโยชน์ แก้อาการฟก ช้ำ ปวด บำรุงร่างกาย


           เมนูสุขภาพ ฟักทองผัดไข่, ซุปฟักทอง, แกงเลียงรวมมิตรใส่ฟักทอง ฯลฯ



Good to Know

          เมื่อแม่ให้นมลูกมีอาการคัดตึงเต้านม อาการ เต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมอักเสบ ซึ่งสามารถบรรเทา หรือลดอาการเต้านมคัดได้ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี และการอุ้มให้นมลูกอย่างถูกท่า เริ่มจากให้ลูกดูดบ่อยๆ และนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามให้ลูกดูดนมจากเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี และก็เป็นการระบายนมออกจากเต้า อีกวิธีหนึ่งเมื่อมีอาการคัดตึงเต้านมจนรู้สึกเจ็บ ซึ่งก็มีแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลายๆ ท่าน ใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด โดยใช้ใบกะหล่ำปลีที่แช่เย็นแล้ว ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านม โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน อาการคัดตึงเจ็บเต้านมก็จะค่อยๆ บรรเทาลง


แหล่งที่มา นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับ กรกฎาคม ๒๕๕๖

เมนูหลังคลอดลูก

สอบถามหน่อยค่ะ
พอดีพี่สาวเพิ่งคลอดน้องเลยอยากจะขอถามว่า เมนูสำหรับคนที่เพิ่งคลอดบุตรมีอะไรบ้างคะ ถ้ามีสูตรด้วยก็จะยิ่งดีค่ะ เพราะส่วนตัวทำกับข้าวไม่เก่ง รบกวนพี่ ๆ ชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย: ปลา [22 พ.ค. 49 17:26] ( IP A:203.113.16.241 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
โบราณว่าแกงเลียงหัวปลีทำให้มีนำนมเยอะค่ะ

สูตรแกงเลียงลองเข้าไปดูของคุณเจี้ยบที่นี่นะคะ
http://www.pantown.com/market.php?id=8521&name=market6&area=&topic=83&action=view

http://www.pantown.com/market.php?id=8521&name=market6&area=&topic=40&action=view

http://www.pantown.com/market.php?id=8521&name=market6&area=&topic=26&action=view
โดย: ตุ้ม [22 พ.ค. 49 19:15] ( IP A:58.8.122.23 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
หวัดดีคะพี่ตุ้ม และน้องปลา
ใช่น้องปลาปั๊กเป้ารึเปล่าจ๊ะ? หายไปนาน คิดถึงจ๊ะ (ถ้าไม่ใช่ก็ขอโทษด้วยคะ)
พอดีเพิ่งกลับมาถึงบ้าน เดี๋ยวคืนนี้จะมาพิมพ์เรื่องซุบหลังคลอดให้นะ

และขอบคุณพี่ตุ้มมากคะ
โดย: ชมพู่ [22 พ.ค. 49 21:20] ( IP A:213.114.231.217 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 4
มาแล้วๆๆค้า

เริ่ม เลยนะคะ จากประสพการณ์ที่ญาติผู้ใหญ่ให้ทำกันหลังคลอดบุตร สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ห้ามอาบน้ำอย่างน้อย 10 วัน นะคะ เพราะฉะนั้นก่อนคลอดให้อาบให้สะอาดนะคะ
และห้ามดื่มน้ำเย็น หรือของเย็นๆนะคะ

ช่วง วันแรกๆที่คลอดบุตร ให้เอาขิง หรือเปลือกขิง มาต้มน้ำ ปริมาณยิ่งมากก็ยิ่งดีคะ เช่นขิงขนาดเท่าฝ่าแม่มือ สัก 2 หัว เอามาทุบๆให้แตก
แต่ที่บ้านจะทำขิงดองซีอิ้วจะมีไข่และเท้าหมู (เกิ๊งโชว) ของทางฮ่องกงคนที่คลอดลูกส่วนมากจะทำทานกัน (สมัยก่อนนะคะตอนนี้ไม่แน่ใจแล้วคะว่ายังฮิตกันอยู่รึเปล่า) ก็จะเอาเปลือกขิงที่ปอกออกมา แบบว่าไม่เสียของ ก็จะเอามาต้มน้ำ ให้เดือด แล้ว เอาผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หลังจากเจ็ดวันหรือ10วันไปแล้วถึงจะอาบน้ำ สระผมได้คะ และให้ใช้น้ำขิง สระผมด้วยนะคะ ไล่ลมดีคะ

และถ้าจะพูดถึงเรื่องอาหาร ก็คงจะเป็นไก่ผัดขิง และก็ต้มจืดไก่ใส่ขิง แต่ละอย่างก็ใช้ขิงเยาะกว่าปกติ เพื่อเป็นการขับลมคะ

ใน ช่วงนี้ที่เพิ่งคลอดลูกออกมา ถ้าน้ำนมไม่ออกก็อย่าไปคั้นนะคะ เดี๋ยวเจ็บหน้าอกเหมือนมีของหนักมาทับหน้าอก(เรารู้สึกอย่างนั้นจริงๆนะ) ดีไม่ดีจะมีไข้จะขึ้นด้วยคะ และถ้าน้ำนมหลังจาก3วันไปแล้ว ถ้าน้ำนมยังไม่ใหล ก็ต้องเอาผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบหน้าอก หรือไม่ที่ รพ.ก็จะมีสปอตร์ไล้ ส่องมาที่หน้าอก ทำให้หน้าอกไม่แข็ง แล้วน้ำนมก็ใหลออกมาได้ แต่ถ้าคิดว่าน้ำนมมีออกมาไม่มาก ก็ ให้ลองทำแกงเลียงที่พี่ตุ้มให้สูตรมานะคะ
และที่ญาติผู้ใหญ่ที่บ้าน จะทำซุปมะระกอต้มกับหัวปลา หรือเนื้อปลาก็ช่วยเรียกน้ำนมได้ดีนักแลคะ

และ มาพูดถึงซุบไก่ ตามตำราของที่บ้าน จะต้องให้หมดน้ำคาวปลาก่อน คิดว่า ในราว 10 วัน ก็เริ่มตุ๋นไก่ดำ หรือไก่แก่ ทาน พูดง่ายๆ ที่บ้านบังคับให้กิน 1 เดือนคะ

ซุปไก่ตุ๋นยาจีน
http://www.pantown.com/market.php?id=10749&name=market5&area=&topic=36&action=view

ซุป มะละกอ+แครอท จากกระดูกหมูให้ใช้หัวปลาแทนคะ
http://www.pantown.com/market.php?id=10749&name=market5&area=&topic=38&action=view

ซุปกระเพาะปลา+เห็ดหอม ง่ายๆคะ
http://www.pantown.com/market.php?id=10749&name=market5&area=&topic=39&action=view

ซุปโสมเรียกพลังกลับมา
http://www.pantown.com/market.php?id=10749&name=market5&area=&topic=19&action=view

อีกซุบก็แนะนำให้ใช้ ตองไกว(ในภาษากวางตุ้งต๊อง ให้ลากเสียงยาวหน่อยคะ) ตุ๋นกับเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ล้วนๆ
กลิ่น จะแรงมาก แต่บำรุงเลือดดีนัก เค้าบอกว่า คนที่คลอดบุตร ร่างกายจะซึมซับพวกยาบำรุงได้ดีในช่วงหลังคลอด แต่หลังจาก 3 เดือนไปแล้ว จะซึมซับได้ไม่มากคะ เพราะฉะนั้น หลังคลอดภายใน3เดือนก็โด๊บได้เต็มที่เลยนะคะ

อีกซุบนึง ก็คือเขากวางตุ๋น+อกไก่ สรรพคุณดีมากๆ แต่จะมีราคาหน่อย แผ่นจะบางๆเหมือนกระดาษเลยคะ เบามากๆ
ตอน ที่ทานก็ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ไม่งั้นจะเอารูปมาให้ดู ถ้าหาซื้อได้ก็น่าลองนะคะ ทานง่ายกว่า ต๊องไกว (ในภาษากวางตุ้งต๊อง ให้ลากเสียงยาวหน่อยคะ)ให้ไปหาซื้อรานยาจีนคะ

และหลังคลอดถ้าอยากให้พุงยุบเร็วขึ้นให้เอาผ้าหรือที่รัดหน้าท้อง
ให้รัดทุกๆวัน มันจะทำให้หน้าท้องแบบราบกลับมาได้เกือบเหมือนเดิมเลยคะ

อีกอย่างสำคัญมากกกกกกกกกกกกกก
ห้ามกินของหมักดองเช่นหน่อไม้นะคะ แสลงคะ
และอาหารทะเลด้วยเดี๋ยวจะเป็นพิษจะมีอาการเหมือนลมพิษ
หลังจาก3เดือนไปแล้วค่อยกินนะคะกุ้ง+ปูนี่ตัวแสลงเลยคะ

ยิ่ง ถ้าลูกกินนมเราเองยิ่งต้องระวังมากยิ่งขึ้นนะคะ เพราะแม่ทานอะไร ลูกก็ได้จากเราไปนะคะ อันนี้ ตามตำราจีนที่ๆบ้านให้สะใภ้ทำทานกันมาคะ แต่หมอฝรั่งบอกว่าทานอะไรก็ได้ แล้วแต่จะเชื่อนะคะ

ถ้าคิดว่าจะทำแต่น้ำซุปก็ได้คะ เรื่องที่พิมพ์มาให้อ่านก็คิดว่าเป็นการเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันนะคะ

เอารูปเกิ๊งโชวมาให้ดูคะ


โดย: ชมพู่ [23 พ.ค. 49 1:04] ( IP A:213.114.231.217 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 5
รู้แล้วคะ ต๊องไกว ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ตังกุย คะ

[ คัดลอกจากนิตยสารใกล้หมอ ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 เมษายน 2540>


ตังกุย สมุนไพรเพื่อทุกคน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร สินธพ โฉมยา


--------------------------------------------------------------------------------

ใน ตำรับยาสมุนไพรจีน ตังกุย เป็นสมุนไพรที่รู้จักกันดี และนิยมใช้กันอย่างมาก เช่นเดียวกับโสม ถั่งเฉ้า และเห็ดหลินจือ ตามสรรพคุณตังกุยจะได้มาจากส่วนรากของพืชวงศ์ Umbelliferae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Abgelica sinensis (Oliv) Diels เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม รสหวานออกขมเล็กน้อย จัดอยู่ในกลุ่มสมุนไพรที่มีรสอุ่นกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต บำรุงโลหิต ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ และแก้ปวด

โดยความนิยมแล้วถือว่า ตังกุย เป็นสมุนไพรที่ทรงคุณค่าสำหรับสตรี เนื่องจากเป็นตัวยาที่มีผลต่อมดลูกโดยตรง คือมีสรรพคุณ ในการช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ แก้ปวดประจำเดือน ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว (rheumatism) และเป็นยาระบายท้องอ่อนๆ ด้วย

มี รายงานจาการทดลองพบว่า สารสกัดจากตังกุย ในส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีจุดเดือดสูง (high boiling point) ประมาณ 180 องศาเซลเซียส ถึง 210 องศาเซลเซียส จะมีคุณสมบัติด้านการบีบตัว (ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว) ของมดลูกได้ แต่สำหรับในเชิงเภสัชวิทยา แล้วจะเกิดผล 2 กรณี คือ

ประการแรก

คือเมื่ออยู่ในภาวะตั้ง ครรภ์ มดลูกจะมีความไวต่อภาวะความกดดัน ในโพรงมดลูกสูง สารสกัดจากรากตังกุยจะมีผลต่อกล้ามเนื้อมดลูก คือ นอกจากจะลดการบีบตัวแล้ว ยังทำให้การตอบสนองต่อความกดดัน ในโพรงมดลูกน้อยลง (decreasing the myometrial sensitivity) และจะมีผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณมดลูกมากขึ้น โดยการขยายหลอดเลือด ผลก็คือลดโอกาสในการแท้งบุตรได้ จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมตังกุยจึงเป็นผลดีต่อสตรีที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์

ประการที่สอง

คือ สำหรับสตรีทั่วไปและสตรีภายหลังการคลอดบุตร ตังกุยจะมีผลต่อระบบประจำเดือน คือ ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้ปวดประจำเดือน ในตำรับยาจีนจะผสมตังกุยกับหัวแห้วหมู (Cyperus rotundus) โกฐจุฬาลำเภาจีน (Artemisia argyi) เปลือกลูกพรุน (Prunus persica) และดอกคำฝอย (Carthamus tinctorius) เพื่อเป็นยาช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ถึงแม้คำอธิบายเรื่องนี้ ยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ก็มีรายงานว่า

ใน สารสกัดของตังกุยทั้งในส่วนของสารสกัดด้วยน้ำ และแอลกอฮอล์ที่ไม่ใช่เป็นสารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกได้ดี (คือ เพิ่มการบีบตัวของมดลูก) จึงนิยมใช้ตังกุยเป็นยาช่วยในการขับน้ำคาวปลา และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็วขึ้น

สำหรับการรักษาอาการหลังหมด ประจำเดือน มีการทดลองใช้ตังกุย ร่วมกับตัวยาอื่นอีก 5 ชนิด ในคนไข้ 43 คน พบว่าส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้น คือ อาการร้อนวูบ มึนงง ตาพร่า และอาการไม่สบายในช่องท้องจะลดลงประมาณ 70%

ตังกุยมีความเป็นพิษหรือไม่

โดย ทั่วไปแล้ว ตังกุยก็เช่นเดียวกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ คือ ถ้าใช้ในปริมาณที่ปกติก็ไม่พบอันตรายอย่างไร แม้ในบางคน ที่ได้รับตังกุยแล้วเกิดอาการผิดปกติ เมื่อหยุดยาอาการดังกล่าวก็มักจะหายไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยเสียเลยทีเดียว ถ้าร่างกายได้รับสารมาก ส่วนจะมากเท่าใดนั้นคงยากที่จะตอบ แต่จากการทดลองในสัตว์ โดยใช้สารสกัดน้ำปริมาณ 0.3-0.9 กรัมต่อน้ำหนักตัว 10 กรัม ฉีดเข้าสู่กระเพาะ จะมีผลให้การเต้นของหัวใจช้าลง ความดันโลหิตลดลง และกดการหายใจ และเมื่อได้รับสารมากขึ้นก็จะแสดงอาการมากขึ้น แต่จวบจนปัจจุบันก็ยังไม่พบว่ามีผู้ใดได้รับอันตรายร้ายแรง จากการรับประทานตังกุยเลย

"ตังกุย" เป็นยาสำหรับสตรีเท่านั้นหรือ ผู้ชายรับประทานได้หรือไม่

ถ้า ดูจากสรรพคุณดั้งเดิม ที่ว่าตังกุยเป็นยาที่ใช้สำหรับ บำรุงร่างกายทั่วๆ ไป และบรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ ก็น่าจะใช้ได้ดีทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะการมุ่งหวังผล เพื่อเป็นยาบำรุงร่างกาย เพราะในรากตังกุยจะมีวิตามินบี 12 ในปริมาณที่มาก (0.25-0.4 ไมโครกรัม/100 กรัมของน้ำหนักรากแห้ง) ยังมีสารโฟลิก (Folic) และไบโอติน (Biotin) ซึ่งมีผลต่อการสร้างปริมาณเม็ดเลือด ในร่างกาย จึงนิยมใช้เป็นยาบำรุงโลหิต

ยิ่ง กว่านั้นยังมีการทดลองที่พบและแสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่ได้รับสารสกัดจากรากตังกุยจะมีขนาด และน้ำหนักของตับ และม้ามเพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวชนิด macrophage ในการทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของตับ ซึ่งส่งผลถึงการสร้างระบบภูมิต้านทานของร่างกายที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังมีข้อมูลค่อนข้างจำกัด คงต้องรอผลการวิจัยต่อไป

ผลต้านการอักเสบและลดการบวม โดยการทดสอบทา
โดย: [0 3] ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 6
งชีวเคมี ถึงขบวนการเกิดการอักเสบ พบว่า สารจากตังกุยสามารถขัดขวางการเกิด 5-hydroxytryptamine (5-HT) และลดการส่งผ่านของสารทางผนังเซลล์หัวใจ (coronary flow) และกระแสโลหิตที่ร่างกาย peripheral blood flow ได้โดยการทำให้หลอดเลือดขยายตัว (dilate vessel) มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ให้ความดันล่างสูงขึ้น

นอกจากรายงานทีกล่าวมาแล้ว ยังมีรายงานการวิจัย ถึงสรรพคุณของตังกุยอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมาก เช่น
เป็นสารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิด
ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง เช่น แก้อาการคัน
ใช้เป็นยาแก้หืด
ใช้เป็นยาแก้ปวด
ใช้ลดไขมันในโลหิต โดยลดการดูดซึมโคเลสเตอรอล (cholesterol) เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งเป็นการป้องกันโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

ปัจจุบัน วงการแพทย์ตะวันตกต่างหันมาสนใจ ให้ความสนใจต่อสมุนไพรมากขึ้น และยังคงมีการวิจัยศึกษา หาคุณประโยชน์ของสมุนไพรกันอย่างกว้างขวางและจริงจัง เพื่อค้นหาความลับในการรักษาและบำบัดโรคภัยต่างๆ รวมทั้งเคล็ดลับในการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อการมีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพดียิ่งขึ้น

ก๊อบมาจากลิ้งค์ข้างล่างนี้นะคะ http://www.elib-online.com/doctors/herb_oliv01.html
โดย: ชมพู่ [23 พ.ค. 49 1:17] ( IP A:213.114.231.217 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 7
โอ้โฮ้ ได้ความรู้มากเลยค่ะ
โดย: nocturne [23 พ.ค. 49 11:00] ( IP A:202.28.4.15 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 10
หวัดดีคะคุณnocturne

แวะมาบอกน้องปลาอีกเรื่อง คือพิมพ์ตกไปนิดนะ
เรื่อง หน้าท้องหลังคลอด ถ้าเป็นไปได้ ให้ เอากระเป๋าน้ำร้อนวางที่หน้าท้อง อย่างน้อยๆ 1 เดือน ของพี่ ทำไป 3 เดือน หน้าท้องยุบไปจริงๆด้วย เพราะกลับมาใส่กางเกงได้เหมือนเดิมจ้า

และการให้ลูกดื่มนมจากอกแม่ จะทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วด้วย และ ความผูกพัน กับลูกจะดีมากๆ คิดว่าลูกจะดีใจที่ได้กินน้ำนมจากแม่ และเด็กก็จะฉลาดขึ้น(ฟังผู้ใหญ่เล่ากันมาคะ)

ไปก่อนละ วันนี้รีบออกจากบ้านด้วย หวังว่าข้อมูลทั้งหมดที่พิมพ์มา คงมีประโยชน์ กับ แม่ลูกอ่อน ไม่มากก็น้อยนะจ๊ะ
และขอให้คุณแม่และคุณลูก มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขมากๆนะจ้า

คห. 8-9 ลบออกเองเพราะพิมพ์ผิดจ้า
โดย: ชมพู่ [23 พ.ค. 49 11:20] ( IP A:213.114.231.217 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 11
ได้ความรู้ดีจังค่ะคุณสา มีประโยชน์มากๆเลยสำหรับคนท้อง
ใครที่ยังมีโอกาสตั้งท้องรีบเซฟเก็บไว้อ่านนะคะ ของเราปิดอู่ไปแล้วค่ะ 5555
โดย: J&J [23 พ.ค. 49 11:41] ( IP A:58.9.40.63 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 12
ขอบคุณพี่ตุ้มมาก ๆ นะคะสำหรับสูตรแกงเลียง

พี่สาจ๋า ขอบคุณมาก ๆ เลยได้ความรู้ดีมาก ๆ และก็ขอบคุณสำหรับสูตรและทริคต่าง ๆ ค่ะ ไว้เดี๋ยวจะถ่ายรูปน้องมาให้ดูนะคะ

ตอน นี้น้ำนมพี่สาวยังไม่ค่อยออกเลยค่ะ เพราะน้องดูดไม่เก่ง พี่เค้าซื้อที่ปั๊มนมมากระตุ้นด้วย แต่ก็ยังไม่ออกเลยค่ะ คลอดมา 5 วันแล้ว
โดย: ปลา [23 พ.ค. 49 12:38] ( IP A:203.113.16.241 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 13
...สวัสดีทุกท่านครับ แวะเข้ามาทักทายครับ และเก็บเกี่ยวด้วยครับ
โดย: จินจง [23 พ.ค. 49 17:11] ( IP A:125.24.68.37 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 14
ต้องขอบคุณคุณปลามากๆเลยค่ะที่มาตั้งกระทู้นี้ ไขุ่นุ้ยก็เลยพลอยได้อานิสงค์ไปด้วย
เซฟเก็บเอาไว้เป็นความรู้ เห็นด้วยกับเพื่อนๆค่ะตามความเืชื่อแบบไทยๆเราก็ทานแกงเลียง
ไขุ่นุ้ยก็ทราบแค่นั้นเองค่ะ พอคุณสาแนะนำแล้วได้ความรู้เพิ่มมาเพียบเลยค่ะ
ขอบคุณเพื่อนๆที่ช่วยแชร์ประสบการณ์นะคะ และขอแสดงความยินดีกับคุณปลาด้วยค่ะกับ
ตำแหน่งคุณน้าขอให้หลานแข็งแรงๆนะคะแล้วจะรอดูรูปค่ะ
โดย: kainui_rica [23 พ.ค. 49 21:17] ( IP A:71.204.49.187 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 15
ขอเก็บความรู้ด้วยคนค๊า แต่สำหรับแบมต้องรอนานหน่อย ไม่รู้เมื่อไหร่

รอดูรูปหลานนะคะ น้องปลา สุขภาพแข็งแรงทั้งคุณแม่และคุณลูกนะคะ
โดย: แบมค่ะ [24 พ.ค. 49 17:29] ( IP A:84.71.85.186 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 16
หวัดดีคะทุกๆคน
น้องปลาพี่มารอดูรูปหลานด้วยคนจ้า
โดย: ชมพู่ [25 พ.ค. 49] ( IP A:213.114.231.217 X: )

--------------------------------------------------------------------------------

ดำ ขาว น้ำเงิน แดง เขียว เหลือง ส้ม น้ำตาล ม่วง ฟ้า เขียวมะนาว

รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail : แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :

ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา

เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K

วิธีการใช้แพมเพิสกับลูกน้อย

    
วิธีการใช้แพมเพิสกับลูกน้อย

หลักการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และการเอาใจใส่ในอนามัยเพื่อลูกน้อย (Diapers and Hygiene Care)

         
(1)
    สำหรับเด็กอายุ 1 เดือนที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อยวันละ 10 รอบขึ้น แนะนำให้ใช้กระดาษทิชชู่แผ่นใหญ่ รองรับก่อนใส่แพมเพิส เพื่อการรองรับที่ดีและประหยัดค่าใช้จ่าย และใส่แพมเพิสตอนกลางคืน หรือเลือกใช้แพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปแบบราคาประหยัดแทนการรองรับ ด้วยกระดาษทิชชู่
(2)
    สำหรับเด็กที่อายุ 1 เดือนขึ้นรอบการถ่ายจะลดลงมาเหลือ วันละ 4-5 รอบ 3-4 รอบ 2-3 รอบ 1-2 รอบ วันละรอบ สองวันรอบ สามวันรอบ และอาจจะหลายวันรอบ ถ้าเด็กไม่มีอาการงอแงก็ไม่ต้องตกใจ โดยให้ใส่แพมเพิสได้ตามปกติ
(3)
    เวลาเปลี่ยนแพมเพิสสำหรับเด็กเล็กที่ถ่ายบ่อย ควรทำความสะอาดลูกน้อยก่อนโดยใช้แผ่นทำความสะอาด (Baby wipe) ที่มีขายตามท้องตลาด หรืออาจใช้แผ่นสำลีชุปน้ำเปล่าต้มสุก เวลาเช็ด ให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วซับให้แห้ง
(4)
    สำหรับเด็กทีมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน ไม่ควรให้สวมใส่แพมเพิสนานกว่า 6 ชั่วโมง โดยไม่มีการเปลี่ยน แนะนำว่าไม่ควรหรือหลีกเลี่ยงการใส่แพมเพิสเกิน 6 ชั่วโมง เพื่อสุขลักษณะที่ดีของลูกน้อย
(5)
    ไม่ควรเปลี่ยนแพมเพิสช้ากว่า 15 นาทีหลังจากเด็กได้ถ่ายอุจจาระ ซึ่งจะทำให้เกิดการแพ้ได้ เนื่องจากเวลาที่เด็กได้ถ่ายอุจจาระและหมักหมม เป็นเวลานานเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดปฎิกริยา ระหว่างอุจจาระและปัสสาวะ ทำให้ผิวเด็กเกิดการแพ้ และเป็นผื่นได้
(6)
    แพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ดี ต้องมีอัตราการดูดซับที่รวดเร็ว และแห้งสนิท เพราะทุกๆหยดของปัสสาวะ อาจจะเป็นผลต่อการเชื้อเชิญของการติดเชื้อได้
(7)
    ไม่ควรใช้แป้งฝุ่นบริเวณที่สวมใส่แพมเพิสโดยเฉพาะเด็กผู้หญิง เพราะว่าอาจเป็นภัยต่อช่องปัสสาวะ และอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ตลอดจนแป้งฝุ่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อัตราการดูดซับ ของแพมเพิสเปลี่ยนแปลงไป เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้ใช้แบบครีมแทน ถ้าคิดว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้
(8)
    ควรเลือกขนาดของแพมเพิสให้พอดีกับ น้ำหนักตัวลูก แพมเพิสที่เล็กเกินไปจะบีบรัดร่างกายของลูก ทำให้เกิดรอยแดงรอบขอบขาหรือรอยแดงขอบเอวได้
(9)
    ควรฝึกให้เด็กรู้จักการเข้าห้องน้ำเมื่ออายุได้ 2 ขวบ เพื่อการเริ่มต้นการขับถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ควรให้สวมใส่แพมเพิสอีกต่อไป หรืออาจจะมีบ้างในช่วงกลางคืนสำหรับการเริ่มต้นฝึกหัด
    

พัฒนาการทั่วไปของทารกแรกเกิด 1- 7 วัน

 ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ 


          ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์หรือเรียกอีกอย่างว่าปฏิกิริยาสะท้อนกลับ เป็นพัฒนาการสำคัญของทารกแรกเกิดที่จะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งเร้าโดยอัติโนมัติ ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเดือนแรกของทารก และหลังจากนั้นก็จะค่อยๆ หายไป ปฏิกิริยาสะท้อนกลับที่คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบได้เองมีดังนี้


                หากคุณอุ้มลูกในท่ายืน และปล่อยให้เท้าสัมผัสพื้นเล็กน้อย ลูกจะชักขาขึ้นละม้ายคล้ายการเดินบนอากาศ

                เมื่อถูกอุ้มอย่างรุนแรง เสียงดัง หรือแสงจ้าบาดตา ลูกจะสะดุ้งตกใจพร้อมกับแอ่นหลังขึ้นมา ศีรษะห้อยไปด้านหลัง แขนขากางกว้างออก และกลับมาอยู่ในท่าห่อตัวอย่างรวดเร็ว


                ทารกมักร้องไห้จ้าเพราะตกใจเสียงร้องไห้ของตนเอง ลูกจะสงบได้ด้วยการวางมืออุ่นๆ ไว้ที่ร่างกายลูก หรืออุ้มพาดบ่าไว้


                หากแตะฝ่ามือหรือฝ่าเท้าลูก ลูกจะจับนิ้วของคุณไว้แน่น และสามารถดึงตัวเองขึ้นจากที่นอนได้


                หากแตะหลังมือหรือหลังเท้าด้านนอก นิ้วมือและนิ้วเท้าของลูกจะกางออก เรียกว่า Babinski Reflex


                เมื่อแตะที่มุมปากลูก ปากก็จะเผยอตามและหันมาหานิ้วมือที่แตะ ทำท่าทางพร้อมจะดูดนม


                เมื่อแตะสันจมูกหรือเปิดไฟใส่หน้า ลูกจะหลับตาปี๋


                จิ้มที่ฝ่าเท้าเบาๆ เข่าและเท้าจะงอ


                เมื่ออุ้มเอาส่วนอกจุ่มน้ำ ลูกจะทำท่าว่ายน้ำ


                ดึงลูกขณะที่นอนอยู่ให้ขึ้นมาสู่ท่านั่ง ลูกจะพยายามตั้งหัวให้ตรง ตาเบิกกว้าง ไหล่ตึง เรียกว่าปฏิกิริยาตุ๊กตาจีน


               ผิวทารกแรกเกิด

          ทารกแรกเกิดจะมีเลือดของแม่และไขมันเคลือบอยู่ตามผิวที่เรียกว่า เวอร์นิกซ์ (Vernix) ทำหน้าที่ช่วยหล่อลื่นให้ทารกไหลลื่นออกมาจากช่องคลอดได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้เห็นลูกในครั้งแรกก็จะพบว่าลูกมีผิวหนังเหี่ยวย่นจากการคุดคู้อยู่ในครรภ์มารดา และมีเมือกเลือดต่างๆ ที่ติดอยู่ตามตัว หลังจากคลอดเสร็จพยาบาลจะเป็นผู้ทำความสะอาดให้


          เมื่อไขมันเริ่มหลุดไปก็มักทำให้ผิวชั้นนอกของทารกแห้งและลอก แต่เพียงแค่ 1-2 สัปดาห์เท่านั้นผิวหนังเก่าก็จะค่อยๆ หลุดหายไป และกลายเป็นผิวหนังที่แสนสดใสอมชมพูขึ้นมาแทน ในช่วงนี้คุณแม่อย่าแกะ เกา ขัดผิวของลูกเป็นอันขาด เพราะอาจจะทำให้ผิวลูกถลอก เป็นแผล และติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้นด้วย ทารกแรกเกิดหลายคนก็มักมีปานต่างๆ แต้มตามผิวมาด้วย


          ปานดำแต่กำเนิด (Congenital Melanocytic Nevus) ทารกแรกเกิดอาจเห็นเป็นสีค่อนข้างแดง ต่อมาภายในเวลาไม่กี่เดือนจะมีสีน้ำตาลดำเข้มขึ้น ปานดำส่วนใหญ่จะมีขนาดโตกว่าไฝธรรมดา ผิวอาจเรียบนูน หรือขรุขระเล็กน้อย และอาจมีขนปนอยู่ด้วย ปานชนิดนี้มักไม่มีอันตราย นอกจากความสวยงาม แต่ถ้ามีขนาดใหญ่อาจมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้


          ปานมองโกเลียน (Mongolian spot) จะมีลักษณะเป็นปื้นสีเทาหรือสีน้ำเงินอ่อนขนาดใหญ่ ขนาดตั้งแต่ 0.5 – 11 ซม. มักจะพบบริเวณก้น หลัง อาจพบที่ไหล่หรือศีรษะได้บ้าง ปานชนิดนี้ไม่มีอันตรายใดๆ และมักจะจางหายไปได้เองใน 1 ขวบปีแรก


          ปานแดงสตรอเบอรี่ (Strawberry Nevus) มักพบบริเวณใบหน้าและลำคอ ลักษณะเป็นตุ่มหรือก้อนนูนสีแดงเข้ม พบในช่วง 1-4 สัปดาห์หลังคลอด ระยะแรกจะขยายเร็วจนถึงอายุประมาณ 1 ขวบ จากนั้นสีจะม่วงคล้ำขึ้น โดย 85% จะหายไปได้เองภายในอายุประมาณ 7 ขวบ


          ปานแดงจากผนังเส้นเลือดผิดปกติ (Capillary Hemangioma) ลักษณะเป็นตุ่มนูนหรือปื้นสีแดงขนาดใหญ่ที่บริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ซึ่งอาจพบความผิดปกติของตาร่วมด้วย เช่น ถ้าพบปานชนิดนี้บริเวณเปลือกตาหรือขมับ อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นเบียดตาหรือเกิดต้อหินทำให้ตาบอดได้ การรักษาปานชนิดนี้มักใช้แสงเลเซอร์ (Vascular laser) ซึ่งผลของการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของปานแดง


          ปานโอตะ (Nevus of Ota) อาจพบในทารกแรกเกิด หรือบางรายพบในตอนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ลักษณะจะคล้ายปานมองโกเลียนที่มีสีเทาหรือน้ำเงิน แต่มักพบบริเวณโหนกแก้ม หรือขมับ ปานลักษณะนี้จะไม่จางหายไปเหมือนปานมองโกเลียน และจะไม่กลายเป็นมะเร็ง จึงไม่มีอันตรายใดๆ นอกจากไม่สวยงามเท่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้นสามารถใช้เลเซอร์รักษาได้


                รูปร่างทารกแรกเกิด



          โดยเฉลี่ยแล้วเด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักประมาณ 3.3 กก. สูง 50.5 ซม. ส่วนเด็กผู้หญิงจะมีน้ำหนักประมาณ 3.2 กก. สูง 49.9 ซม.
          ร่างกายของทารกในช่วงแรกคลอดนี้จะดูแล้วไม่น่ารัก เพราะว่าศีรษะจะโตมากกว่าลำตัว อีกทั้งมีใบหน้าอูม คอสั้น แขนขาก็สั้นไม่เข้าที่ เมื่อจับศีรษะก็จะพบว่าค่อนข้างนุ่ม เนื่องจากกระโหลกยังประสานไม่สนิทเท่าไรนักโดยเฉพาะกระหม่อมหน้า ส่วนมือเท้าจะค่อนข้างเย็นเพราะระบบหมุนเวียนเลือดยังทำงานไม่ประสานกันเท่าไหร่

          ส่วนอวัยวะเพศชายจะมีไข่อยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อยแล้ว แต่ทารกบางคนก็มีไข่เพียงข้างเดียว ซึ่งอีกข้างจะตามมาในภายหลังในเวลาไม่นานนัก ปลายองคชาติจะปิดแต่สามารถปัสสาวะได้และจะเปิดภายหลังเช่นกัน ส่วนอวัยวะเพศหญิงจะมีสีคล้ำเล็กน้อย

          ส่วนอวัยวะเพศเด็กหญิงบางคนมีมูกคล้ายตกขาวหรือเลือดออกมาจากช่องคลอด เพราะเกิดจากฮอร์โมนของแม่ที่ผ่านมาทางสายรก และจะหายไปในเวลา 1-2 สัปดาห์


               การมองเห็น


          การมองเห็นเป็นพัฒนาการที่ทารกเพิ่งได้เรียนรู้เมื่อออกมาจากครรภ์มารดา ดังนั้นคุณแม่จะเห็นว่าลูกจะหน้านิ่วคิ้วขมวดและเพ่งไปยังจุดที่เขาสนใจในระยะประมาณ 8-12 นิ้ว ทั้งนี้ ทารกจะสามรถมองเห็นได้อย่างเลือนลางและมองในลักษณะเลื่อนลอยบ้างในบางครั้ง ที่สำคัญดวงตาของทารกจะมีความไวต่อแสงมาก ดังนั้นอย่าพาลูกเดินไปในห้องที่มีแสงจ้า หรือออกกลางแดดแบบฉับพลัน เพราะเขาจะหลับตาปี่เพื่อปกป้องดวงตาของตัวเองทันที


          ทารกจะชอบมองสิ่งที่เป็นเหลี่ยมมุมมากกว่าสิ่งของที่เป็นทรงกลม และชอบลวดลายที่มีสีสันตัดกันมากกว่าสีพื้นเรียบๆ อีกสิ่งหนึ่งที่ทารกชอบมอง คือ ใบหน้าของคน เพราะมีลักษณะสีหน้าที่แสดงอารมณ์ และมีจุดโฟกัสที่ดวงตา ลูกจะเรียนรู้ได้ว่าเขาควรจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร อย่างเช่น คุณแม่ยิ้มให้ ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะยิ้มตาม


               พัฒนาการเด็ก

               การได้ยิน
          ทารกจะมีพัฒนาการด้านการได้ยินขึ้นทันทีตั้งแต่ออกจากท้องแม่ โดยทารกจะมีปฏิกิริยาเมื่อมีเสียงแปลกๆ เข้ามากระทบ อย่างเช่น สะดุ้งตกใจ กะพริบตาถี่ๆ หรือกลับกันถ้าเป็นเสียงเห่กล่อม ลูกจะนอนง่ายขึ้น ร้องไห้โยเยน้อยลง อย่างไรก็ตามทารกชอบได้ยินเสียงที่ทอดยาวประมาณ 10 วินาที และไม่ชอบเสียงสั้นๆ แบบหยุดๆ หายๆ ราว 1 – 2 วินาที และชอบเสียงสูงมากกว่าเสียงต่ำ อีกทั้งสามารถแยกแยะเสียงของคุณแม่จากเสียงอื่นๆ ได้แล้วด้วย


               การสัมผัส
          ทารกแรกเกิดมีความไวต่อประสาทสัมผัสทางกาย โดยเฉพาะอ้อมกอดและการสัมผัสของแม่ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ทารกรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆ มากขึ้น นอกจากนั้นทารกยังรับรู้ได้อีกว่าคุณแม่กำลังอยู่ในอารมณ์ใด แต่หากทารกน้อยยังต้องอยู่ในตู้อบ ทางการแพทย์ก็แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ลูบเนื้อตัวลูกผ่านถุงมือ เพราะว่าลูกจะรู้สึกถึงการสัมผัสได้เช่นกัน


               การได้กลิ่น
          ประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่นเป็นพัฒนาการสำคัญ ที่จะช่วยให้ทารกน้อยปรับตัวกับโลกภายนอก หลังจากอุดอู้ในครรภ์คุณแม่มานาน ทารกแรกเกิดจะสามารถแยกความแตกต่างของกลิ่นสองกลิ่นได้ และสามารถแสดงออกว่าไม่ชอบกลิ่นเหม็นๆ ได้เช่นกัน ซึ่งหากไม่ชอบก็จะหันหัวหนี สะดุ้ง และดิ้นรนจนร้องไห้ออกมาในที่สุด ส่วนกลิ่นที่ชอบที่สุดจะเป็นกลิ่นของแม่ เพราะรู้สึกปลอดภัยและรับรู้ถึงความอบอุ่น ดังนั้นเมื่อลูกร้องไห้โยเยและคุณแม่เข้ามาอุ้ม ลูกก็จะรู้สึกอุ่นใจและสงบลงได้


               ขาโก่ง
          คุณพ่อคุณแม่บางคนกังวลว่าทารกแรกเกิดที่คลอดออกมาแล้วขาโก่งจะผิดปกติหรือไม่ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องธรรมชาติที่ขาของลูกน้อยจะโก่งเล็กน้อยโดยเฉพาะขาด้านล่าง แต่ไม่ต้องกังวลเพราะขาของลูกจะค่อยๆ เหยียดตรงขึ้นเรื่อยๆ สามารถยืดยาวตรงได้ในภายหลัง


               การกิน
          นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด ซึ่งนมแม่หลังคลอดจะมีลักษณะเป็นน้ำนมเหลืองที่เรียกว่า โคลอสตรัม (Colostrum) ที่ถือเป็นหัวอาหารชั้นยอดของทารก ซึ่งน้ำนมเหลืองจะให้ทั้งพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ พร้อมทั้งภูมิคุ้มกันธรรมชาติแก่ทารกด้วย ที่สำคัญคุณแม่ควรให้ลูกดูดนมข้างละประมาณ 15 นาที เพื่อกระตุ้นน้ำนมด้วย



          ช่วงแรกลูกจะร้องกินนมไม่ค่อยเป็นเวลา เป็นหน้าที่ของคุณแม่ที่จะต้องค่อยๆ จัดตารางเวลาให้ลูกกินนมในช่วงกลางวัน เพราะนอกจากจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้พักผ่อน ลูกก็จะมีระบบการย่อยที่ดีและท้องไม่อืด

               การขับถ่าย
          หากลูกกินนมแม่จะถ่ายอุจจาระบ่อย บางคนถ่ายทุกครั้งหลังดูดนม ซึ่งในทารกแรกเกิดจะมีอุจจาระที่ดำๆ เขียวๆ ที่เรียกว่า “ขี้เทา” มีลักษณะนุ่มเหนียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ของทารกจากเมื่อตอนที่ยังอยู่ในท้แงแม่ และจะถูกขับออกมาตามกระบวนการขับถ่าย และต่อไปอุจจาระของลูกก็จะกลายเป็นสีเหลืองเอง ทั้งนี้ หากสังเกตว่าลูกยังไม่อุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงแล้ว ให้รีบปรึกษาแพทย์เพราะลูกอาจจะเกิดลำไส้อุดตันได้


ที่มา momypedia

รู้มั้ย...หนูตัวเหลืองเพราะอะไร (Mother & Care)

         ตัวเหลืองเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิด และสร้างความกังวลใจให้พ่อแม่ได้ไม่น้อย ฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจกับอาการตัวเหลือง ของลูกกันให้มากขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวล และเพิ่มความดูแลให้ดีขึ้นกันค่ะ

ตัวเหลืองเพราะอะไร

          เนื่องจากการทำงานของตับที่ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถขับสารเหลือง ที่เรียกว่า บิลิลูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในเม็ดเลือดแดง โดยปกติแล้วตับจะทำหน้าที่ดึง สารนี้ออกจากกระแสเลือด นำไปสร้างน้ำดี โดยน้ำดีส่วนหนึ่งจะเก็บสะสมในถุงน้ำดี และน้ำดีส่วนที่เหลือจะไหลผ่านท่อตับ ท่อน้ำดี ลงไปในลำไส้เล็ก เพื่อช่วยย่อยไขมัน แต่ถ้ากระบวนการดังกล่าวเกิดความผิดพลาด ก็ส่งผลทำให้สารสีเหลืองมีการสะสมอยู่ในกระแสเลือด ไม่สามารถขับออกได้ตามปกติ จึงเกิดอาการตัวเหลืองขึ้น

เหลืองแบบใดผิดปกติ

          สังเกตง่าย ๆ จากร่างกายของลูกน้อย เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะก็เป็นสีเหลืองเช่นกัน โดยจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยๆ ไล่ไปลำตัว ขาและเท้า ถ้าเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ก็ถือว่า มีอาการเหลืองไม่มาก แต่ถ้ามีอาการมากจะเหลืองไล่ลงมาที่ขาและเท้า

          เวลาดูอาการตัวเหลืองของลูก มีข้อสังเกต อยู่บ้างค่ะ คุณแม่อาจลองกดผิวหนังบริเวณที่เห็นเป็นสีเหลือง (เพราะเด็กตัวแดงทำให้ดูยาก) ถ้าดูแล้วเห็นว่าเหลืองไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจหาค่าของสารเหลือง แต่ถ้าเหลืองมาก ก็ควรต้องเจาะเลือดตรวจดูค่าสารเหลืองและทำการรักษาอย่าง เหมาะสมต่อไป

ลูกตัวเหลือง อันตรายหรือไม่

          ถ้ามีอาการเหลืองไม่มาก สาเหตุเกิดจากการทำงานของตับที่ ไม่สามารถขับสารเหลืองในร่างกายได้  อาการตัวเหลืองของลูกจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์หลังคลอด แต่ในเด็กบางรายอาจมีอาการตัวเหลืองนานกว่า 1 สัปดาห์ แต่ไม่มีอาการผิดปกติอื่น อาการเช่นนี้อาจเกิดจากการดูดนมแม่ ที่มีสารบางอย่างทำให้เด็กตัวเหลือง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็กแต่อย่างใด เพียงแต่  คุณหมออาจแนะนำให้งดนมแม่สัก 2 วัน เมื่ออาการตัวเหลือง ลดลง ค่อยกลับมาให้นมแม่เหมือนเดิม

          ที่ต้องระวังเป็นอันตรายกับลูกก็คือ ลูกตัวเหลืองมากขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือมีอาการที่ผิดสังเกต เช่น ซึม งอแง ไม่ดูดนม หรืออาเจียน คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรพาลูกไปหาคุณหมอทันที เพื่อตรวจเช็กค่าสารเหลือง เพราะอาการตัวเหลืองมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการชัก เป็นอันตรายต่อสมองลูกน้อยได้ จำเป็นต้องอยู่ ภายใต้การดูแลของคุณหมอ

ลูกตัวเหลือง ดูแลอย่างไร

          เนื่องจากมีหลายสาเหตุ ที่ทำให้เด็กแรกเกิดมีอาการ  ตัวเหลือง ดังนั้น เพื่อความอุ่นใจกับอาการของลูกในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ  และผ่านการวินิจฉัยเบื้องต้นจากคุณหมอ เพราะถ้าลูกมีอาการตัวเหลืองแบบปกติ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถดูแลลูกน้อยที่บ้านได้เอง ด้วยวิธีต่อไปนี้

            ให้ลูกได้รับนมแม่ที่เพียงพอ แต่ถ้าดื่มนมแม่ได้ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ เพราะในนมแม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว เพียงให้ลูกได้ดูดบ่อยขึ้น

            พาลูกไปรับแดดอ่อน ๆ ตอนเช้า ช่วง 6-7 โมงเช้า ประมาณ 20-30 นาที หรือแดดอ่อน ๆ ในช่วงเย็น (ถ้าลมแรงก็ไม่ควรพาออกไปนอกบ้าน) อาจอยู่ในห้องที่มีแดดส่องถึง และพาลูกไปนอนบริเวณนั้นจะดีกว่า หรือให้ลูกดื่มน้ำ มากขึ้น

พัฒนาการเด็ก - วัย 3 เดือน

ลูกน้อยยกศีรษะขึ้นได้แล้วลูก ยืดตัวตรงได้เต็มที่แล้ว ยกศีรษะขึ้นในแนวเดียวกับลำตัวได้ เริ่มใช้แขนยันตัวขึ้นจากพื้น ลูกยังคงสนุกกับมือสองข้างของตัวเอง และเริ่มเอื้อมคว้าสิ่งต่างๆใกล้มือแม้ยังจับไม่ได้ 
การให้นมทารก
ลูกอาจดูเหมือนหิว บ่อยขึ้นเพราะเข้าสู่ช่วงโตเร็วอีกครั้ง นมยังคงเป็นอาหารหลักที่ให้สารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับลูกจนกว่าลูกจะอา ยุครบ 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่สามารถเริ่มอาหารเสริมตามวัยได้

วิธีสื่อสารของลูก
ลูกน้อยเริ่มส่ง เสียง “อืออา” เบาๆ เพื่อตอบรับเสียงที่ได้ยิน และจะเริ่มออกเสียงพยัญชนะเช่น ป บ และ ม ซึ่งเป็นเสียงที่เกิดจากริมฝีปาก คำคำแรกที่ลูกพูดได้จึงมักเป็น “แม่” และ “ป้อ” (พ่อ)

ลูกเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสต่างๆ มากขึ้น
ลูกจะผวาตกใจหรือ ร้องไห้เมื่อมีเสียงดัง และเสียงแม่ที่คุ้นเคยจะปลอบโยนลูกได้ภายในเวลาไม่นาน ลูกเริ่มสนใจสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวและใช้ประสาทสัมผัสต่างๆในการสำรวจเรียนรู้โลก

วิธีกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อย
แขวนโมบายไว้เหนือ เปลลูกในระดับที่ลูกสามารถเอื้อมถึงได้พอดี สีสันอันสดใส และเสียงดังกรุ๋งกริ๋งของโมบายจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกวัย 3 เดือนได้เป็นอย่างดี ลูกจะเริ่มคว้า จับโมบายให้เคลื่อนไหวและส่งเสียง ซึ่งช่วยพัฒนาการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างตากับมือ

คุณรู้หรือไม่?

การ สัมผัสสามารถช่วยให้ลูกน้อยได้เรียนรู้ 3 สิ่งที่สำคัญ คือ ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย การมีส่วนร่วมในโลกรอบๆ ตัว และการสื่อสาร ลูกจะตอบสนองการสัมผัสของคุณ ดังนั้น หมั่นกอดลูกให้บ่อยๆ 

พัฒนาการเด็ก - วัย 2 เดือน

ลูกน้อยรู้จักคุณแม่แล้ว
ลูกจะเริ่มคุ้นเคยกับอ้อมกอดของแม่แล้ว และอาจส่งเสียงร้องถ้าคนที่อุ้มไม่ใช่แม่ ลูกจะแกว่งแขนถีบขาเมื่อถูกกระตุ้นหรือรู้สึกตื่นเต้น และมีความสุขกับการดูดนิ้วหรือนิ้วหัวแม่มือด้วย

การให้นมทารก
ปัญหาในการให้นมยังอาจพบได้ทั่วไปในวัยนี้ บางคนอาจร้องโคลิก คือร้องติดต่อกันนานในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับทารกวัย 1-4 เดือน แต่เด็กที่ร้องโคลิกจะไม่มีอาการเจ็บป่วยตามมา เขาจะสบายเป็นปกติหลังจากหยุดร้องไห้แล้ว คุณแม่สามารถดูคำแนะนำเกี่ยวกับการปลอบโยนทารกที่ร้องโคลิกในบทความเรื่อง การร้องโคลิก เพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น

ลูกน้อยเริ่มยกศีรษะขึ้นได้แล้ว
ร่างกายของลูกเริ่มยืดตรง หากคุณจับลูกนอนคว่ำ ในไม่ช้าลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะและยกค้างไว้อย่างนั้นสักครู่หนึ่ง

วิธีสื่อสารของลูก
ถึงแม้ว่าลูกจะยังพูดเป็นคำๆ ไม่ได้ แต่ลูกก็เริ่มเรียนรู้วิธีที่จะสื่อสารแล้ว ลูกจะชอบฟังเสียงของแม่มากที่สุด และเมื่อลูกน้อยได้ยินเสียงคุณ เขาก็มักจะหันหาและส่งเสียงตอบทันที

ค้นพบมือของตัวเอง
ปฏิกิริยาสะท้อนกลับในการกำวัตถุที่อยู่ในมือโดยอัตโนมัติเริ่มลดลง ลูกจะเริ่มสนใจกับมือ 2 ข้างที่ตัวเองเพิ่งค้นพบ และจะใช้มือทั้งสอง(รวมทั้งปาก)ในการสำรวจสิ่งของแปลกใหม่รอบๆ ตัว

คุณรู้หรือไม่?

พัฒนาการด้านร่างกายของลูกจะเริ่มตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า โดยอันดับแรกลูกจะฝึกกล้ามเนื้อคอ ให้สามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะตามด้วยไหล่ทั้งสองข้าง หน้าอก และหลังส่วนล่างและจะพัฒนาขาทั้งสองข้างเป็นอันดับสุดท้าย ​

พัฒนาการเด็ก - วัย 1 เดือน

จากแรกเกิดถึงวัย 1 เดือน
ลูกของคุณเริ่มโตขึ้นและดูไม่เหมือนทารกแรกเกิดแล้ว ช่วงวัยนี้ ลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะได้ช่วงสั้นๆ เวลานอนคว่ำ มือยังคงกำแน่นและจะกำอัตโนมัติเมื่อคุณสอดอะไรเข้าในมือซึ่งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยธรรมชาติที่ทารกทุกคนมีมาแต่เกิด

การให้นมทารก
ทารกส่วนใหญ่จะเข้าสู่ช่วงโตเร็วเมื่ออายุได้ราว 6 สัปดาห์ นั่นคือ ลูกจะหิวบ่อยขึ้นกว่าเดิม และจะเป็นสัก 2-3 วัน คุณแม่ควรเพิ่มความถี่ในการให้นมลูกเท่านั้นพอ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน คุณแม่ก็จะสามารถกลับมาให้นมตามตารางเวลาเดิมได้อีกครั้ง

วิธีสื่อสารของลูก
การร้องไห้ยังคงเป็นวิธีที่ลูกใช้สื่อกับคุณ แม้ว่าลูกจะสามารถเล่นเสียงต่างๆ ได้บ้างแล้ว เช่น ทำเสียงในลำคอ คำราม และส่งเสียงฮัมเบาๆ เมื่อรู้สึกสบายและพึงพอใจ

การมองเห็น
ลูกวัยหนึ่งเดือนสามารถมองเห็นได้ดีขึ้นและไกลขึ้น แม้ว่าจะยังมีขอบเขตจำกัดก็ตาม ลูกจะสนใจมองของ 2 อย่างเป็นพิเศษคือ ใบหน้าคน โดยเฉพาะหน้าแม่ และสิ่งที่เคลื่อนไหวได้

คุณรู้หรือไม่?

เมื่อลูกน้อยยิ้ม ลูกอาจตั้งใจจะยิ้มให้คุณจริงๆ ลูกยิ้มอย่างมีความหมายเมื่อเขายิ้มทั้งใบหน้าและนัยน์ตาเพื่อสื่อให้คุณรู้ว่าเขากำลังพอใจและมีความสุข ลูกจะยิ้มอย่างมีความหมายเมื่อพร้อม


คุณสามารถกระตุ้นให้ลูกยิ้มได้ด้วยการกอด จั๊กจี้ หรือเล่นกับเขาลูกจะชอบอยู่ใกล้ชิดกับคุณ ดังนั้น คุณแม่อาจเล่นกับลูกด้วยการขยับแขนขาของลูกเบาๆ และนวดสัมผัส โอบกอดลูกในระหว่างให้นมหรืออุ้มกล่อมลูก จะทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นเพราะได้รับความรักและสานสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกให้แนบแน่นยิ่งขึ้น

พัฒนาการเด็ก - วัยทารกแรกเกิด

2 – 3 สัปดาห์แรก
ช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกน้อยเกิดมาเป็นเวลาที่ลูกต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่

มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติ
ทารกเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่การมองเห็นจะดีขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลูกจะกำมือแน่นเมื่อใส่ของในมือและจะหันไปหาทันทีเมื่อถูกเขี่ยที่แก้ม รวมทั้งจะดูดของที่เข้าไปในปาก

วิธีสื่อสาร
วิธีหลักของลูกน้อยในช่วงนี้ก็คือ การร้องไห้ ยิ่งคุณตอบสนองลูกเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกว่ามีคนรับฟังและใส่ใจดูแลอยู่ ทำให้ทารกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น แล้วไม่นานคุณก็จะเรียนรู้เองว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร

การมองเห็น
ทารกแรกเกิดยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก โดยสามารถมองเห็นได้ในระยะ 8-10 นิ้ว หรือช่วงห่างระหว่างสายตาลูกกับใบหน้าแม่ขณะอุ้มให้นมลูก และต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน สายตาจึงจะพัฒนาได้เต็มที่จนสามารถมองเห็นความลึกของวัตถุและเห็นสีสันต่างๆ ได้

การนวดสัมผัสทารกแรกเกิด
การนวดสัมผัสเป็นวิธีที่ดีมากในการช่วยให้ลูกน้อยแรกเกิดของคุณผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางใจระหว่างคุณกับลูก เริ่มต้นด้วยการนวดเบาๆอย่างอ่อนโยน ลูกจะแสดงอาการให้คุณทราบถ้ารู้สึกไม่สบายตัว ส่วนใหญ่ลูกมักจะผลอยหลับไประหว่างการนวดหรือทันทีที่นวดเสร็จ ดังนั้น จึงเหมาะที่จะนวดให้ลูกก่อนเวลานอนหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ ควรใช้แต่น้ำมันบริสุทธิ์ตามธรรมชาติเพราะลูกอาจเผลอดูดกลืนน้ำมันเข้าไปได้ เช่น น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ซึ่งปลอดภัยและอ่อนโยนสำหรับผิวทารกและที่สำคัญเป็นน้ำมันที่ใช้รับประทานได้​
​​​​​

พัฒนาการเด็กวัย 2 สัปดาห์


ตอนอยู่ในท้องของเราเขารู้สึกอบอุ่นและสบายตัวสุดๆ แต่พอออกมาเจอโลกภายนอกเราก็ต้อง ให้เวลาเขาปรับตัวหน่อยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการมองเห็น เสียงที่ได้ยิน และความรู้สึก ต่างๆ กับโลกใหม่ แรกๆ เขาก็เลยอาจนอนหลับทั้งวัน ไม่ค่อยส่งเสียงร้องอะไรเท่าไหร่ หรือแม้ แต่การขยับตัวแสดงท่าทางต่างๆ ก็ยังมีน้อยอยู่ค่ะ อย่างเดียวที่จะรู้ได้ก็คือเวลาที่เขาร้องไห้ แต่เราก็สามารถสื่อสารกับเขาด้วยการสัมผัสและพูดกับเขาได้นะคะ ถึงเขาจะสื่อสารตอบเรา ไม่ได้ แต่เขาก็รู้สึกได้ค่ะ อีกอย่างก็คือเขาจะเริ่มรู้แล้วว่าเสียงคุณแม่แตกต่างจากเสียงคนอื่นที่ ได้ยินยังไงนอกจากนี้เขายังชอบเอามือคว้านั่นคว้านี่ ชอบให้กอด หอม เขย่าตัว นวดเบาๆ แล้ว ก็อุ้มค่ะ เวลาได้ยินเสียงเราแล้วอยากคุยด้วย เขาก็จะส่งเสียงอ้อๆ แอ้ๆ มาทักทายด้วยค่ะ



เกิดอะไรขึ้นกับเจ้าตัวเล็กในวัยนี้บ้าง?

• อะไรๆ ก็กลัวไปหมด
ก็เพราะเขายังไม่คุ้นกับโลกใหม่ใบนี้เท่าไหร่ คงต้องใช้เวลาปรับตัวสักนิดกว่าเขาจะชินกับสภาพ แวดล้อมข้างนอกที่เขาเพิ่งเจอ ดูแลเขาแบบใกล้ชิด การอุ้ม กอดรัด แสดงความรักกับเขามากๆ นะคะ เดี๋ยวเขาก็หายกลัวได้เองล่ะค่ะ

• โคลิก
มาแล้วค่ะอาการร้องไห้ไม่หยุดของเด็กวัยนี้ หรือที่เรียกว่า “โคลิก” เขาสามารถร้องไห้นานกว่า 3 ชั่วโมงโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และสามารถลุกขึ้นมาร้องไห้ตอนไหนก็ได้ทั้งนั้น แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นตั้งแต่ช่วง 6 โมงเย็นและเที่ยงคืนค่ะ ช่วงนี้คุณแม่อย่างเราคงต้องอดทนหน่อยนะคะ จำไว้ ว่า เขาเองก็คงไม่อยากร้องไห้แบบนี้เหมือนกันล่ะค่ะ

Do you know?
60 % ของเด็กส่วนใหญ่จะหายจากอาการโคลิกภายใน 3 เดือน แต่อีก 90% ต้องใช้เวลา 4 เดือน ถึงจะดีขึ้นค่ะ

• สายสะดือ
ตอนคลอดใหม่ๆ คุณหมอเพิ่งตัดสายสะดือออก อาจทำให้สะดือของเจ้าตัวเล็กยังไม่แห้งเท่าที่ ควร ช่วงแรกๆ แบบนี้คุณแม่อย่างเราอาบน้ำให้ลูกแล้วใช้คัตตั้นบัดชุบน้ำเกลือเช็ดทำความสะอาด สะดือด้วยทุกครั้ง ใช้วิธีเอาฟองน้ำเช็ดตัวให้เขาแทนจะดีกว่า แผลจะได้หายไวด้วยค่ะ

• งอแงเพราะตื่นกลัว
แรกๆ เราอาจรู้สึกว่าทำไมเจ้าตัวเล็กของเรางอแงจังเลย สาเหตุก็มาจากว่าเขายังไม่คุ้นเคยกับ สภาพแวดล้อมข้างนอกนั่นเองล่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเสียงแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เขาไม่เคยได้ยิน แสงสว่าง ที่อาจที่ทำให้เขาแสบตา พอไม่คุ้นเขาก็เลยงอแงขึ้นที คุณแม่อย่างเราก็ลองนวดเขาเบาๆ อุ้มเขา หรือไกวเปลไปมา เขาจะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นได้ค่ะ เพราะเขาสื่อสารได้อย่างเดียว ก็คือการร้อง ไห้ค่ะ

สมุนไพรแก้คัดจมูก

ภูมิแพ้

สมุนไพรแก้คัดจมูก (ชีวจิต)

          สาเหตุ สำคัญของอาการคัดจมูกมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และยังอาจเกิดจากภาวะภูมิแพ้หรือการใช้สเปรย์พ่นจมูกบ่อยเกินไป ซึ่งจะทำให้เยื่อบุผิวจมูกบวมและมีสิ่งคัดหลั่งไหลออกมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการช่วยเหลือตนเองของร่างกาย แต่มีข้อควรสังเกตก็คือ อาการคัดจมูกที่เกิดจากการติดเชื้อมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ ไอ และเจ็บคอ แต่ถ้าเกิดจากภาวะภูมิแพ้ จะมีน้ำมูกใส มีอาการจาม คันตา และมีน้ำตาไหลร่วมด้วย

สมุนไพรบรรเทาหวัดคัดจมูก

          อย่ามองข้ามสมุนไพรไทย ๆ รอบรั้วบ้านไปนะคะ เพราะยังมีสมุนไพรไทยหลากหลายชนิด ที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและแก้ น้ำมูกไหลได้อย่างดี เริ่มต้นจาก

          พริก ใช้ ต้นพริก (ยกเว้นเม็ดพริก) ล้างน้ำให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้น ๆ และตากแดดจนแห้ง ประมาณ 15 กรัม ต้มกับน้ำเปล่า 1 ลิตร จนเดือด รินเฉพาะน้ำดื่มก่อนอาหาร ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น จะช่วยให้คุณหายใจสะดวกขึ้นทันที

          ฟ้าทะลายโจร นำใบแก่และกิ่งสดล้างน้ำให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้น ๆ ประมาณ 300 –500 กรัม (ปรับปริมาณได้ตามความต้องการ) ตากแดดให้แห้ง นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อยปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนขนาดปลายก้อย หรือใส่แคปซูลเพื่อความสะดวกในการกิน ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 3 เม็ด เช้า-เย็น ช่วยบรรเทาอาการหวัดคัดจมูกและแก้เจ็บคอได้

          หญ้าใต้ใบ ไม้ต้นเล็ก ๆ มีรสขมเย็น ใช้ต้นสดประมาณ 3 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนสั้น ๆ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร รอจนเดือด กรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหาร ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น แก้หวัดคัดจมูกและทำให้น้ำมูกแห้ง

          กระเทียม ควรปรุงอาหารด้วยกระเทียมจะช่วยลดอาการคัดจมูก หรือกินกระเทียมสด ๆ ครั้งละ 7 กลีบ พร้อมมื้ออาหาร ทุกวัน

          หอมเล็ก นำหอมเล็ก 1 หัว ปอกเปลือก กินพร้อมอาหารเป็นประจำทุกวัน จะช่วยป้องกันหวัดและบรรเทาอาการคัดจมูกได้ หรือถ้ายังไม่หาย ใช้หอมเล็ก 4-5 หัวทุบพอแตกต้มกับน้ำ 1 ลิตร รอเดือดยกลง เทน้ำใส่ชามใบใหญ่ จึงก้มหน้าลงให้ห่างชามพอประมาณ ใช้ผ้าขนหนูคลุมศีรษะและชามไว้ สูดไอระเหยเข้าทางจมูกประมาณ 5-10 นาที จะรู้สึกโล่งจมูก นอกจากนี้ ยังใช้หอมเล็กต้มน้ำอาบแก้คัดจมูกได้เช่นกันค่ะ โดยนำหอมเล็ก 3 หัว ทุบพอแตก ใบมะขาม 1 กำมือ และเปลือกส้มโอประมาณครึ่งลูก ต้มกับน้ำ 3 ลิตร พอน้ำเดือดยกลง รอจนอุ่น (ทดสอบโดยใช้นิ้วจุ่มว่าร้อนไปหรือไม่) จึงอาบแทนน้ำเปล่า ด้วยสรรพคุณทางยาของสมุนไพรเหล่านี้จึงช่วยบรรเทาหวัดและลดน้ำมูก

          ขิง นำขิงแก่ 1 แง่ง หั่นเป็นแว่นบาง ๆ ต้มกับน้ำ 1 ลิตรประมาณ 5 นาที เสร็จแล้วตักขิงออก ดื่มขณะยังอุ่น ๆ ครั้งละ 1 แก้ว ช่วงเช้า กลาง และเย็น จะช่วยลดน้ำมูกได้

          ตะไคร้ ใช้ตะไคร้ 3-4 ต้น บุบให้แตก ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือด ยกลง รินเฉพาะน้ำจิบบ่อย ๆ ตลอดวัน ช่วยแก้อาการน้ำมูกไหลจากหวัดได้เช่นกัน

โล่งจมูก ด้วยยาดมสูตรธรรมชาติ

          ส่วนผสมมีดังนี้ คือ เกล็ดสะระแหน่ (เมนทอล) หนัก 5 บาท (1 บาทเทียบเท่ากับน้ำหนัก 15 กรัม) การบูรหนัก 1 บาท และพิมเสนหนัก 1 บาท

          วิธีทำง่าย ๆ โดย ใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว เช่น โหลแก้ว ใส่การบูรและพิมเสนลงไปก่อน หลังจากนั้นใส่เกร็ดสะระแหน่ตามไป ปิดฝาและเขย่าสักพักจนสารต่าง ๆ ละลายกลายเป็นน้ำ ตักแบ่งใส่ขวดแก้วขนาดเล็ก ไว้ใช้สูดดมแก้หวัดคัดจมูก และทำให้หายใจโล่งสบาย

หลากนิสัยควรรู้ เพื่อป้องกัน+ดูแลอาการคัดจมูก

          ทางที่ดีที่สุด คุณควรป้องกันตัวเองไว้ก่อน ด้วยวิธีดูแลรักษาตนเองที่เหมาะสม และหากเกิดมีอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหลไม่หยุดแล้ว อย่าลืมปรับพฤติกรรมเสียใหม่ เพื่อป้องกันมิให้อาการลุกลามหรือเกิดโรคแทรกซ้อน เริ่มต้นง่าย ๆ ดังนี้

          ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่และน้ำเปล่า โดยเฉพาะหลังใช้ห้องน้ำสาธารณะหรือในช่วงที่ต้องทำงาน หรืออยู่ร่วมกับคนป่วย

          อยู่ให้ห่างไกลจากบริเวณที่มีควันบุหรี่ ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อช่องจมูก หรือถ้าคุณสูบบุหรี่อยู่ก็เป็นเวลาที่สมควรจะเลิกสูบบุหรี่แล้วค่ะ

          ไม่ควรสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดแรงดันย้อนกลับ จึงทำให้เชื้อไวรัสกลับขึ้นไปตามโพรงจมูกได้ ควรสั่งน้ำมูกจากรูจมูกทีละข้าง เพื่อให้มีแรงดันย้อนกลับน้อยที่สุด

          ถ้ารูจมูกเกิดการอักเสบแล้ว ควรทาวาสลินบาง ๆ รอบรูจมูกเพื่อป้องกันอาการแสบจมูก หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ทำจากผ้าฝ้ายธรรมชาติ ชุบชาคาโมไมล์ประคบไว้สัก 1-2 นาที

          หากเป็นหวัดคัดจมูกควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมงานเกินไป พร้อมกับกินอาหารที่มีประโยชน์ อย่างอาหารชีวจิต และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
 
Support : | |
Copyright © 2014. Guide Baby Care - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger