Latest Movie :
 

การนอนของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 3 เดือน

    ถ้าเราจะกล่าวในเรื่องของกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมที่ทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนั้นพึงกระทำได้นั่น ต้องบอกว่ามีแค่สอง สาม อย่างเท่านั้นเอง คือ การร้องไห้ เมื่อต้องการที่จะสื่อสารหรือบอกในส่วนของอารมณ์ความรู้สึกในตอนนั้น อาจจะรู้สึกไม่สบายตัว หิว หรือมดกัด หรือกิน เพราะลูกน้อยต้องการนมจากคุณแม่อีกทั้งในวัยนี้ก็กินได้แค่นมเท่านั้น และสุดท้าย คือการนอน ซึ่งต้องบอกเลยว่าการนอนของลูกน้อยนั้น ถือว่าเป็นกิจกรรมหรือกิจวัตรหลักๆเลยที่ลูกน้อยทำทุกวัน ก็แม้แต่คนเราโตแล้วยังต้องการเวลาพักผ่อนเลย จริงหรือไม่ ดังนั้นการนอนจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของการนอนของทารกกันดีกว่า โดยเราจะมุ่งเน้นไปในโซนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน ว่าแต่มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน คือ

ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง อาจจะเกิดข้อสงสัยมาว่า ทำไมต้องนอนหงายกับนอนตะแคงละ นอนคว่ำไม่ได้หรอ ถ้าเอาแต่นอนหงาย ศีรษะลูกน้อยไม่สวยกันพอดี หากจับนอนคว่ำแล้ว ศีรษะหรือรูปทรงของหัวลูกน้อยก็จะทุย กลม มน สวยงาม เรามีคำตอบกัน “ที่แนะนำว่า ท่านอนที่เหมาะสมที่สุดของทารกแรกเกิด – 3 เดือนนั้นคือ ท่านอนหงายกับนอนตะแคงก็เพราะว่า ทารกในวัยแรกเกิด ต้องบอกว่าทารกแรกเกิด – 3 เดือนนี้ก็ยังถือว่าเป็นวัยแรกเกิด คุณพ่อคุณอย่าเพิ่งคาดหวังในเรื่องของคอที่จะแข็ง ต้องบอกว่าทารกในช่วงนี้นั้น ช่วงคอของเขายังอ่อนไหวมากนัก อีกทั้งตัวของลูกน้อยเองก็ยังไม่มีความสามารถพอที่จะสามารถชันคอได้ ดังนั้นด้วยที่เขายังไม่สามารถที่จะใช้แรงเกร็งคอ และชันคอได้ท่านอนหงายกับตะแคงจึงเหมาะที่สุด เพราะถ้าหากทารกแรกเกิดนั้นนอนคว่ำ เขาไม่สามารถที่จะชันคอได้ คอไม่แข็ง อาจจะทำให้การหายใจของลูกน้อยนั้นลำบาก อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะที่สุดแสนจะอันตรายที่มี ชื่อว่า SIDS  (Sudden Infant Death Syndrome) หรือการหยุดหายใจไปชั่วขณะ หรือที่ชาวบ้านอย่างเราๆเรียกกันว่า โรคไหลตายในเด็กนั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าอันตรายมาก มากจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นหากไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิดแนะนำอย่าให้ลูกน้อยในวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้นอนคว่ำเด็ดขาด หรือทางที่ดีเลี่ยงไปเลยดีที่สุด”

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะว่า “การนอนหงายและนอนตะแคงมีประโยชน์ต่อลูกน้อยในเรื่องของพัฒนาการการเรียนรู้ด้วยนะ” ทั้งนี้เพราะว่าการนอนคว่ำนั้นนอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไหลตายในเด็กแล้ว ยังปิดกั้นในการเรียนของลูกน้อยด้วย เพราะทารกน้อยจะมองไม่เห็น กลายเป็นคนไม่ช่างสังเกต ดังนั้นให้เขานอนหงายและนอนตะแคงจะดีกว่า เพราะว่าพวกเขายังสามารถที่จะเอียงคอมองไปในสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ อีกทั้งยังมีการสรุปอีกว่า เด็กที่ตอนเด็กๆพ่อแม่ให้นอนคว่ำบ่อยครั้ง มักจะเป็นคนไม่ช่างสังเกต เมื่อเทียบกับเด็กที่นอนหงายและนอนตะแคงนั่นเอง”
ช่วงเวลาของการนอนที่มีระบบ ระเบียบขึ้นมาอีกนิดหนึ่งของลูกน้อยหรือทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน

ต้องขอย้ำคำนี้เลยจริงๆกับระบบ ระเบียบการนอนของหนูน้อยที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาอีกสักนิดหนึ่ง ที่เราบอกว่าเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยจะเริ่มนอนกลางคืนมากขึ้นและนอนกลางวันน้อยลงนั้นเองนั่นคือในช่วง 2 เดือนแรกของลูกน้อยนั้นจะนอนมากสักนิดหนึ่งคือประมาณวันละ 17-18 ชั่วโมงแต่เมื่อลูกน้อยอายุย่างเข้าประมาณ 3 เดือนลูกน้อยจะมีความต้องการในเรื่องของเวลาการนอนลดลงประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นและด้วยเหตุนี้เองก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องดีมากๆเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายได้นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นในช่วงเดือนแรกของทารกนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณนั้นหลับได้สบายและยาวนานมากขึ้น โดยกระทำได้โดยการให้คุณแม่ห่อตัวลูก หรือวางผ้าไว้ที่หน้าอก หรือหลังของลูก ทั้งนี้ที่ทำแบบนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้สึก ให้ลูกรู้สึกว่าปลอดภัยและอบอุ่น และเมื่อลูกอาบน้ำแล้ว อีกทั้งยังได้ทานนมจนอิ่ม ก็จะเรื่องปกติที่เขาจะหลับได้โดยง่าย อีกทั้งเคล็ดลับสำคัญ ทดสอบเสียง ร้องเพลงกล่อมลูกกันดีกว่า เพื่อสร้างความผ่อนคลายนั่นเอง หรือคุณพ่อจะมาช่วยอีกแรงก็ได้

ขอเสริมอีกสักนิดว่า หากลูกน้อยของคุณนั้นอาจจะมีบางอาการหรือลักษณะที่ไม่เหมือนเด็กคนอื่น เช่น นอนน้อยตื่นบ่อย อย่าตกใจไปถ้าหากลูกยังร่าเริง น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์  ดื่มนมได้เป็นปกติ เพราะว่าเดี๋ยวเขาก็สามารถปรับตัวได้ปกติเอง

ดังนั้นในส่วนของการนอนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้จะให้สรุปง่ายๆคือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะใส่ใจในเรื่องของท่านอนที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะวัยนี้คอของลูกน้อยหรือทารกนั้นยังอ่อนอยู่มากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่าให้นอนคว่ำเพราะอาจจะจะไหลตายได้ อีกทั้งการนอนหงายและนอนคว่ำยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการเรียนรู้ได้อีกด้วย และสุดท้ายการนอนของลูกจะดีและผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่เขินอาย มาร้องเพลงกล่อมลูกน้อยกันดีกว่า

Share this article :

Post a Comment

 
 
Support : | |
Copyright © 2014. Guide Baby Care - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger