Latest Movie :
Recent Movies
 

บันทึกพัฒนาการเด็กตามวัยตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 6 ขวบ พัฒนาการ

ข้อแนะนำในการใช้บันทึกพัฒนาการเด็ก สำหรับคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เปิดเผยถึงวิธีการรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของเด็กในวัยที่แตกต่างกันว่า พ่อแม่ควรมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ พร้อมแนะว่าเด็กแต่ละวัยจะมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน

    คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย สติ ปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักและเข้าใจ ให้โอกาสเด็กได้เรียน รู้ และฝึกทำ
    คุณพ่อคุณแม่ และทุกคนในบ้านเป็นแบบอย่างที่จะปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัย และความ เป็นอยู่ที่ดี เหมาะสมกับสภาพของชุมชน ตลอดจนเติบโตขึ้นเป็นคนดีมีความสามารถได้
    บันทึกพัฒนาการเด็กต่อไปนี้ แสดงความสามารถตามวัยของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมี พัฒนาการเร็ว - ช้า แตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน ใน 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    ถ้าลูกมีลักษณะต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    - ถ้าลูกอายุ 3 เดือน แล้วลูกไม่สบตา หรือ ยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ
    - ถ้าลูกอายุ 6 เดือน แล้วไม่มองตาม หรือ ไม่หันตามเสียง หรือ ไม่สนใจคนมาเล่นด้วย ไม่ พลิกคว่ำหงาย
    - ถ้าลูกอายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ไม่สามารถใช้นิ้วมือหยิบของกินเข้าปาก ไม่เลียนแบบท่าทาง และเสียงพูด
    - ถ้าลูกอายุ 1 ปี 6 เดือน แล้วยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น นั่งลง สวัสดี เดินมาหา แม่
    - ถ้าลูกอายุ 2 ปี ยังไม่พูดคำต่อกัน
    - พัฒนาการล่าช้ากว่าวัย น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เจ็บป่วยบ่อยๆ

หมายเหตุ : คุณพ่อคุณคุณแม่ ผู้ปกครองเด็ก บันทึกพัฒนาการเด็กในช่อง "ลูกของท่านทำได้ เมื่ออายุ"


พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 เดือน

    สบตา
    จ้องหน้าแม่

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
    เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
    อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 2 เดือน

    คุยอ้อแอ้ ยิ้ม
    ชันคอในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตาม
    พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
    ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป



พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 3 เดือน

    ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
    ส่งเสียงโต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
    ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 4 เดือน

    ไขว่คว้า
    หัวเราะเสียงดัง
    ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
    เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
    ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 5 เดือน

    คืบ
    พลิกคว่ำ พลิกหงาย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา
    พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
    พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 6 เดือน

    คว้าของมือเดียว
    หันหาเสียงเรียกชื่อ
    ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ
    ลูกของท่านทำได้เมื่ออายุ ………………เดือน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
    เล่นโยกเยกกับเด็ก
    หาของให้จับ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 7 เดือน

    นั่งทรงตัวได้เอง
    เปลี่ยนสลับมือถือของได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
    ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ - หยาบ อ่อน - แข็ง
    ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า - ออก จากถ้วย หรือกล่อง

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 8 เดือน

    มองตามของที่ตก
    แปลกหน้าคน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
    พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 9 เดือน

    เข้าใจเสียงห้าม
    เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
    ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
    หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
    ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 10 เดือน

    เหนี่ยวตัว เกาะยืน เกาะเดิน
    ส่งเสียงต่างๆ "หม่ำ หม่ำ", "จ๊ะ จ๋า"

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
    เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 ปี
    ตั้งไข่
    พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่
    เลียนเสียง ท่าทางและเสียงพูด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้เด็กมีโอกาสเล่นสิ่งของโดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่
    พูดชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งต่างๆ ได้
    พูดคุย ชี้ และบอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 3 เดือน

    เดินได้เอง
    ชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบอก
    ดื่มน้ำจากถ้วย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    พูดคุย โต้ตอบ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตของและคนรอบข้าง
    ให้หาของที่ซ่อนใต้ผ้า
    ชี้ให้ดูภาพ และเล่าเรื่องสั้นๆ ให้เด็กฟัง
    ให้เด็กหัดตักอาหาร ดื่มน้ำจากถ้วย และแต่งตัวโดยช่วยเหลือตามสมควร

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 6 เดือน

    เดินได้คล่อง
    รู้จักขอ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้โอกาสเด็ก เดิน วิ่ง และหยิบจับสิ่งของโดยระมัดระวังความปลอดภัย
    ร้องเพลง คุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เล่นเกมส์ง่ายๆ
    จัดหา และทำของเล่นที่มีสี และรูปทรงต่างๆ

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 8 เดือน

    พูดแสดงความต้องการ
    พูด 2-3 คำ ติดต่อกัน
    เริ่มพูดโต้ตอบ
    ขีดเขียนเป็นเส้นได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    เมื่อเด็กพยายามทำสิ่งใด ควรสนใจ ชี้แนะ และให้กำลังใจ โดยให้เด็กคิดเอง และทำเอง บ้าง
    ฝึกลูกให้ช่วยตัวเอง เช่น ขับถ่ายให้เป็นที่ รู้จักล้างมือก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย
    ให้เด็กมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี
    เรียกชื่อสิ่งต่างๆ และคนที่คุ้นเคย
    ตักอาหารกินเอง

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    คุณพ่อคุณแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีตลอดเวลา และอบรมสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลง่าย
    สอนลูกให้รู้จักทักทาย ขอบคุณ และขอโทษในเวลาที่เหมาะสม

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี 6 เดือน

    ซักถาม "อะไร" พูดคำคล้องจอง
    ร้องเพลงสั้นๆ
    ร้องเพลงสั้นๆ
    หัดแปรงฟัน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    พาเด็กเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกตสิ่งที่พบเห็น
    หมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถามของลูกโดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ
    ชวนลูกแปรงฟัน เมื่อตื่นนอนและก่อนนอนทุกวัน

พัฒนาการของเด็กวัย 3 ปี

    บอกชื่อ และเพศตนเองได้
    รู้จักให้และรับ รู้จักรอ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    สนับสนุนให้ลูกพูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ
    สังเกตท่าทีความรู้สึกของเด็ก และตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจลูกเกินไป ควรค่อยๆ รู้จักผ่อนปรน
    จัดหาของที่มีรูปร่าง และขนาดต่างๆ ให้เด็กเล่น หัดขีดเขียน หัดนับแยกกลุ่ม และเล่นสมมุติ

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี

    ซักถาม "ทำไม"
    ล้างหน้า แปรงฟันเองได้
    บอกขนาด ใหญ่ เล็ก ยาว-สั้น
    เล่นรวมกับคนอื่น รอตามลำดับก่อนหลัง
    ไม่ปัสสาวะรด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ตอบคำถามของเด็ก
    เล่าเรื่องจากภาพ คุย ซักถาม เล่าเรื่อง
    ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติด และกลัดกระดุม รูดซิป

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี 6 เดือน

    รู้จักสีถูกต้อง 4 สี
    ยืนทรงตัวขาเดียว และเดินต่อเท้า
    เลือกของที่ต่างจากพวกได้
    นับได้ 1-10 รู้จักค่าจำนวน 1-5

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกหัดเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือก
    เล่นทาย "อะไรเอ่ย" กับลูกบ่อยๆ
    ฝึกหัดนับสิ่งของและหยิบของตามจำนวน 1-5 ชิ้น

พัฒนาการของเด็กวัย 5ปี
    พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ
    รู้จักขอบคุณ
    รู้จักเล่าเรื่องสั้นๆ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่น ซักผ้า
    ฝึกให้ลูกสังเกต รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง และจัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกัน

พัฒนาการของเด็กวัย 6 ปี

    นับได้ 1-30 รู้ค่าจำนวน 1-10
    รู้จักซ้าย ขวา
    เริ่มอ่านและเขียนตัวอักษรและตัวเลข

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกนับสิ่งของที่พบเห็น หัดอ่าน เขียนรูป และตัวอักษร
    พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับบุคคลต่างๆ และประเพณีท้องถิ่น
    ให้ลูกวาดรูปตามความคิดของตน และเล่าเรื่องจากรูปที่วาด หรืออธิบายสิ่งที่ตนพบเห็น

อนามัยวัยทารก ให้อาหารถูกหลักลูกรักแข็งแรง

อนามัยวัยทารก

ให้อาหารถูกหลักลูกรักแข็งแรง
     “อาหาร” ที่เหมาะสำหรับทารกทั้งชนิดปริมาณ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนา และการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ทารก
เป็นช่วงชีวิตที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตของสมองเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งมีการพัฒนา
ไปประมาณร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่
     ดังนั้น อาหารระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์ตลอดจนอาหารทารกหลังคลอด จึงมีความสำคัญอย่างมาก น้ำหนักทารกแรกคลอดจะประมาณ 3
กิโลกรัม แต่เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือนจะมีน้ำหนักเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด และควรเป็น 3 เท่าเมื่อทารกอายุได้ 1 ปี จะเห็นว่า
ไม่มีวัยใดในชีวติของคนเราที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเท่าช่วงวัยทารก ดังนั้นความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ จึงเพิ่มขึ้นด้วยถ้าได้
รับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เพียงพอการเจริญเติบโตก็จะหยุดชะงัก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้อาหารชนิดต่าง ๆ จึงมีความจำเป็น เพื่อให้
ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
   
สารอาหารสำคัญที่ลูกน้อยต้องการ
     พลังงานและโปรตีน ความต้องการพลังงานและโปรตีนเทียบกับน้ำหนักตัวจะเห็นว่าสูงมากกว่าเด็กโตหรือว่าผู้ใหญ่ แหล่งโปรตีนและพลังงานในช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ดีที่สุดคือ นมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องชี้วัดการเจริญของเซลล์สมอง คือเส้นรอบศีรษะ
     แร่ธาตุเหล็ก จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทารกอายุ 4-12 เดือน ควรได้รับแร่ธาตุเหล็กจากตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง
     ไอโอดีน ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ไอโอดีนช่วยพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร
     แคลเซียม จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่ได้รับจากนม
     สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีมากในอาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และอาหารทะเล
     วิตามินเอ มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต สร้างเสริมเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น แหล่งอาหารสำคัญ คือ ตับ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม และผลไม้สีแหลืงแสด

พัฒนาการกินในขวบปีแรก
     ลูกแรกคลอด คุณหมอจะให้นำมาแนบอกแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ให้ลูกได้ดูดนมแม่ แม้ว่าบางครั้งแม่จะยังไม่มีนม หรือมีน้อยมากซึ่งเป็นหัวน้ำนมที่เป็นภูมิต้านทานของลูก เด็กแรกคลอดจะทำได้แค่ดูดและกลืนจึงยังไม่ต้องให้อาหารอื่นนอกจากนม ต่อเมื่อลูกอายุย่างเข้าเดือนที่ 4 จึงเริ่มให้ลูกได้อาหารอื่น นอกจากทารกเริ่มต้องการพลังงานแร่ธาตุวิตามินเพิ่ม และในช่วงนี้จะใช้ลิ้นช่วยให้อาหารในปากไปสู่การกลืน ควรเริ่มอาหารทีละอย่าง และทีละน้อย ๆ ก่อน 1 ช้อนเล็ก และจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เช่น เริ่มด้วยข้าว
บดไข่แดงบวกน้ำสุกเพื่อให้เหลวและเปลี่ยนเป็นกล้วยน้ำหว้าสุกบด (ไม่ใช้ไส้) ข้าวบดกับตับ ถ้าทารกปฏิเสธไม่ยอมรับอาหารใดให้เว้นเอาไว้ 3-4 วันแล้วกลับมาป้อนใหม่
     เมื่ออายุได้ 6-7 เดือน ทารกคุ้นเคยกับอาหารเสริมแล้ว ทารกบางคนเริ่มมีฟัน ดังนั้น อาหารจะค้นขึ้น เนื้อสัตว์สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1 ถ้วย หรือว่าแทนนม 1 มื้อ หมุนเวียนอาหารโดยเฉพาะผัก เพื่อฝึกการยอมรับรสชาติของผักหลาย ๆ ชนิด และไม่ปฏิเสธผักเมื่อโตขึ้น
     อายุ 8-12 เดือนให้อาหารหลัก 2 มื้อ นมอีก 4 มื้อ น้ำหนักตัวประมาณ 7-8 กิโลกรัม เด็กเริ่มหยิบของด้วยมือข้างเดียว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ในการหยิบของ ให้อาหารที่เป็นชิ้นที่นิ่มเมื่อเข้าปาก เช่น ขนมปังขาไก่ ฟักทองต้มเป็นชิ้น ๆ ผักต้มเด็กจะได้ช่วยตัวเองในการหยิบจับอาหารและสนุกกับการกิน
     อายุ 1-1ปีครึ่ง อาหาร 3 มื้อ นม 3 มื้อ มีสารอาหารครบเหมือนผู้ใหญ่โดยอาหารสุกอ่อนนุ่มเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เคี้ยวได้ เด็กเริ่มที่จะใช้ช้อนในการตักเอง แต่ยังหกอยู่ ต้องปล่อยให้เด็กช่วยตัวเองในการตักอาหารและให้เด็กนั่งโต๊ะในการกินอาหารร่วมกับผู้ใหญ่เพื่อให้เคย ๆ ฝึกวินัยช่วงอายุนี้ เด็กสามารถดื่มนม ดื่มน้ำจากถ้วยได้แล้ว
     เมื่ออายุ 2 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 12 กิโลกรัม ตักอาหารกินเอง ถือถ้วยน้ำเองยังหกอยู่บ้าง เริ่มคิดตัดสินใจเอง มีการต่อต้านคำสั่ง แต่ถ้าได้ฝึกให้ลูกกินถูกหลักถูกวิธีตั้งแต่เริ่มกินได้ ก็จะไม่ยุ่งยากหรือว่าปฏิเสธในการกินผักให้หนักใจ

การให้อาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก
     ถึงแม้ว่านมแม่จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่งนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ไม่พอสำหรับทารก ดังนั้นอาหารเสริมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ช่วงอายุที่เหมาะสมในการให้อาหารเสริมแก่ทารกก็คือ เริ่มให้ลูกอายุ 4-6 เดือนขึ้นไปเพราะว่าทารกมีความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากนมแม่
     อาหารที่เหมาะกับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 เดือนเต็มก็คือนมแม่อย่างเดียว แต่พอทารกอายุครบ 4 เดือนเต็ม ควรให้ข้างบดใส่ไข่แดงต้มสุก สลับกับตับ กล้วยน้ำหว้าสุกครูด ปริมาณ 1 –2 ช้อนชา แล้วค่อยเพิ่มจนถึง ½ ถ้วย แล้วให้กินนมแม่ตาม
    - ทารก 5   เดือน ควรเพิ่มปลาต้มสุกและผักต้มเปื่อยปริมาณ ½ ถ้วย
    - ทารก 6 เดือน ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียดและข้าวบดที่หยาบขึ้นประมาณเกือบ 1 ถ้วย
    - ทารก 7 เดือน ควรเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง และสามารถให้ไข่ทั้งฟองได้ ปริมาณอาหาร 1 ถ้วย สามารถแทนนมได้ 1 มื้อ
     - ทารก 8-9 เดือน สามารถให้อาหารที่หยาบขึ้นและให้อาหารแทนนมได้ 2 มื้อ
     - ทารก 10-12 เดือน เนื้อสัมผัสของอาหารจะหยาบขึ้นและไม่ต้องบด และให้อาหารแทนนมได้ 3 มื้อ

ทำอย่างไรไม่ให้ลูกเบื่ออาหาร
     ทารกช่วงอายุ 4 เดือนขึ้นไปแล้ว เป็นช่วงที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นระยะที่เปลี่ยนจากการกินอาหารเหลวมาเป็นอาหารที่หยาบกว่าเดิม เป็นช่วงที่ควรฝึกหัดนิสัยการกินให้เด็กเพิ่มเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี เมื่อเด็กโตขึ้นบางครั้งอาจจะเบื่ออาหาร ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีข้อแนะนำดังนี้
     1. ควรให้อาหารที่มีลักษณะละเอียดหรือว่าหยาบให้เหมาะสมกับวัย เช่น การให้ข้าวตุ่นที่เนื้อละเอียดจนเกินไปอาจทำให้เด็กเบื่ออาหาร เมื่อเด็กโตขึ้นพอที่เคี้ยวอาหารได้ก็ควรเปลี่ยนเป็นข้าวที่แห้งขึ้น
     2. ควรหาวิธีให้เด็กคุ้นเคยต่อรสชาติของอาหาร เช่น เมื่อถึงวัยที่เด็กมีพัฒนาการชอบที่จะหยิบจับของใส่ปาก ควรหาอาหารที่ไม่เหนียว หรือว่าแข็งจนเกินไปให้เด็ก ถือกินเล่นจะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับกลิ่น และรสชาติของอาหาร
     3. ควรรู้จักวิธีการปรับเปลี่ยนอาหารให้หลากหลาย เช่น อาหารผักแทนที่จะเป็นผักล้วน ๆ ก็ควรปรุงไปกับอาหารอื่น ๆ เช่น ไข่เจียว
หรือว่าไข่ตุ่นใส่ผักสับละเอียดหรือว่าแกงจืดแตงกว่ายัดไส้หมูบด
     4. ส่วนเนื้อสัตว์ก็ควรหัดให้กินแบบที่ไม่เหนียวก่อน เช่น ให้กินเนื้อปลา ตับบด ก่อนที่จะกินพวกเนื้อ หมู ไก่ ตามลำดับ
     5. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมโดยให้ร่วมโต๊ะอาหารพร้อมผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการกิน เช่น การกินผัก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และปรับตัว นอกจากนี้ควรรู้จักสังเกตและคอยแก้ไขปัญหาให้เด็กจนกว่าเด็กจะโต และรู้จักเลือกรับประทานอาหารของตนเองได้

อาหารสำหรับเด็กท้องผูกและท้องเสีย
     การได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมจะช่วยให้การขับถ่ายของทารกดำเนินไปด้วยดีในระยะแรกทารกจะขับถ่ายด้วยการกระตุ้นของแล็กโทสในนม ซึ่งถูกย่อยไม่หมดแล็กโทสที่ถูกย่อยไม่หมดจะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ถูกหมักและย่อยต่อโดยแบคทีเรีย ทำให้เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งกรดนี้จะทำให้ลำไส้เกิดการระคายเคือง เกิดการบิดตัวและกรดนี้มีคุณสมบัติในการดูดน้ำเข้าหาตัวด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กก็จะขับถ่ายออกมา (จะเห็นได้ว่าเด็กที่ทานนมแม่ทุกคนจะขับถ่ายมีน้ำปนออกมา ซึ่งไม่ใช้ท้องเสีย ไม่ควรตกใจ) ทารกอายุน้อย ๆ กินนมแม่จะไม่เกิดอาการท้องผูก ถ้าลูกเกิดกินนมผสมต้องผสมนมให้ถูกส่วน เพราะยิ่งใสนมให้น้อยเกินน้ำมากขึ้น ลูกจะยิ่งท้องผูกหนักขึ้น เพราะการที่เด็กทารกถ่ายได้ขึ้นกับแล็กโทสที่อยู่ในนมจะย่อยไม่หมด
     การแก้อาการท้องผูก ละลายน้ำผึ้งหรือน้ำตาลปี๊บ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำพอ ...... ต้มให้เดือด ทิ้งให้เย็นให้เด็กกินวันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเด็กโตเพิ่มอาหารที่มีกากพวกผักใบเขียว ผลไม้ เช่น มะละกอ ส้มเขียวหวาน หรือเด็กที่โตกว่า 2 ขวบ อาจให้กินน้ำมะขามที่ต้มสุกแล้ว และฝึกให้ถ่ายหลังอาหารเช้าเป็นประจำจะได้ไม่เกิดท้องผูก
     ในกรณีที่ทารกอุจจาระร่วง
     ถ้าลูกท้องเสียฉับพลัน ให้แก้สภาวะสูญเสียน้ำก่อนภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยให้ดื่มน้ำเกลือผงละลายน้ำแล้วให้ดูดนมแม่ต่อไป ถ้าเด็ก
กินนมผสมให้ผสมเจือจางเท่าตัวก่อนแล้วค่อยเพิ่มเป็นปกติภายใน 3 วัน
     อาหารอื่นในระหว่างท้องเสีย ควรเป็นอาหารอ่อน ๆ จำนวนน้อยกว่าแล้วค่อยเพิ่มเป็นเท่ากับปกติ
     - โจ๊ก , ข้าวต้ม
     - ดื่มนมแม่

การพัฒนาการของเด็กตามวัยที่เหมาะสม
     ในช่วงขวบปีแรกนั้นเด็กจะเติบโตเร็วมาก ในแต่ละเดือนที่ผ่านไปจะมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ถ้าพ่อแม่หรือว่าคนเลี้ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ก็สามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้
     พัฒนาการของเด็กในขวบปีแรกมีดังนี้
     แรกเกิด ทารกจะมองจ้องได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ แต่ว่ายังหันศีรษะไม่ได้ ช่วงเดือนที่ 1 เด็กจะเริ่มชูศีรษะได้เล็กน้อยเมื่อนอนคว่ำ หันซ้าย หันขวา มองตามได้เล็กน้อย ยิ้มไม่มีความหมาย และทำเสียงในคอได้ ช่วงเวลาที่แม่ให้นมลูกควรมองสลับตาและยิ้มแย้ม และเอียงหน้าไปมาให้เด็กมองตาม ช่วงเดือนที่ 2 เด็กจะชันคอได้แข็งขึ้น ถ้าจับนั่งจะยกศีรษะหรือว่าแหงนหน้าขึ้นได้ ฟังเสียงคุย ยิ้มตอบ แสดงความสนใจได้แล้ว ให้หาของเล่นสีสันสดในแขวนให้เด็กมองตามและพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ 4 เด็กบางคนจะชันคอได้แข็ง สามารถใช้มือและแขนยันยกตัวชูได้ และจะแสดงสีหน้าดีใจเมื่อเห็นหน้าพ่อหน้าแม่ หรือคนเลี้ยง ดังนั้นจึงควรจัดที่ปลอดภัยเอาไว้ให้เด็กหัดคว่ำหรือหัดคืบเมื่อเข้าเดือนที่ 6 เด็กจะคว่ำและหงายเองได้ นั่งเองได้ชั่วครู่ จับให้หัดยืนได้ หันหน้าตามเสียงเรียก เล่นน้ำลาย และรู้จักแปลกหน้าคนแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอุ้มเขาให้น้อยลง และปล่อยให้คลานเล่นเองมากขึ้น แต่ต้องมีผู้ใหญ่คอยระวังอยู่ข้างหลังด้วย ในช่วงเดือนที่ 9 เด็กจะนั่งได้มั่นคง คลานเกาะยืน ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มื้อได้ เล่นจ๊ะเอ๊ได้ โบกมือหรือว่าสาธุได้ ช่วงนี้ต้องให้เด็กได้หัดใช้นิ้วหยิบของหัดเดิน และหัดคลาน พออายุครบ 1 ขวบ ลูกจะตั้งไข่ เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ หยิบของใส่ถ้วยได้ เรียกพอเรียกแม่หรือว่าพูดเป็นคำ ๆ ได้เช่น หม่ำ เที่ยว คุณแม่ควรเริ่มสอนให้เขารู้จัก
อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหัดดื่มจากแก้วหรือหัดเดินจูงมือ

เลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพ
     เด็กจะเติบโตเป็นคนดีมีความสามารถได้พ่อแม่มีส่วนมากทีเดียวเพราะต้องเป็นผู้ที่ปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กมีความพยายามด้วยต้องพัฒนาความสามารถของลูกให้เหมาะสมตามวัยครับ การเสริมสร้างความสามารถให้ลูกเป็นเด็กที่มีนิสัยขยันหมั่นเพียรนั้นมีหลักสำคัญ
ที่ต้องนำมาปฏิบัติประกอบการ 3 ประการ คือ
     1. การฝึกหัดให้เด็กพึ่งพาตนเอง ซึ่งพ่อแม่ต้องเริ่มปลุกฝังตั้งแต่ลูกอายุขวบกว่า ๆ จนกระทั้ง 4-5 ขวบ เพราะว่าเด็กวัยนี้เป็นไม้อ่อนดัดง่าย เช่นตอนเล็ก ๆ ก็ฝึกให้เขาตักอาหารรับประทานเอง ถอดเสื้อเองหรือ 2-4 ขวบก็ฝึกให้ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ .....
     2. หลักประการที่ 2 คือ พ่อแม่ต้องอบรมลูกด้วยความรัก ความเข้าใจและใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เรื่องนี้สำคัญมากต้องไม่ใช้วิธีการบังคับหรือฝืนใจและไม่ดุด่าให้ลูกกลัวหรือเสียกำลังใจ พ่อแม่ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างคอยให้คำแนะนำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้และให้รางวัลถ้าเขาทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็กนั้น เพียงแค่การกอดอย่างอ่อนโยน หอมแก้ม ตบมือ ให้เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว เรียกว่าการใช้ความรักและเหตุผลในการสอนจะส่งเสริมให้เด็กมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสิ่งที่พ่อแม่อบรมให้ดียิ่งขึ้น
     3. และหลักประการสุดท้ายคือ การเล่านิทานหรือเรื่องที่เกี่ยกวับผู้มีความมานะพากเพียรให้ลูกฟังบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก
มีความเพียรพยายามในทางที่เหมาะสม โดยเลือกนิทานที่มีตัวเอก ตัวเอกที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ โดยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมตามความสามารถที่มีอยู่ หรือว่าแก้ปัญหาด้วยปัญญาและความมานะอดทน หลักทั้ง 3 ประการนี้ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการความสามารถมีความเพียรพยายาม และอย่าลืมปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่น ๆ ให้ลูกได้พร้อม ๆ กันไปด้วย

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 3 เดือน


พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม


ลูกวัย 3 เดือนจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สามารถยกศีรษะได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะมีสิ่งล่อตาให้มองหา เริ่มบังคับกล้ามเนื้อคอได้อย่างมั่นคง หากคุณพ่อคุณแม่จับลูกนั่งพิงลูกจะเริ่มหันซ้ายขวาและชะโงกหน้ามาดูสิ่งที่ลูกสนใจ และหากจับลูกยืนเขาจะทำท่าเหมือนกระโดดจั๊มขาคู่ อีกทั้งมือกับตาเริ่มประสานกันมากขึ้นโดยสังเกตจากลูกหยิบของเข้าปากได้แม่นยำขึ้น


ด้านสายตา ลูกจะหันมองแสง สี รูปร่าง และเสียงของวัตถุ เริ่มมองเพ่งไปที่โมบายที่แกว่งไปมา รวมทั้งจ้องใบหน้าคนอย่างมีจุดหมาย และในเดือนที่ 3 นี้ลูกสามารถมองรอบๆ ห้องได้อย่างเต็มตาแล้ว

พัฒนาการสำคัญที่เห็นชัดในทารกวัย 3 เดือนนี้ คือการใช้มือ กุมมือ จับมือ ตีมือ และจ้องมองมือตนเองมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าประสาทตาทำงานได้ดีขึ้นมากแล้วนั่นเอง บางครั้งถึงกับยิ้มคิกคักเมื่อจับมือตนเองได้ แต่หากลูกหยิบสิ่งของที่อยู่ในมือและหล่นไป หากรอแล้วของสิ่งนั้นไม่กลับมาอยู่ในมือ ลูกก็จะละเลยความสนใจนั้นไป ลูกจะไม่ชอบมองสิ่งซ้ำๆ และมองหาสิ่งแปลกใหม่หรือสะดุดตาอยู่เสมอ


พัฒนาการทางร่างกายที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                ควบคุมการทำงานของร่างกายดีขึ้น
                มองตามและหันตามของที่เคลื่อนไหว
                หากมีเสียงดังขึ้น จะหยุดดูดนิ้วหรือดูดนมและหันหาที่มาของเสียง
                รู้ความแตกต่างของเสียงพูดและเสียงชนิดอื่นๆ
                นอนคว่ำชันคอนาน แต่ชันอกได้ไม่กี่นาที
                ยกแขนทั้งคู่หรือขาทั้งคู่ได้
                เมื่อจับยืนขาจะยันพื้นได้ครู่เดียว
                นั่งพิงได้ ศีรษะเอนเล็กน้อย
                ตี คว้า ดึง สิ่งของเข้าหาตัวเอง
                เชื่อมโยงการเห็นและการเคลื่อนไหวได้
                นอนกลางคืนได้นาน 30 ชั่วโมง ตื่นช่วงกลางวันมากขึ้น



พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม
ลูกจะเข้าใจความพึงพอใจ เช่น ถ้าลูกเอามือเข้าปากแล้วจะรู้สึกพอใจ หรือการเอื้อมมือเข้าไปจับโมบายเพราะความพึงพอใจที่อยากจะทำ สามารถรอคอยได้ดีขึ้น เมื่อถึงเวลากินนมลูกจะอารมณ์ดี เพราะลูกจะรู้ว่าถึงช่วงเวลาแห่งความสุขแล้ว


พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจที่เด่นชัดในทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                หยุดร้องไห้ทันทีเมื่อเห็นหน้าคน
                ตอบโต้สิ่งเร้าแทบทุกชนิด
                ยิ้มง่ายและยิ้มทันที
                มีเหตุผลมากยิ่งขึ้น และสามารถรอคอยได้บ้าง



พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม
ลูกจะเข้าใจกิจวัตรประจำวันและเข้าใจพ่อแม่มากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกยังอ้อแอ้อยู่ก็จะใช้ภาษากายเข้าช่วย เช่น เมื่อแม่เอานมมาก็จะโผเข้าหา อ้าปากรอเพื่อดูดนม และเริ่มเรียกอ้อแอ้ให้คุณสนใจ หรือเลือกวิธีร้องไห้ให้คุณพาไปเดินเล่นข้างนอกแทน


ลูกจะติดต่อกับพ่อแม่ด้วยวิธีจ้องตา ทำเสียงอืออา แม้ว่าสักพักลูกจะมองไปทางอื่น แต่ก็จะกลับมามองหน้าพ่อแม่อีกครั้งพร้อมส่งเสียงเหมือนทักทายด้วย

พัฒนาการทางภาษาที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่

                เงี่ยหูฟังเสียงอื่นๆ
                พูดแบบอือออ อ้อแอ้ หรือเสียงในลำคอตอบรับการได้ยิน
                โต้ตอบคำพูดหรือรอยยิ้มของแม่
                แยกออกระหว่างเสียงต่างๆ และเสียงของแม่
                ใช้การร้องไห้เพื่อบอกความต้องการเป็นหลัก
                หันไปหาเสียงพูดหรือเสียงเพลง


พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม
ลูกจะชอบอยู่กับคนอื่นและไม่ชอบที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่คนเดียวหรือเล่นคนเดียวนานๆ ชอบเล่นกับพ่อแม่พี่น้อง และหวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะนำสิ่งใหม่ๆ มาให้ดู แต่เด็กบางคนมีบุคลิกเงียบเฉย เรียบร้อยก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ต้องการความสนใจ เด็กทุกคนล้วนต้องการการได้รับความสนใจและเป็นอันดับหนึ่งในใจพ่อแม่เสมอ


พัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                แสดงอารมณ์ด้วยสีหน้าถ้าเจอคนคุ้นเคยจะแสดงออกทั้งร่างกาย
                เรียกร้องความสนใจ
                ต่อต้านเมื่อต้องอยู่คนเดียว



พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม
คลื่นสมองของเด็กอายุ 3 เดือน มีลักษณะใกล้เคียงกับสมองผู้ใหญ่ จะเห็นได้ว่าลูกสามารถควบคุมร่างกายและการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นแล้ว


ลูกจะจดจำเสียงพ่อแม่ได้และสนใจเสียงต่างๆ พร้อมอยากรู้ที่มาของเสียงนั้นด้วย ลูกจะเรียนรู้ผ่านมือมากขึ้นโดยเรียนรู้จากการสัมผัส รูปร่าง ขนาดของสิ่งของ สมองจะแยกแยะความแตกต่างเก็บเป็นข้อมูลชีวิตในภายภาคหน้า ซึ่งจะตามมาด้วยหลักในการเรียนรู้เรื่องเหตุและผล ช่น เมื่อลูกร้องไห้และเมื่อได้ยินเสียงแม่เดินเข้ามาก็จะหยุดร้อง เพราะรู้ว่าสักพักก็จะได้กินนมแล้ว เป็นต้น

ช่วงเวลา 6 เดือนแรกนี้เป็นช่วงเวลาทองที่สภาพแวดล้อม พ่อ แม่ และคนใกล้ชิดมีอิทธิพลต่อลูกเป็นอย่างมาก ซึ่งคนใกล้ชิดควรช่วยดูแลลูกเติมเต็มความต้องการพื้นฐาน เช่น กินอื่ม นอนหลับ ขับถ่ายดี รวมทั้งการดูแลเรื่องการเรียนรู้ โดยสอนให้ลูกได้ลองสัมผัส ดมกลิ่น ชิมรส กับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวบ้าง เพราะสิ่งใหม่ๆ จะทำให้ลูกมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้โลกใบนี้และพัฒนาสมองได้อย่างดีด้วย


พัฒนาการทางสมองที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                รู้ความแตกต่างของใกล้และไกล
                สนใจสิ่งหนึ่งๆ ได้นานถึง 45 นาที
                เบื่อเสียงหรือสิ่งซ้ำๆ
                เรียนรู้ผ่านมือและการมองเห็น

เด็กทารกสื่อสารด้วยการร้องไห้


   ช่วงเวลาสำหรับคุณแม่มือใหม่ในการเลี้ยงทารกช่วงวัยเด็กอ่อน แรกเกิดถึงประมาณ 3 เดือน เป็นช่วงที่ต้องเตรียมรับมือกับเสียงร้องของลูกน้อยที่หนักหน่วงที่สุด โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่เด็กทารกต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกครรภ์ และกำลังอยู่ในช่วงที่ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายโดยเฉพาะระบบลำไส้และการย่อยอาหารกำลังปรับตัว พอเมื่อผ่านพ้นช่วงเดือนแรกไป การร้องของเด็กก็จะลดน้อยลงจนเข้าเดือนที่ 3 ลองมาดูกันค่ะว่าการร้องของเด็กทารกสื่อสารอะไรให้คุณแม่ทราบบ้าง


หนูร้องเพราะหิวนม เด็กทารกแต่ล่ะคนมีอุปนิสัยการกินแตกต่างกันทั้งในเรื่องของช่วงเวลาและปริมาณ เด็กบางคนกินนมตรงเวลาแล้วหลับยาวแต่เด็กบางคนกินทีล่ะน้อยแต่ตื่นมากินบ่อย เมื่อถึงเวลากินนมเด็กเริ่มหิวก็จะร้องให้คุณแม่ป้อนนม นอกจากการร้องเพราะหิวนมตามช่วงเวลาปกติแล้วในบางครั้งการร้องอาจเป็นเพราะทานนมไม่อิ่ม อาจเนื่องมาจากน้ำนมแม่มีไม่เพียงพอหรือเด็กเริ่มทานนมมากขึ้นตามช่วงอายุ ดังนั้นเพื่อให้เด็กหลับได้ยาวนานขึ้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตุว่ามีนมเพียงพอสำหรับลูกน้อยรึเปล่า หรือถ้าให้ดื่มนมขวด สามารถสังเกตุได้ว่าเมื่อเวลาที่ดูดจนหมดขวด เด็กจะพยายามดูดขวดเปล่าต่ออย่างเอาจริงเอาจังเสียง ดังจ๊วบ ๆ นั่นแปลว่าเขากินไม่อิ่มค่ะถ้าหลับไปเดี๋ยวก็ตื่นขึ้นมาร้องกินนมอีก

หนูเหนื่อยอยากนอนแล้ว เด็กทารกพออ่อนเพลียและเริ่มง่วงนอนจะเริ่มงอแงและต้องแสดงพลังเฮือกสุดท้ายคือการร้องไห้ออกมา คุณแม่อาจลองให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กสบายตัวและวางลงปล่อยให้เขาร้องหลับไปเอง แต่ถ้าเด็กยังร้องไห้ไม่ยอมหลับ การอุ้มขึ้นมากล่อมให้เขาสงบลงและผล๊อยหลับในอ้อมอกแม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งค่ะ


ผ้าอ้อมหนูเลอะ ความเปียกชื้นจากฉี่หรืออึทำให้เด็กทารกรู้สึกไม่สบายตัวและร้องบอกคุณแม่ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูหน่อยจ้าาา

หนูยังไม่ชินกับโลกภายนอก โดยเฉพาะเด็กอ่อนในช่วงแรกเกิด-1เดือนยังปรับตัวได้ไม่ดีในสภาพแวดล้อมนอกครรภ์ของคุณแม่ การร้องของเด็กในบางครั้งก็ไม่ใช่เพราะหิวนม ไม่สบายตัว หรือป่วยแต่เป็นเพราะเขายังปรับตัวได้ไม่ดีกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีเสียงอึกทึก แขนขาเคว้งคว้างไปในอากาศ(จากที่เคยขดอยู่ในท่าเดียวตลอด 9 เดือนในครรภ์แม่) เสียงภายนอกก็อึกทึกไม่เหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ หรือแสงสว่างจ้าที่เข้ามาแยงตา หากสาเหตุการร้องเป็นเพราะความไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ การอุ้มเด็กขึ้นมากระชับในอ้อมอกแม่จะช่วยให้เด็กรู้สึกถึงความมั่นคงปลอดภัย(ได้ขดตัวอยู่ในอ้อมอกแม่เสมือนอยู่ในครรภ์)
สำหรับการปรับสภาพแวดล้อมภายในห้อง ลดแสงสว่าง เปิดเครื่องดูดฝุ่นเบา ๆ (เลียนเสียงเหมือนตอนอยู่ในน้ำคร่ำในครรภ์แม่) รวมถึงการพันผ้าห่อตัวเด็กในช่วงเวลานอน สามารถช่วยให้เด็กสงบลงและหยุดร้องและนอนได้นานขึ้น



หนูท้องอืด อาการท้องอืดมีลมในกระเพาะจะเป็นมากในช่วงเด็กอ่อนแรกเกิด-2 เดือน เนื่องจากระบบลำไส้และการย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เด็กจะร้องไห้งอแงเพราะแน่นท้องรู้สึกไม่สบายตัว ปกติหลังกินนมคุณแม่ควรอุ้มเด็กพาดบ่าให้เรอออกเพื่อให้เด็กสบายตัว การทามหาหิงส์หรือให้ทานยาแก้ท้องอืด(ควรปรึกษาแพทย์) สามรถช่วยลดอาการท้องอืดในเด็กได้ และคุณแม่ควรสังเกตุการถ่ายของเด็กหากไม่ได้ถ่ายเป็นเวลา 2-3 วันเด็กก็จะมีอาการแน่นท้องเช่นกันค่ะ

หนูนอนไม่หลับ เด็กแต่ล่ะคนก็มีนิสัยการนอนแตกต่างกันบางคนนอนยาวแต่เด็กบางคนก็มักจะตื่นมาร้องกวนได้หลาย ๆ ครั้งกลางดึกทั้งที่ไม่ได้หิวนม สำหรับคำแนะนำโดยเฉพาะเด็กทารกในช่วงเดือนแรกที่ชอบตื่นมาร้องกวนอาจมีสาเหตุมาจากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกยังทำได้ไม่ดี เนื่องจากต้องนอนในพื้นที่กว้าง ๆ ต่างกับตอนอยู่ในครรภ์ที่ได้นอนคุดคู้ขดตัวในพื้นที่แคบ ๆ เวลาตื่นมากลางดึกแขนขาก็จะรู้สึกเคว้งคว้างในอากาศ และยากที่จะนอนหลับต่อได้ การห่อตัวเด็กในเวลานอนโดยเฉพาะกับเด็กทารกในช่วงเดือนแรกสามารถช่วยลดการร้องกวนลงได้เนื่องจากการห่อตัวเสมือนว่าเด็กได้นอนขดแขนขาแนบชิดอยู่ในครรภ์

หนูป่วย เด็กทารกร้องเนื่องจากอาการป่วยมีไข้ตัวร้อน มีน้ำมูก คุณแม่สามารถสังเกตุอาการได้ง่าย แต่หากเด็กแผดร้องเสียงดังโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ(โดยที่เด็กไม่ได้มีอาการโคลิค)และคุณแม่ได้ทำทุกวิถีทางแล้ว คุณแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยค่ะเพราะอาจเป็นอาการป่วยภายในที่เราไม่ทราบได้


หนูเป็นโคลิค "อาการเด็กร้องโคลิค"มักเกิดในเด็กอ่อนพบมากในช่วงปลาย ๆ เดือนแรก และเด็กจะร้องต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน(ชาวบ้านมักเรียกอาการโคลิคว่า เด็กร้อง 3 เดือน) ลักษณะอาการเด็กจะแผดเสียงร้องจ้าเหมือนเจ็บปวดอยู่นานหลายนาทีเด็กบางคนร้องนานเป็นชั่วโมง และจะร้องในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันทุกวันและหยุดร้องไปเอง พอหยุดร้องเด็กก็จะกลับมาอารมณ์ดีเหมือนเดิมกินนมได้ตามปกติ สำหรับอาการเด็กที่เป็นโคลิคในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวกับระบบการการย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นอาการโคลิคก็จะหายไปเอง สำหรับการรับมือกับเด็กที่มีอาการโคลิคติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ

การนอนของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 3 เดือน

    ถ้าเราจะกล่าวในเรื่องของกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมที่ทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนั้นพึงกระทำได้นั่น ต้องบอกว่ามีแค่สอง สาม อย่างเท่านั้นเอง คือ การร้องไห้ เมื่อต้องการที่จะสื่อสารหรือบอกในส่วนของอารมณ์ความรู้สึกในตอนนั้น อาจจะรู้สึกไม่สบายตัว หิว หรือมดกัด หรือกิน เพราะลูกน้อยต้องการนมจากคุณแม่อีกทั้งในวัยนี้ก็กินได้แค่นมเท่านั้น และสุดท้าย คือการนอน ซึ่งต้องบอกเลยว่าการนอนของลูกน้อยนั้น ถือว่าเป็นกิจกรรมหรือกิจวัตรหลักๆเลยที่ลูกน้อยทำทุกวัน ก็แม้แต่คนเราโตแล้วยังต้องการเวลาพักผ่อนเลย จริงหรือไม่ ดังนั้นการนอนจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของการนอนของทารกกันดีกว่า โดยเราจะมุ่งเน้นไปในโซนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน ว่าแต่มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน คือ

ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง อาจจะเกิดข้อสงสัยมาว่า ทำไมต้องนอนหงายกับนอนตะแคงละ นอนคว่ำไม่ได้หรอ ถ้าเอาแต่นอนหงาย ศีรษะลูกน้อยไม่สวยกันพอดี หากจับนอนคว่ำแล้ว ศีรษะหรือรูปทรงของหัวลูกน้อยก็จะทุย กลม มน สวยงาม เรามีคำตอบกัน “ที่แนะนำว่า ท่านอนที่เหมาะสมที่สุดของทารกแรกเกิด – 3 เดือนนั้นคือ ท่านอนหงายกับนอนตะแคงก็เพราะว่า ทารกในวัยแรกเกิด ต้องบอกว่าทารกแรกเกิด – 3 เดือนนี้ก็ยังถือว่าเป็นวัยแรกเกิด คุณพ่อคุณอย่าเพิ่งคาดหวังในเรื่องของคอที่จะแข็ง ต้องบอกว่าทารกในช่วงนี้นั้น ช่วงคอของเขายังอ่อนไหวมากนัก อีกทั้งตัวของลูกน้อยเองก็ยังไม่มีความสามารถพอที่จะสามารถชันคอได้ ดังนั้นด้วยที่เขายังไม่สามารถที่จะใช้แรงเกร็งคอ และชันคอได้ท่านอนหงายกับตะแคงจึงเหมาะที่สุด เพราะถ้าหากทารกแรกเกิดนั้นนอนคว่ำ เขาไม่สามารถที่จะชันคอได้ คอไม่แข็ง อาจจะทำให้การหายใจของลูกน้อยนั้นลำบาก อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะที่สุดแสนจะอันตรายที่มี ชื่อว่า SIDS  (Sudden Infant Death Syndrome) หรือการหยุดหายใจไปชั่วขณะ หรือที่ชาวบ้านอย่างเราๆเรียกกันว่า โรคไหลตายในเด็กนั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าอันตรายมาก มากจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นหากไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิดแนะนำอย่าให้ลูกน้อยในวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้นอนคว่ำเด็ดขาด หรือทางที่ดีเลี่ยงไปเลยดีที่สุด”

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะว่า “การนอนหงายและนอนตะแคงมีประโยชน์ต่อลูกน้อยในเรื่องของพัฒนาการการเรียนรู้ด้วยนะ” ทั้งนี้เพราะว่าการนอนคว่ำนั้นนอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไหลตายในเด็กแล้ว ยังปิดกั้นในการเรียนของลูกน้อยด้วย เพราะทารกน้อยจะมองไม่เห็น กลายเป็นคนไม่ช่างสังเกต ดังนั้นให้เขานอนหงายและนอนตะแคงจะดีกว่า เพราะว่าพวกเขายังสามารถที่จะเอียงคอมองไปในสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ อีกทั้งยังมีการสรุปอีกว่า เด็กที่ตอนเด็กๆพ่อแม่ให้นอนคว่ำบ่อยครั้ง มักจะเป็นคนไม่ช่างสังเกต เมื่อเทียบกับเด็กที่นอนหงายและนอนตะแคงนั่นเอง”
ช่วงเวลาของการนอนที่มีระบบ ระเบียบขึ้นมาอีกนิดหนึ่งของลูกน้อยหรือทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน

ต้องขอย้ำคำนี้เลยจริงๆกับระบบ ระเบียบการนอนของหนูน้อยที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาอีกสักนิดหนึ่ง ที่เราบอกว่าเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยจะเริ่มนอนกลางคืนมากขึ้นและนอนกลางวันน้อยลงนั้นเองนั่นคือในช่วง 2 เดือนแรกของลูกน้อยนั้นจะนอนมากสักนิดหนึ่งคือประมาณวันละ 17-18 ชั่วโมงแต่เมื่อลูกน้อยอายุย่างเข้าประมาณ 3 เดือนลูกน้อยจะมีความต้องการในเรื่องของเวลาการนอนลดลงประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นและด้วยเหตุนี้เองก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องดีมากๆเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายได้นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นในช่วงเดือนแรกของทารกนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณนั้นหลับได้สบายและยาวนานมากขึ้น โดยกระทำได้โดยการให้คุณแม่ห่อตัวลูก หรือวางผ้าไว้ที่หน้าอก หรือหลังของลูก ทั้งนี้ที่ทำแบบนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้สึก ให้ลูกรู้สึกว่าปลอดภัยและอบอุ่น และเมื่อลูกอาบน้ำแล้ว อีกทั้งยังได้ทานนมจนอิ่ม ก็จะเรื่องปกติที่เขาจะหลับได้โดยง่าย อีกทั้งเคล็ดลับสำคัญ ทดสอบเสียง ร้องเพลงกล่อมลูกกันดีกว่า เพื่อสร้างความผ่อนคลายนั่นเอง หรือคุณพ่อจะมาช่วยอีกแรงก็ได้

ขอเสริมอีกสักนิดว่า หากลูกน้อยของคุณนั้นอาจจะมีบางอาการหรือลักษณะที่ไม่เหมือนเด็กคนอื่น เช่น นอนน้อยตื่นบ่อย อย่าตกใจไปถ้าหากลูกยังร่าเริง น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์  ดื่มนมได้เป็นปกติ เพราะว่าเดี๋ยวเขาก็สามารถปรับตัวได้ปกติเอง

ดังนั้นในส่วนของการนอนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้จะให้สรุปง่ายๆคือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะใส่ใจในเรื่องของท่านอนที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะวัยนี้คอของลูกน้อยหรือทารกนั้นยังอ่อนอยู่มากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่าให้นอนคว่ำเพราะอาจจะจะไหลตายได้ อีกทั้งการนอนหงายและนอนคว่ำยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการเรียนรู้ได้อีกด้วย และสุดท้ายการนอนของลูกจะดีและผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่เขินอาย มาร้องเพลงกล่อมลูกน้อยกันดีกว่า

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

โดยปกติแล้วเด็กเล็กที่ยังทานนมแม่อยู่จะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มให้ลูกกินอาหารเสริม เด็กบางคนอาจจะไม่ถ่ายหลายวัน เรามาทำความเข้าใจกับอาการท้องผูกนี้กันดีกว่า


ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก
ทารกที่ยังดื่มนมแม่อยู่มักถ่ายหลายรอบต่อวันโดยเฉพาะในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกหลังลืมตาออกมาดูโลก และอาจจะลดความถี่ของการขับถ่ายมาเป็น 2-3 ต่อสัปดาห์ พอเข้าสู่เดือนที่ 4-6 หลายคนจะเริ่มให้ทารกกินอาหารเสริม แม้ว่าคุณจะเริ่มให้ลูกกินอาหารเหลวและนิ่มสำหรับทารกก็ตาม คุณอาจจะสังเกตได้ว่าเวลาที่ลูกคุณถ่ายอาจจะมีการเบ่งอุจจาระหรือสัญญาณอื่น ๆ ที่กำลังบอกว่าลูกกำลังถ่ายอยู่
สำหรับทารกที่ทานนมผสมอาจจะมีอุจจาระที่แข็งกว่าและขับถ่ายไม่คล่องเท่า เด็กทารกที่กินนมแม่ อาจจะถ่ายทุก ๆ 3-4 วัน ลักษณะการขับถ่ายแบบนี้ไม่ถือว่าผิดปกติหรอกค่ะ หากอุจจาระไม่แข็งเป็นเม็ดคล้าย ๆ กระสุน อาการท้องผูกเกิดจากอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ยิ่งอุจจาระค้างอยู่นานเท่าไหร่อุจจาระก็จะยิ่งแห้งและแข็งนานมากขึ้น

ท้องผูกมีอาการอย่างไร

เด็กแรกเกิดถึงสามเดือนมักไม่ค่อยมีอาการท้องผูกสักเท่าไหร่ แม่ว่าคุณจะให้นมผสมก็ตาม เด็กบางคนทำท่าและสีหน้าเบ่งอุจจาระแม้ว่าจะไม่ใช่อุจจาระที่แข็งก็ตาม บางคนก็ร้องไห้เหมือนเจ็บก้นไม่สบายตัว ลองสอบถามคุณหมอดูหากว่าลูกของคุณถ่ายแข็งและถ่ายน้อยกว่าวันละครั้งในช่วง แรกเกิดเพราะนั่นคืออาการท้องผูกนั่นเอง

แต่สำหรับเด็กอายุ 4 เดือนขึ้นไปให้สังเกตอาการเหล่านี้
  • ปวดท้องและท้องอืด
  • ท้องแข็ง
  • ปวดท้องแต่หายปวดหลังขับถ่าย
  • มีเลือดออกติดก้อนอุจจาระ เนื่องจากอุจจาระแข็งและทำให้เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักฉีกขาด
  • อุจจาระมีลักษณะคล้ายกระสุน
ทำไมถึงท้องผูก
สาเหตุที่ท้องผูกเนื่องจากลูกอาจจะดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่ถ้าลูกเป็นเรื้อรังไม่หายสักทีต้องลองปรึกษาแพทย์ดูค่ะ
วิธีบรรเทาอาการท้องผูก
ในกรณีที่เป็นเด็กทารก คุณควรปรึกษาหมอก่อนเป็นอย่างแรก แต่ถ้าลูกเริ่มกินอาหารเสริมแล้วคุณสามารถเติมเนื้อลูกพรุนบดหรือน้ำลูกพรุน 2 ช้อนชาลงไปในอาหารธัญพืชของลูกได้ นอกจากนี้คุณอาจจะเพิ่มใยอาหารจากผลไม้และผักให้ลูกกินก็ได้ค่ะ
  • คุณอาจจะลองให้ลูกปั่นจักรยานอากาศเพื่อช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานดีขึ้น
  • อาหารบางอย่างก็สามารถทำให้ลูกท้องผูกได้ เช่น ข้าว ซีเรียล กล้วย

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ
ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ บี


ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ >> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่) เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ >>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ >>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ **เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ** สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ :) บี (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

การขับถ่ายของเด็กทารก 0-1 ปี

ธรรมชาติการขับถ่ายของทางรกวัย 0-1 ปี
เด็กทารกที่กินนมแม่มักมีระบบย่อยอาหารที่ดี ย่อยง่าย ถ่ายคล่อง โดยเฉพาะน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) หรือหัวน้ำนม ที่เป็นสุดยอดของอาหารสำหรับทารกแรกเกิดนั้น จะมากไปด้วยภูมิคุ้มกัน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน ซึ่งทั้งหมดล้วนไปช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงช่วยขับ “ขี้เทา” ซึ่งเป็นอึชุดแรกของลูกที่มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำที่จะอึออกมาใน 2-3 วันแรก แถมยังช่วยจับสารตัวเหลือง บิลิลูบิน (Billirubin) ออกมาทิ้งพร้อมกับอึกองโต ป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเกินไปอีกด้วย

การขับถ่ายของทารก

อึ 7 วันแรกของทารก
อึของเด็กแรกเกิดมักบอกสุขภาพและความสมบูรณ์ของเด็กได้ เช่น เด็กที่คลอดครบกำหนดก็มักจะแข็งแรงขับขี้เทาออกมาได้ตามเวลา และกินเก่งเพราะถ่ายออกไปมาก น้ำนมแม่เลยพามีมากตามการดูดของลูก เข้าข่ายแข็งแรงมาก กินมาก ถ่ายมาก


อึตามอายุของลูกใน 7 วันแรก

อายุ (วัน)     จำนวนครั้ง     วันสีของน้ำนม     สีอึ     ลักษณะ
0-1     1-2 ครั้ง     หัวน้ำนมสีส้มเหลือง     ขี้เทาสีเขียวเข้มเกือบดำ     เหนียวข้นมาก
2-3     2 ครั้ง     หัวน้ำนม มีสีขาวขุ่นปนมากขึ้น     ขี้เทาปนเหลือง     มีอึสีเหลืองนิ่มปนเหนียวข้นน้อยลง
3-4     3 ครั้ง     สีขาวขุ่น Transition     เหลือง     อึเป็นเนื้อเละ เนียน
7     3-4 ครั้ง     สีขาวอมฟ้า True milk     เหลือง     อึเป็นเนื้อ เละ เนียน


เมื่อลูกอายุประมาณ 1 เดือนจึงจะเริ่มอึเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่ทารกหลายคนที่กินนมแม่อาจจะมีบางคนที่อึแบบวันเว้นวัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อาจจะทำให้ลูกแน่อนท้อง ไม่สลบายตัว คุณแม่อาจจะต้องมีเครื่องมือช่วยให้จำวันที่ลูกอึหรือระยะความถี่ห่างการอึของลูกได้ อาจทำเป็นตารางจดบันทึกไว้ง่ายๆ ด้วยการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้


สีอึบอกอะไร

                อึสีเหลืองปนเขียว - มักเกิดจากการดูดนมที่ท่าดูดทำให้หัวนมยืดไม่ดี ทำให้กลไกน้ำนมพุ่งออกมาน้อย (Let down's reflex) ลองแก้ไขท่าดูดโดยให้ลูกอมลึกถึงลานนม จะช่วยให้น้ำนมพุ่งดีขึ้น
                อึมีมูกปน – อาจมาจากน้ำมูกที่ลูกกลืนลงไปปนออกมากับอึ
                อึมีเลือดปน - ลูกอาจมีแผลที่ร่องก้น หรือเกิดจากอาการแพ้โปรตีนในอาหารของแม่หรือลูก หรืออาจมีเลือดออกจากลำไส้ อึลักษณะนี้คุณแม่ต้องดูให้ละเอียดหน่อย
                อึมีน้ำปนมาก - มักพบในกรณีที่คุณแม่กินยาปฏิชีวนะ จึงทำให้ลูกอาจมีอาการถ่ายเหลว

ข้อควรสังเกต

                เด็กเกิดครบกำหนดถ้าผ่านไป 4-5 วันแล้วยังถ่ายเป็นขี้เทา แสดงว่ากินนมแม่ไม่เพียงพอ หรือกินไม่ถูกวิธีทำให้ไม่ได้น้ำนม ต้องมีการแก้ไขเรื่องวิธีการดูดนมแม่ ด้วยการจัดท่า และการดูดกลืนน้ำนม
                การที่อึลูกเป็นสีเขียวมักเกิดจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอาหารที่แม่กินเข้าไป ซึ่งรู้อย่างนี้แล้วคุณแม่คงต้องระมัดระวังและเลือกรับประทานสักหน่อย

เด็กที่กินนมแม่อาหารทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ และเหลือเป็นกากอาหารเพื่อขับถ่ายเพียงเล็กน้อย ลูกจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจถ่ายแค่ 2-3 ครั้งในสัปดาห์ ถ้าลูกกินอิ่มนอนหลับ ร่าเริงดี ไม่งอแงเพราะอึดอัด น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งในหนึ่งวันแสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล

ปัญหาท้องผูกในทารก

ช่วงอายุที่มักจะท้องผูกมากที่สุดคือประมาณ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งสาเหตุแตกต่างกันไป และการท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น เด็กบางคนถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง ไม่ชอบกินผักและผลไม้ และที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาลคือห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย เป็นต้น แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนน้อยที่มีอาการท้องผูกจากโรคร้ายแรง เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคของไขสันหลัง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น

                ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมาก
                อุจจาระแข็ง อาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือก้อนใหญ่ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย
                บางครั้งจะมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ทำให้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายแต่ละครั้ง

วิธีแก้ปัญหาทารกท้องผูก

                ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ เช่น ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรดื่มน้ำประมาณวันละ 4 ออนซ์ การผสมนมต้องเติมน้ำให้ถูกอัตราส่วน แต่ถ้าลูกอายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้น้ำผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะ
                ให้ลูกมีเวลานั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที ซึ่งช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสำหรับนั่งถ่ายคือ หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว และอาจช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น เวลานั่งถ่ายไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่น เพราะเขาจะไม่ตั้งใจหรือพยายามเบ่งถ่ายอุจจาระ

ลูกขี้แยชอบร้องไห้

เด็กๆ ยังพูดไม่ค่อยเก่งค่ะ ก็เข้าใจค่ะว่า ส่วนใหญ่ถ้าเด็กๆ ต้องการจะบอกอะไร ก็จะใช้การร้องไห้นี่แหละบอกนำไปก่อน แต่ถ้าโดนนี่นิดก็ร้องถูกนั่นหน่อยก็ร้องอีกแล้ว แบบนี้ลูกเข้าข่ายเป็นเด็กขี้แยหรือเปล่าเนี้ยะ...!!!



แบบไหนถึงเรียกว่า เป็นเด็กขี้แย


ร้องไห้เก่ง นี่ล่ะ อาการเริ่มต้นแล้วล่ะค่ะ ไม่พอใจนิดหรืออยากได้อะไรก็จะร้องไห้นำไปก่อนเลย นี่ยังไม่รวมถึงพอได้ยินเสียงดังเข้าหน่อยก็ร้องไห้แล้วด้วยนะคะ

ชอบเรียกร้องความสนใจ สังเกตง่ายๆ ค่ะ บางทีร้องไห้ไม่มีน้ำตาหรอกค่ะ ร้องแต่เสียง พอคุณแม่เดินมาหา หรือทำอะไรที่ลูกอยากให้ทำก็หยุดร้องไปเสียเฉยๆ

ขี้น้อยใจ ตามมาติดๆ กับอาการขี้น้อยใจ ชอบคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บมาน้อยใจ หรือถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียวนานไปก็อาจจะทำให้น้อยใจได้

อ่อนไหวง่ายมาก ถ้า ลูกไม่เห็นคุณแม่หลังจากที่เขาตื่นนอน บางทีอาจจะทำให้ลูกน้อยใจจนร้องไห้ออกมาได้ค่ะ อาการอ่อนไหวง่ายๆ นี่ อาจจะทำให้ลูกเป็นเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองได้ค่ะ


จัดการอย่างไรกับลูกขี้แย

ใช้วิธีอื่นแทนการตำหนิ ถ้าลูกขี้แยขี้น้อยใจนี่ ถ้าจะบอกจะสอนอะไรให้หลีกเลี่ยงการใช้คำตำหนิ เพราะการตำหนิจะยิ่งทำให้ลูกคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บไว้น้อยใจต่ออีก แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกร้องไห้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ใช้ไม้อ่อน ถ้าจะ พูดจะบอกอะไรขอให้เลือกใช้ไม้อ่อนไว้ก่อนค่ะ ใช้การปลอบโยน น้ำเสียงที่นุ่มนวล ใช้วิธีให้กำลังใจ เพื่อลูกจะได้พยายามทำอะไรด้วยตัวเองเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

ให้ความสนใจ แต่ไม่มากจนกลายเป็นการตามใจลูกไป เป็นเรื่องปกติค่ะที่เด็กๆ มักจะเรียกร้องความสนใจจากพ่อกับแม่ แต่ถ้าคุณแม่ตามใจทุกครั้งอาจจะทำลูกมีนิสัยที่เอาต่าใจได้ค่ะ

ให้ความอบอุ่น บาง ครั้งเด็กๆ ร้องไห้ เพราะเขารู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองค่ะ การกอดลูกบ่อยๆ ช่วยได้มากค่ะ นอกจะทำให้รู้สึกอบอุ่นแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกมีกำลังใจขึ้นด้วยค่ะ

วิธีจัดการเด็กแรกเกิดงอแง

เป็นธรรมดาค่ะ
 ตอนแรกคลอดร้องอยู่ตั้งหลายชั่วโมง ไอ้เรารึเหนื่อยหลับแบบสลบเป็นตาย พอตื่นขึ้นมาก็ยังได้ยินเสียงเค้าร้องจากห้องดูแลทารก ก็เลยบอกพยาบาลว่าพาเค้ามาให้ด้วย

ก็เอาเค้ามานอนข้าง ๆ บนเตียงที่มีที่กั้น พยายามให้นมด้วย แล้วเค้าก็หลับไป ไม่แน่ใจว่าร้องมาจนเหนื่อยแล้วหรือว่าเป็นเพราะมาอยู่กับแม่ กอดกันกลมเชียว

อีกอย่างนึง อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ภายนอกที่เค้ายังไม่ชิน ต้องกอดเค้าไว้ ให้รู้สึกเหมือนกับว่ายังอยู่ในพุง โดยเฉพาะถ้าเอาเค้ามานอนบนตัวเรานะ หลับสบายทีเดียว-ลูกลับนะ ไม่ใช่แม่หลับ

ใจ เย็น ๆ ค่ะ ปรกติแล้ว เด็กกับการร้องไห้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเปียก, หิว, ไม่สบายตัวก็จะร้อง เค้าไม่สามารถจะสื่อสารด้วยวิธีอื่นได้ นอกจากการร้อง

ถ้า เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ แม่จะต้องระวังเรื่องอาหารที่ทานเข้าไปด้วย เพราะจะมีผลโดยตรงกับเค้าที่ทานนมเรา ตอนแรกก็ไม่เชื่อหรอก แม่บอกก็ยังไม่เชื่อ ต้องเจอกับตัวเองจึงพูดไม่ออก อาหารรสจัด ๆ จะทำให้ลูกปวดท้องแล้วก็ร้องไม่หยุดไม่หย่อนทีเดียว

มื่อลูกงอแง - สาเหตุ 7 ประการที่ทำให้ลูกร้องไห้ และทำอย่างไรให้เขาหยุดร้อง

เรามาดูกันค่ะว่าเราว่าสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้นั้น มีอะไรบ้าง และจะช่วยแก้ไขอย่างไรดี

ร้องเพราะหิว
สัญญาณที่ทำให้คุณเรียนรู้ได้จากการร้องเสียงดังของลูกคุณก็คือ เขาต้องการกิน ถ้าคุณอุ้มเขาขึ้นมาให้นม
แล้วคุณสังเกตดูว่าเขาร้องหลังให้นม นั่นแสดงว่าเขาร้องเพราะหิว
หรือไม่บางครั้งเด็กอาจร้องเพราะให้นมมื้อก่อนน้อยไปซึ่งแน่นอนที่เดียวเขาจะตื่นเร็ว และร้องเพราะเขาหิว
ถ้าคุณให้นมเขาเพิ่มเมื่อเขาอิ่มแล้วเขาจะหยุดร้องแล้วก็หลับไป

ร้องเพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะต้องการเปลี่ยน
เด็กแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อการเปียกแฉะของผ้าอ้อมต่างกัน
เด็กบางคนจะร้องให้เปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อเขาปัสสาวะออกมาสักพัก เนื่องจากว่าตอนที่เขาปัสสาวะออกมาใหม่ ๆ จะยังไม่รู้สึกเย็น
แต่พอทิ้งไว้และปัสสาวะเริ่มระเหยไปในอากาศ เขาจะเริ่มรู้สึกเย็นขึ้นและเริ่มร้องไห้
แต่ในขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจจะรู้สึกเย็นสบายเมื่อปัสสาวะออกมาและไม่ร้องกวนให้เปลี่ยนผ้าอ้อมก็ได้ค่ะ

ร้องเมื่อรู้สึกร้อน หรือหนาว
เด็กแรกเกิดชอบการห่อหุ้มเพื่อความอบอุ่นเสมือนอยู่ในท้องแม่ ถ้าคุณปล่อยให้เขาเปลือยกายนานๆ
ไม่ ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเสื้อผ้าเขาหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กแรกเกิดนั้นยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่นี้ไม่ทัน เขาจะรู้สึกหนาวและร้องไห้ได้
ดังนั้นคุณควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมโดยเร็วอย่าปล่อยให้เขาเปลือยเปล่าอยู่กับอากาศเย็นเป็นเวลานาน ๆ

ร้องเพราะอยากให้อุ้ม
เด็กที่ต้องการความอบอุ่นจากแม่จะร้องให้อุ้ม การกอด จูบ ลูบไล้ การได้มอง ได้ยิน ได้จับสัมผัส จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัย
การอุ้มประคองจากพ่อแม่จึงดียิ่งกว่ายาวิเศษขนานใด ฉะนั้นเมื่อลูกร้อง คุณควรอุ้มเขา กอดเขาไว้
สัมผัสนี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการพัฒนาของเซลล์สมองและแน่นอนการเพิ่มจำนวนเซลล์ย่อมเพิ่มความสามารถและความฉลาด
และยังสมารถกระตุ้นให้ลูกเป็นเด็กดี และมีสุขได้

ร้องเพราะเพลียเหนื่อยล้า
คุณพ่อคุณแม่บางคน ชอบเล่นกับลูกตลอดเวลาจนเรียกว่ามีอาการขี้เห่อ คือไม่ให้ลูกได้ว่างเอาเสียเลย เพราะเด็กน่ารักน่าเอ็นดู
ซึ่งอาจทำให้หนูน้อยเพลีย และหงุดหงิดง่าย ๆ ความจริงเด็กแรกเกิดไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก การกอดจูบบ่อย ๆ ไม่ควรทำ
เพราะเด็กแรกเกิดจะยังอยู่ในช่วงที่บอบบาง ถ้าเราเจ็บป่วยจะนำไปยังเด็กได้ เด็กบางคนร้องลั่นแล้วเสียงค่อย ๆ เบาลงและหลับไป
แสดงว่าเขาเพลียและรำคาญที่พวกผู้ใหญ่ไปวุ่นวายกับเขามาก

ร้องเพราะรู้สึกไม่สบาย
คุณแม่ควรหมั่นตรวจเช็คความสมบูรณ์ของลูกอยู่เสมอ ถ้าลูกมีอาการที่ดูผิดปกติเช่น หงุดหงิด ซึม อ่อนเพลีย
ร้อง กวนอย่างกระวนกระวายอยู่ไม่สุข ซึ่งอาจจะมีไข้ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำยิ่งถ้าวัดอุณหภูมิในร่างกายแล้วพบว่า เกิน 38 Co ยิ่งต้องรีบพามาพบแพทย์ เพราะเด็กช่วยอายุ 1-2 ปี แม้จะมีโรคติดเชื้อเล็กน้อยก็มีไข้สูงได้

ต้องการการห่อหุ้มและอุ้มไว้
เด็กแรกเกิดรู้สึกคุ้นเคยกับความอบอุ่นมาจากในครรภ์ของแม่ ให้คุณลองห่อผ้าให้กระชับและอุ้มเขาขึ้นพาดบ่าของคุณ จะรู้สึกได้เลย
ว่าเขาจะหดแขนขากอดรัดคุณเพื่อค้นหาความอบอุ่นจากอกแม่ จะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้นและร้องน้อยลง


เราจะให้เขาหยุดร้องได้อย่างไร

ให้ฟังเพลง
เด็กคุ้นเคยกับเสียงหัวใจเต้นของแม่มาตั้งแต่อยู่ในท้อง
เพราะฉะนั้นถ้าอุ้มลูกน้อยแนบอกแม่ให้ชิดตรงตำแหน่งที่เป็นหัวใจแม่ ลูกจะร้องน้อยลง นอกจากนี้ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อเสียงดนตรีได้ดี
ทั้ง นี้อาจเพราะเสียงจังหวะดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบใด คลาสสิค แจ๊ส ร็อค มักมีจังหวะตี ซึ่งเป็นจำนวนที่พอ ๆ กับเสียงหัวใจเต้นของคนพอดี

การเคลื่อนที่
เด็กบางคนชอบให้อุ้มแค่นั้นก็พอแล้วเขาก็จะเงียบไปเอง แต่บางครั้งเด็กชอบให้อุ้มโยกตัวไปมาบนเก้าอี้โยก หรือไกวเปลไปมาเบาๆ
ซึ่ง พอๆ กับจังหวะการเต้นของหัวไจ 60-100 ครั้ง/นาที เด็กจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับจังหวะนั้นคล้ายจังหวะที่ลูกเคยได้ยินตอนที่ อยู่ในท้องแม่
ซึ่งเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจแม่

ลูบท้องอย่างแผ่วเบา
การลูบท้อง หรือหลังอย่างแผ่วเบาจะทำให้เด็กเรอออกมาหรือผายลม จะทำให้ลูกรู้สึกสะบาย ควรยึดถือปฏิบัติหลังจากลูกดื่มนมทุกมื้อ
เพราะเป็นการไล่ลมที่เต็มกระเพาะหลังจากลูกดื่มนมเสร็จแล้ว มิฉะนั้นแก จะเกิดอาการจุกเสียดไม่ยอมนอนได้

การให้นมลูก
คุณแม่ควรจัดท่าในการให้นมลูกที่สบายที่สุด พร้อมทั้งการทรงตัวของลูกน้อยให้ผ่อนคลาย
เมื่อให้นมเขาอิ่มแล้วเขาจะหลับไปควรนวดตามแขนขา และนิ้วอย่างแผ่วเบาจะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้น เมื่อคุณให้นมลูกนานพอควรจนรู้ใจกัน
คุณจะแปลกใจในการไหลของนม เช่นพอลูกเริ่มร้องเมื่อถึงเวลาให้นม น้ำนมคุณก็จะไหลออกมาเอง

สุดท้ายนี้ขอให้อย่าลืมใส่ใจกับตัวเองบ้าง
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่เหนื่อยยากและวิตกกังวล ซึ่งไม่ใช่การเจ็บป่วยของลูกแต่เด็กปกติดี

ถ้าคุณแม่อดทนรอจนครบ 3 เดือน เด็กที่ร้องมาก ๆ คุณแม่ไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก คุณควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง หางานอดิเรกทำ เช่น
- ออกไปเดินเล่น คุยกับเพื่อนบ้าน หรือญาติใกล้ ๆ บ้าง
- ผลัดเวรกันดูแลกับคุณพ่อ อาจจะให้คุณพ่อช่วยเห่กล่อม ส่วนคุณแม่ก็ไปเปิดสมอง
- ทำใจให้สบาย ปลดปล่อยอารมณ์ที่ต้องทนกับการฟังเสียงลูกร้องบ้าง สุขภาพจิตจะได้ดีขึ้น

ที่มา http://www.dumex.co.th/forums_and_friends/mums_stories/not-so-cute_baby_behaviour/story/Story_50


ทำไมทารกร้องไห้โยเย

             ไม่มีอะไรซับซ้อน ทารกร้องไห้โยเยด้วยสาเหตุเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เขารู้สึกเจ็บปวด (ไม่ทางกายก็ทางใจ) หรือเขาต้องการอะไรบางอย่าง การร้องไห้มีมากมายหลายแบบ เช่น ทารกที่ร้องไห้เพราะอยากให้อุ้ม เราสามารถปลอบเขาให้เงียบได้ง่ายตราบเท่าที่ยังมีคนอุ้มเขาอยู่ ส่วนทารกที่ร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บปวด อาจจะร้องไห้งอแงและไม่สามารถปลอบให้เงียบได้ง่าย ๆ เราเรียกว่าอาการร้องไห้แบบนี้ว่า โคลิก

ทารกร้องไห้โยเยเพราะรู้สึกไม่สบายตัว ตอนทารกอยู่ในท้องแม่ เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเขาอย่างสมบูรณ์แบบ สภาพที่ได้ลอยตัวอย่างเป็นอิสระในถุงน้ำคร่ำ มีอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา ความต้องการสารอาหารได้รับการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สิ่งแวดล้อมในท้องแม่เป็นระเบียบและสะดวกสบาย ทารกร้องโยเยเพราะคิดถึงสภาวะที่เขาเคยชินในท้องแม่ การออกจากท้องแม่ทำลายความเป็นระเบียบและสะดวกสบายนี้ไป

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกอยากกลับไปสู่สภาวะที่มีระเบียบและสะดวกสบาย และต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตนอกท้องแม่ การกำเนิดและการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตหลังคลอดจะดึงอารมณ์ของทารกออกมา เป็นครั้งแรกที่เขาต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง เขาถูกบังคับให้กระทำ ให้ทำตัวดี ๆ ถ้ารู้สึกหิว, หนาว, กังวล เขาจะร้องไห้ เขาต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการจากสิ่งแวดล้อมที่ให้ความดูแลเขาอยู่ ถ้าเขามีความต้องการในเรื่องง่ายๆ เขาก็จะได้รับสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างง่ายดาย และเราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงง่าย” แต่ถ้าเขาไม่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงยาก” ทารกที่หงุดหงิดงอแง คือทารกที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก คือทารกที่ไม่พอใจง่าย ๆ กับการดูแลที่เขาได้รับ พวกเขามีความต้องการมากกว่านั้น และพวกเขาแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เพื่อให้ได้มันมา

การร้องไห้ ไม่ใช่แค่เสียง แต่มันคือสัญญาณที่ถูกออกแบบเพื่อความอยู่รอดของทารกและพัฒนาการของพ่อแม่ การไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ ทั้งพ่อแม่และทารกจะเสียประโยชน์ทั้งคู่

ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่สามารถบอกความต้องการของเขาออกมาเป็นคำพูดได้ ในระหว่างที่ทารกไม่สามารถพูด “ภาษาของพ่อแม่” ได้ เขาก็มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาเองที่เรียกว่า “การร้องไห้”
เมื่อทารกมีความต้องการ เช่น หิวหรือต้องการให้คนปลอบเวลาที่เขารู้สึกไม่สบาย ความต้องการเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดเสียงที่เราเรียกว่า เสียงร้องไห้ ทารกไม่ได้คิดหรอกว่า “ตอนนี้ตีสามแล้ว หนูคิดว่าหนูควรจะปลุกแม่ขึ้นมาป้อนอาหารว่างให้หนูดีกว่า” การใช้เหตุผลแบบผิด ๆ นี้เป็นการตีความของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกก็ไม่มีความฉลาดปราดเปรื่องมากพอที่จะเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงตอบสนองเสียงร้องของเขาอย่างดีตอนบ่ายสามโมง แต่กลับไม่อยากตอบสนองเสียงร้องเดียวกันตอนตีสาม

เสียงร้องของทารกแรกเกิดบอกพวกเราว่า “หนูต้องการอะไรบางอย่าง ตอนนี้มีอะไรบางอย่างผิดปกติ ช่วยทำให้มันดีเหมือนเดิมด้วย”

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับการร้องไห้ของลูก

1. การร้องไห้ของทารก คือ การส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันมานานแล้วว่า เสียงร้องไห้ของทารก มีลักษณะ 3 อย่างของการส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

    หนึ่ง. สัญญาณที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ – ทารกแรกเกิดร้องไห้โดยอัตโนมัติ เขารับรู้ถึงความต้องการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสูดอากาศเข้าปอดอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการไล่อากาศออกผ่านเส้นเสียง เมื่อเส้นเสียงถูกอากาศสั่นจะเกิดเสียงร้องที่เราเรียกกันว่า เสียงร้องไห้ ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่ได้คิดว่า “การร้องไห้แบบไหนจะทำให้เราได้กินนม?” ทารกแค่ร้องไห้ไปตามกลไกอัตโนมัติ นอกจากนี้การร้องไห้ยังทำได้ง่าย เมื่อมีอากาศอยู่เต็มปอด ทารกสามารถร้องไห้ได้โดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย
    สอง. การร้องไห้เป็นการรบกวนที่พอเหมาะ – เสียงร้องไห้จะกวนหูมากพอที่จะทำให้ผู้แลหันมาสนใจทารกและพยายามปลอบให้เขาหยุดร้องไห้ แต่ก็ไม่รบกวนมากเกินไปจนทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญจนไม่อยากจะทนฟัง
    สาม. การร้องไห้สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ในขณะที่ผู้ร้องและผู้ฟังเรียนรู้วิธีส่งสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำขึ้น – สัญญาณจากทารกแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสียงร้องไห้ของทารก คือ ภาษาของเขา และทารกแต่ละคนร้องไห้แตกต่างกันไป นักวิจัยด้านเสียงเรียกเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ว่า “ลายเสียงร้องไห้” ซึ่งจะแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของทารก

2. การตอบสนองต่อเสียงร้องของทารกเป็นความปกติทางชีวภาพ

คนที่เป็นแม่จะถูกกำหนดโดยทางชีวภาพให้ตอบสนองต่อเสียงร้องของทารก และไม่สามารถต่อต้านหรือฝืนใจตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพอันน่าอัศจรรย์นี้จะเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่เป็นแม่เพื่อตอบสนองเสียงร้องไห้ของลูกตนเอง เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง เลือดจะไหลเวียนไปที่หน้าอกมากขึ้น และมีความต้องการทางชีวภาพที่อยากจะ “อุ้มลูกและให้นม”

การให้นมลูกทำให้ระดับโปรแล็คตินสูงขึ้นอย่างผิดปกติ โปรแล็คตินคือฮอร์โมนที่เข้าใจกันว่าเป็นพื้นฐานทางชีวภาพของคำว่า “สัญชาติญาณความเป็นแม่” ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม จะทำให้คนเป็นแม่รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขใจ รู้สึกปลดปล่อยจากความเครียดก่อตัวจากเสียงร้องของทารก ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกรักลูกของตัวเอง

เวลาที่ลูกร้องไห้ แม่จะฟังเสียงเรียกร้องทางชีวภาพภายในร่างกายของตนเอง มากกว่าฟังเสียงคนอื่นที่คอยแนะนำให้ทำหูทวนลม ความเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเหล่านี้ คือสาเหตุว่าทำไมมันจึงง่ายสำหรับคนอื่นที่จะพูดเช่นนั้น เพราะพวกเขาไม่มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับทารก ระดับฮอร์โมนของเขาจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อลูกของคุณร้องไห้

3. ควรละเลยหรือตอบสนองต่อเสียงร้องไห้?

เมื่อคุณตระหนักถึงคุณค่าอันเป็นสัญญาณพิเศษของเสียงร้องไห้แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ คุณจะทำอย่างไรกับมัน คุณแม่มี 2 ทางเลือก ละเลย หรือ ตอบสนอง

การละเลยเสียงร้องของทารกมักจะเป็นทางเลือกที่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวอ่อนหรือว่าง่ายจะยอมแพ้และหยุดส่งสัญญาณ กลายเป็นเด็กเงียบและเริ่มตระหนักได้ว่า การร้องไห้ไม่มีประโยชน์ และคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ทารกเริ่มหมดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็เสียโอกาสที่จะได้รู้จักลูกตัวเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวแข็งหรือดื้อดึง (ทารกที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด) จะไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เขาจะร้องไห้ดังขึ้น และเพิ่มความแรงของสัญญาณขึ้น ทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่อาจละเลยสัญญาณอันดื้อดึงนี้ได้หลายวิธี

คุณแม่อาจจะรอจนกว่าเขาจะหยุดร้องไห้ แล้วค่อยอุ้มเขาขึ้นมา เพื่อที่เขาจะได้ไม่คิดว่าการร้องของเขาสามารถเรียกร้องความสนใจของคุณได้ นี่คือการต่อสู้เพื่อแสดงอำนาจ คุณสอนลูกให้รู้ว่าคุณคือผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ ในขณะเดียวกันคุณก็กำลังสอนลูกว่าเขาไม่มีอำนาจในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นี่เป็นการปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก และในระยะยาวทุกคนก็เสียประโยชน์

คุณอาจจะตัดความรู้สึกอ่อนไหวออกไปได้หมด จนคุณไม่รู้สึกรู้สากับเสียงร้องของทารกเลย วิธีนี้คุณสามารถสอนให้ลูกรู้ว่า เขาจะได้รับการตอบสนองเมื่อถึงเวลา นี่ก็คือทางเลือกที่เสียทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน ทารกไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ พ่อแม่ก็ติดอยู่กับความรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถมีความสุขกับบุคลิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูก

คุณอาจจะอุ้มลูกขึ้นมา ปลอบให้เงียบ แล้วก็วางเขาลงเพราะ “ยังไม่ถึงเวลากินนม” เพราะท้ายที่สุด เขาควรจะต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขด้วยตัวของเขาเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน เพราะเขาก็จะร้องไห้อีก แล้วคุณก็จะโมโห ทารกจะเรียนรู้ว่าการพยายามสื่อสารของเขามีคนรับรู้ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งจะทำให้เขาเริ่มไม่เชื่อมั่นความรู้สึกของตนเอง เขาอาจจะเริ่มคิดว่า “บางทีพ่อแม่อาจจะถูก บางทีหนูอาจจะยังไม่หิวนมจริง ๆ ก็ได้”

4. ให้ความทะนุถนอม

อีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม นี่คือทางเลือกที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสร้างระบบการสื่อสารที่ช่วยทั้งสองฝ่าย

คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดียิ่งขึ้น” ร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ ๆ แม่จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อย ๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริง ๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเอง

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกกอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งแรกและหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในการสื่อสารกับลูกที่คุณแม่จะต้องเผชิญ คุณแม่จะมีความเชียวชาญขึ้นหลังจากได้ฝึกซ้อมเป็นพัน ๆ ครั้งในช่วงเดือนแรก ๆ

ถ้าคุณแม่คิดไว้ตั้งแต่แรกว่า การร้องไห้ของทารกคือสัญญาณที่ต้องประเมินสถานการณ์และได้รับการตอบสนอง มากกว่าจะคิดว่ามันคือนิสัยเสียที่ต้องแก้ไข ความคิดของคุณแม่ก็จะเปิดกว้างขึ้นและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านสัญญาณจากลูก ซึ่งจะทำให้คุณแม่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับลูกในที่สุด

การส่งสัญญาณระหว่างแม่ลูกแต่ละคู่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นมันจึงเป็นความคิดตื้น ๆ ถ้า “ผู้ฝึกสอนการร้องไห้” ที่จะแนะนำสูตรสำเร็จในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ให้กับคุณแม่ เช่น “คืนแรกปล่อยให้เขาร้อง 5 นาที คืนที่สอง 10 นาที” ฯลฯ

5. การที่ลูกร้องไห้ไม่ใช่ความผิดของคุณ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ละเลยต่อการร้องไห้ของลูก และพยายามทำให้เขารู้สึกปลอดภัยในโลกใหม่ของเขา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะคิดว่ามันเป็นความผิดของพวกคุณที่ลูกร้องไห้บ่อย ๆ และไม่ควรคิดว่าการจะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ขึ้นอยู่กับคุณ

แน่นอนว่าความคิดของพวกคุณจะต้องเปิดกว้างเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยลูก (เช่น เปลี่ยนอาหารการกินของตัวเอง หรือเรียนวิธีใหม่ ๆ ในการอุ้มลูก) และคุณอาจจะต้องพาลูกไปพบหมอถ้าหากสงสัยว่ามีอาการเจ็บป่วยเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้

แต่อาจจะมีบางเวลาที่คุณหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมลูกร้องไห้ บางครั้งคุณอาจจะสงสัยด้วยซ้ำไปว่าลูกรู้ตัวหรือเปล่าว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร อาจจะมีบางเวลาที่ทารกแค่ต้องการจะร้องไห้ ถ้าคุณได้ลองทำทุกวิธีที่ปกติเคยทำให้เขาหยุดร้องไห้ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ทำให้เขาหยุดร้องไห้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกสิ้นหวังที่จะทำให้เขาหยุดร้องไห้

มันเป็นสัจธรรมในชีวิตของพ่อแม่มือใหม่ว่า ถึงแม้ทารกจะร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ แต่วิธีการที่เขาร้องไห้เป็นผลมาจากลักษณะอารมณ์ของเขา อย่าเอาการร้องไห้ของทารกมาเป็นอารมณ์ หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อทำให้เขาจำเป็นต้องร้องไห้น้อยลง ให้ความห่วงใยและอ้อมแขนอันอบอุ่นเพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่คนเดียว และทำงานสืบสวนให้มากที่สุดเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงร้องไห้ และคุณจะช่วยเขาได้อย่างไร เรื่องอื่น ๆ ที่เหลือเป็นเรื่องของลูก

6. งานวิจัยเกี่ยวกับการร้องไห้

ซิลเวีย เบลล์ และ แมรี เอนส์เวิร์ธ สองนักวิจัยซึ่งทำการศึกษาในช่วงศตวรรษ 1970 ได้ทำลายความเชื่อเรื่อง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” (สิ่งที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงช่วงเวลานั้นหรืออาจจะถึงปัจจุบันนี้ด้วยซ้ำ ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของทารกที่คอยพร่ำบอกว่า ควรปล่อยให้ทารกร้องไห้จนพอใจ มักจะเป็นผู้ชายแทบทั้งนั้น ต้องใช้นักวิจัยผู้หญิงมาแก้ความเชื่อผิด ๆ ให้ถูกต้อง)

นักวิจัยทั้งสองศึกษาคู่แม่ลูก 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เมื่อลูกร้องไห้ แม่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน กลุ่มที่ 2 แม่จะหักห้ามใจในการตอบสนองมากกว่า พวกเขาพบว่าเด็กในกลุ่มที่ 1 ซึ่งแม่ตอบสนองอย่างอ่อนโยนและรวดเร็วกว่า จะไม่ค่อยใช้การร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารเมื่อเขาอายุ 1 ขวบ เด็กเหล่านี้รู้สึกผูกพันกับแม่ของพวกเขาค่อนข้างมาก และมีพัฒนาการของทักษะการสื่อสารดีกว่า เป็นเด็กที่ไม่ค่อยโยเยและไม่เอาแต่ใจตัวเอง

ก่อนการวิจัยครั้งนี้ พ่อแม่ถูกทำให้เชื่อว่า ถ้าพวกเขารีบอุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกร้อง ลูกจะไม่มีทางเรียนรู้ที่จะปรับตัวและจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น งานวิจัยของเบลล์และเอนส์เวิร์ธแสดงผลในทางกลับกัน ทารกที่มีความรู้สึกปลอดภัยและได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะติดพ่อแม่น้อยลงและเรียกร้องน้อยลง มีการทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเพื่อลบล้าง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” แสดงว่า ทารกที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจะร้องไห้มากขึ้น, นานขึ้น, และด้วยวิธีการที่น่ารำคาญมากขึ้น

ในการวิจัยครั้งหนึ่ง เปรียบเทียบเด็ก 2 กลุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ เด็กที่ได้รับการตอบสนองอย่างอ่อนโยนจะร้องไห้น้อยลง 70 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ ไม่ร้องไห้ลดลง สรุปง่าย ๆ ก็คือ งานวิจัยเรื่องการร้องไห้แสดงว่า ทารกที่เสียงร้องไห้ของเขามีคนรับฟังและตอบสนองจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดีขึ้น” ทารกที่พ่อแม่พยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูก จะเรียนรู้ทีจะ “ร้องไห้ให้ดังขึ้น”

สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะมีความแตกต่างของวิธีที่ทารกสื่อสารกับพ่อแม่ตามการตอบสนองที่เขาได้รับต่อการร้องไห้ของเขาแล้ว และยังมีความแตกต่างในหมู่คุณแม่อีกด้วย งานวิจัยแสดงว่า แม่ทีพยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ หรือตอบสนองด้วยความอ่อนไหวน้อย จะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อเสียงร้องของทารกน้อยลงเรื่อย ๆ และความไม่อ่อนไหวนี้จะส่งต่อไปยังความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกด้านอื่น ๆ งานวิจัยแสดงว่าการปล่อยให้ลูกร้องจนพอใจ ทำให้ความรู้สึกของครอบครัวเสียไปด้วย

7. การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้ทารก “ได้ขยายปอด”

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ทางการแพทย์คือ “ปล่อยให้ทารกร้องไห้ ช่วยขยายปอด” ช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 มีงานวิจัยแสดงว่าทารกที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จะมีอัตราการเต้นหัวใจสูงขึ้นถึงระดับที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อการร้องไห้ของเขาได้รับการปลอบประโลม ระบบหัวใจและหลอดเลือดกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าทารกสามารถรับรู้ความเป็นดีอยู่ดีทางกายได้รวดเร็วมาก ถ้าการร้องไห้ไม่ได้รับการปลอบประโลม ทารกจะตกอยู่ในความเครียดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการร้องไห้ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ เพราะหนึ่งในคะแนน Apgar (การทดสอบที่แพทย์ใช้ประเมินสภาพของทารกแรกเกิด) ทารกจะได้คะแนนเพิ่ม 2 คะแนนถ้า “ร้องไห้เสียงดังเต็มที่” ทั้ง ๆ ที่การได้คะแนนเพิ่มเพราะการร้องไห้ไม่มีความสมเหตุสมผลในทางสรีระศาสตร์เลย ทารกแรกเกิดซึ่งรู้สึกตัวดีแต่นอนเงียบ ๆ หายใจในระดับปกติ และตัวเป็นสีชมพูมากกว่าเด็กที่ร้องไห้เสียงดัง กลับเสียคะแนน Apgar นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า เสียงร้องไห้ ซึ่งเป็นเสียงที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของมนุษย์ ยังคงถูกแปลความหมายไปในทางที่ผิดอยู่

วิธีสอนให้ลูกร้องไห้ได้ดีขึ้น

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับซึ่งผ่านการทดสอบมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถแปลความหมายและตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติ และค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์ในการสื่อสาร เพื่อที่ทารกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่ตลอดเวลาเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่

1. คิดว่าการร้องไห้ของทารก คือ เครื่องมือสื่อสาร มากกว่า เครื่องมือที่ใช้บงการพ่อแม่ – คิดว่าการร้องไห้เป็นสัญญาณที่ต้องรับฟัง แปลความหมาย มากกว่า คิดกลัวว่าจะตามใจลูกจนเสียเด็ก หรือกลัวจะตกอยู่ในการควบคุมของลูก

2. เร็วดีกว่าช้า – พ่อแม่มือใหม่มักจะคิดว่า ยิ่งชะลอการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกออกไป ลูกจะร้องไห้น้อยลง ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กใจอ่อน, หัวอ่อน แต่ทารกที่มีบุคลิกดื้อดึงจะร้องไห้เสียงดังขึ้น, ส่งเสียงน่ารำคาญมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรจะหัดอ่านสัญญาณที่มักเกิดขึ้นก่อนการร้องไห้ เช่น สีหน้าวิตกกังวล การกางแขนหรือโบกมือเรียก การหายใจถี่ ฯลฯ การตอบสนองต่อสัญญาณเรียกร้องให้พ่อแม่อุ้มเหล่านี้ จะสอนให้ทารกรู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรลืมเรื่องถูกตามใจจนเสียเด็กไปก่อน ผลงานวิจัยแสดงว่า ทารกที่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อเขาร้องไห้ จะเรียนรู้ที่จะร้องไห้น้อยลงเวลาที่เขาโตขึ้น

3. ตอบสนองให้เหมาะสม – คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน ช่วงสัปดาห์แรกเป็นช่วงของการซ้อมคิว คุณแม่ควรตอบสนองอย่างรวดเร็วและทำตามสัญชาติญาณ เมื่อคุณกับลูกสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น คุณแม่จะรู้เองว่าการร้องไห้ของเขาเป็น “เหตุด่วน” ที่ต้องตอบสนองทันที หรือสามารถรอได้

เรียนรู้คำตอบที่เหมาะสมสำหรับการร้องไห้ รู้ว่าจะพูดว่า “ได้จ้ะ” หรือ “ไม่ได้จ้ะ” เมื่อไร โดยธรรมชาติคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเป็น “คุณแม่ได้จ้ะ” แต่ต่อมาสัญชาติญาณจะทำให้คุณแม่กลายเป็น “คุณแม่ได้จ้ะและไม่ได้จ้ะ” เวลาคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจ ให้ตอบว่า “ได้จ้ะ” ไปก่อน การตอบสนองมากเกินไปแก้ไขได้ง่ายกว่ามาก คุณแม่ก็แค่ถอยหลังออกมานิดหนึ่ง การแก้ไขความไม่เชื่อใจของทารกที่เกิดจากการตอบสนองไม่เพียงพอเป็นเรื่องยากกว่ามาก และอาจทำให้สูญเสียการสื่อสาร

4. ลองใช้วิธีแบบชาวแคริบเบียน – ระบบที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสงบทางจิตใจให้กับทารก เป็นระบบที่เราเรียกชื่อเล่นตามทัศนคติของชาวแคริบเบียนว่า “ไม่มีปัญหา” สมมติว่าลูกวัยเจ็ดเดือนของคุณกำลังนั่งเล่นอยู่ที่พื้นใกล้ ๆ ในขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์ ลูกเริ่มงอแงและทำท่าจะให้อุ้ม แทนที่จะวางโทรศัพท์แล้วรีบอุ้มเขาขึ้นมา คุณก็ทำหน้าสดใส แสดงให้เขาเห็นว่าคุณรับรู้ความต้องการของเขาและพูดกับว่า “ไม่เป็นไรนะจ๊ะ” การทำเช่นนี้ ภาษากายของคุณจะบอกว่า “ไม่มีปัญหา ไม่ต้องงอแง” อีกวลีหนึ่งที่พวกแคริบเบียนชอบใช้คือ “สบายดี ไม่มีปัญหา” ใช้ภาษากายของคุณ สื่อให้ลูกคุณรู้ว่า “สบายดี ไม่มีงอแง”

โรคปิดเครื่อง (SHUTDOWN SYNDROME)*

จากการทำงานตลอด 30 ปีร่วมกับพ่อแม่และทารก เราได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของเด็ก (ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ) และวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่

“เธอตามใจลูกมากเกินไป” ลินดากับนอร์ม พ่อแม่มือใหม่พาเฮทเธอร์ลูกสาววัยสี่เดือนซึ่งมีความต้องการสูงมาพบผม เพราะเฮทเธอร์หยุดเจริญเติบโต

เฮทเธอร์เคยเป็นเด็กที่มีความสุข เติบโตสมบูรณ์ (thrive) จากการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเต็มที่ มีคนอุ้มวันละหลาย ๆ ชั่วโมง เวลาร้องไห้ก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ได้กินนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ มีคนสัมผัสกอดรัดใกล้ชิดเกือบทั้งวัน ทั้งครอบครัวมีความสุขดี และการเลี้ยงดูแบบนี้ได้ผลดีสำหรับพวกเขา แต่เพื่อนผู้หวังดีเกลี้ยกล่อมให้พ่อแม่คู่นี้เชื่อว่า พวกเขาตามใจลูกมากเกินไป ลูกสามารถบงการพวกเขาได้ และเฮทเธอร์จะโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่

พ่อแม่หมดความเชื่อมั่น – เหมือนพ่อแม่มือใหม่ทั่ว ๆ ไป นอร์มกับลินดาหมดความเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ และยอมแพ้ต่อแรงกดดันของคนรอบข้าง ยอมรับวิธีการเลี้ยงลูกแบบยับยั้งชั่งใจและห่างเหินกว่าเดิม พวกเขาปล่อยให้เฮทเธอร์ร้องไห้จนหลับไป ให้กินนมตามตารางเวลา และอุ้มเฮทเธอร์น้อยลงเพราะกลัวว่าลูกจะเสียเด็ก

สองเดือนต่อมา เฮทเธอร์เปลี่ยนจากเด็กที่มีความสุขและชอบโต้ตอบกับพ่อแม่ เป็นเด็กที่เศร้าสร้อยและเงียบงัน น้ำหนักของเธอไม่เพิ่มขึ้น จากเด็กที่อยู่บนสุดของตารางการเจริญเติบโต ตกลงมาอยู่ล่างสุด เฮทเธอร์ไม่เติบโตสมบูรณ์อีกต่อไป พ่อแม่ของเธอก็เช่นกัน

ทารกหมดความเชื่อมั่น – หลังจาก 2 เดือนที่ไม่มีการเจริญเติบโต หมอบอกว่าเฮทเธอร์ “ล้มเหลวในการเติบโตสมบูรณ์” (fail to thrive) และเกือบจะต้องเข้ารับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เมื่อพ่อแม่มาปรึกษาผม ผมวินิจฉัยว่าเธอเป็น “โรคปิดเครื่อง”

ผมอธิบายว่าเฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์เพราะการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม และด้วยการเลี้ยงดูแบบนี้ เฮทเธอร์มีความเชื่อมั่นว่าความต้องการของเธอจะได้รับการตอบสนอง และสภาพทางกายภาพโดยรวมของเธอจะได้รับการจัดการเป็นอย่างดี เพราะคิดว่าพวกเขาจะให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก พ่อแม่คู่นี้ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงไปใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบอื่น พวกเขาถอดปลั๊กความผูกพันระหว่างพวกเขากับเฮทเธอร์โดยไม่รู้ตัว และสูญเสียช่องทางที่ทำให้เฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์ ความกดดันต่อทารกก็จะเกิดขึ้น และระบบทางกายภาพของเฮทเธอร์ชะลอตัว

ผมแนะนำพ่อแม่คู่นี้ให้กลับไปใช้วิธีเลี้ยงดูแบบเดิม อุ้มลูกบ่อย ๆ ให้กินนมเวลาที่ต้องการ ตอบสนองต่อเสียงร้องของเธอย่างอ่อนโยนทั้งกลางวันและกลางคืน ภายใน 1 เดือนเฮทเธอร์กลับมาเติบโตสมบูรณ์เหมือนเดิม

ทารกจะเติบโตสมบูรณ์เมื่อได้รับการทะนุถนอม – เราเชื่อว่า ทารกทุกคนมีความต้องการที่จะได้สัมผัสและทะนุถนอมระดับหนึ่งเพื่อที่เขาจะเติบโตสมบูรณ์ (เติบโตสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความแค่ โตขึ้น แต่ต้องโตขึ้นได้เต็มศักยภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)

เราเชื่อว่า ทารกสามารถสอนพ่อแม่ได้ว่าเขาต้องการการเลี้ยงดูในระดับใด มันขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าจะรับฟังหรือไม่ และขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในทางวิชาชีพที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ ไม่ทำลายความมั่นใจด้วยการแนะนำวิธีการเลี้ยงดูที่เหินห่างกว่า เช่น “ปล่อยให้ลูกร้องไห้ให้พอใจ” หรือ “คุณต้องอุ้มเขาให้น้อยลง” ตัวทารกเท่านั้นที่รู้ระดับความต้องการของตัวเอง และพ่อแม่เป็นคนที่จะเข้าใจภาษาของลูกตัวเองได้ดีที่สุด

ทารกที่ “ได้รับการฝึกสอน” ให้ไม่แสดงความต้องการของตัวเองออกมา อาจจะดูเงียบสงบ, หัวอ่อน, หรือ เป็นเด็กดี แต่ทารกเหล่านี้อาจจะเป็นเด็กที่มีความกดดัน ซึ่งปิดกั้นการแสดงความต้องการของตัวเอง พวกเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าพูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด

(แปลและเรียบเรียงจากบทความในเว็บไซต์ www.askdrsears.com) โดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

* หมายเหตุ ครั้งแรกผู้แปลแปลคำว่า Shutdown Syndrome ว่า โรคเงียบ เพราะเข้าใจผิดว่าดร.เซียร์สจะบอกว่าทารกนิ่งเงียบไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้ไปอ่านทวนบทความภาษาอังกฤษอีกรอบ จึงเข้าใจว่าประเด็นหลักน่าจะเป็นการหยุดเจริญเติบโตของทารกมากกว่าการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คำว่า Shutdown นี้จึงควรจะเป็นความหมายเดียวกับที่่เราใช้เวลาเราปิดหรือหยุดสิ่งต่าง ๆ เช่น ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, หยุดกิจการ, ปิดโรงงาน ฯลฯ โรคเงียบ จึงถูกเปลี่ยนเป็น โรคปิดเครื่อง ด้วยประการฉะนี้...
--------------------------------------------------------------------
บทความนี้ ถึงกับทำให้ผู้แปลเปลี่ยนทัศนคติ และรู้สึกผิดที่เคยหงุดหงิดหลานๆ ซึ่งร้องไห้ งอแงพูดไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว บทความนี้ให้ความรู้กับเราในประเด็นที่แตกต่างไปอย่างมาก จากที่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก  อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้อ่านพิจารณาให้ดีว่า การที่ลูกร้องไห้นั้น เราควรตอบสนองอย่างไร ในแต่ละช่วงวัยหรือสถานการณ์  ดังที่ในบทความก็กล่าวไว้ว่า "คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน"

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกอย่างเหมาะสมนั้นไม่ได้หมายถึงการตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นะคะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถสื่อสารกับเราด้วยวิธีอื่นได้แล้ว - webmother

ทำไมลูก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ง่วงนอน แต่ไม่ยอมนอน

     ตามหัวข้อเลยค่ะ ลูกชายเราก็เป็นค่ะ แรกๆร้องบ้านแตกเลยค่ะเพราะเค้าง่วง แต่หลับเองไม่เป็น ร้องทั้งวันเลยค่ะ ร้องจนหมดแรงหลับไปเอง เรากลุ้มมากเพราะอยากให้ลูกนอน จนในที่สุดเราเลยหาข้อมูลตามเน็ท และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการนอนของเด็ก และเราได้ลองเอาคำแนะนำจากหนังสือมาลองใช้กับลูกเราดู ปรากฎว่าลูกเราเปลี่ยนเป็นคนล่ะคนเลยค่ะ จากเด็กที่หงุดหงิดงอแงกลายมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดีมาก และถือว่าเลี้ยงง่ายมากค่ะ เราเลยอยากเอาข้อมูลความรู้ที่ได้จากหนังสือมาแบ่งปันให้คุณแม่ๆทั้งหลายได้ลองนำไปใช้ดูค่ะ

เด็กทารก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ยังหลับเองไม่เป็น คุณแม่ต้องช่วยกล่อมให้เค้าหลับค่ะ หลังจาก 4 เดือนๆไปแล้วค่อยเริ่มสอนให้เค้ากล่อมตัวเองให้หลับ  เราต้องรู้ว่าเค้าเริ่มง่วงตอนไหน โดยปกติแล้วเค้าจะแสดงอาการเหล่านี้เมื่อเริ่มง่วง

เอามือขยี้ตา
เลิกสนใจของเล่น
นอนนิ่งๆ
หาว
ตาลอย หรือตาปรือ
อยู่ดีๆก็งอแงขึ้นมาเฉยๆ

พอเราเห็นอาการดังกล่าวแล้วเราก็ต้องเริ่มกล่อมให้เค้านอนได้แล้ว เด็กวัยนี้เค้าจะตื่นมากินนมหรือเล่นได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ถ้าเราปล่อยให้ลูกตื่นนานกว่านี้ร่างกายเค้าจะทนรับไม่ไหว สมองเค้ายังไม่พัฒนาพอที่จะหลับเองได้  ร่างกายเค้าก็จะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งขี้นมา ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เด็กไฮเปอร์ตื่นตัวไม่ยอมหลับ และในที่สุดเค้าก็จะร้องให้ ร้องจนเหนื่อยจนร่างกลายทนไม่ไหว และน็อคไปในที่สุด  ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้บ่อยๆล่ะก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเค้าแน่นอน

มาดูขั้นตอนการช่วยให้ลูกหลับกันค่ะ

1 จับเวลาค่ะ เค้าตื่นเมื่อไหร่เราก็เริ่มจับเวลาได้เลย 1-2 ชั่วโมงหลังจากลูกตื่น เค้าจะเริ่มแสดงอาการง่วงนอนออกมา (ลูกเราประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ก็เริ่มแสดงอาการแล้ว กล่อมประมาณ 5-10 นาทีก็หลับแล้วค่ะ)

2 พอเค้าเริ่มง่วงเราก็กล่อมเค้าให้หลับได้เลย ใช้วิธีที่เค้าชอบที่สุดเช่น ให้กินนม อุ้มเดิน ไกวเปล เป็นต้น

3 จำไว้ว่าเราต้องกล่อมเค้าให้หลับภายในเวลาที่กำหนด ถ้าปล่อยไว้เกินเวลา รับรองร้องบ้านแตกแน่ค่ะ แถมกล่อมยังไงก็ไม่หลับอีกต่างหาก

เด็กที่พักผ่อนเพียงพอ จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่นอนไม่พอด้วยค่ะ
---------------------------------------------
ลูกชายเราอายุ 2 เดือน 3 อาทิตย์ ค่ะ ตั้งแต่ได้นอนเต็มอิ่มก็แทบจะไม่งอแงเลยค่ะ

ช่วงแรกเกิด - 3 เดือนลูกเราเลี้ยงง่ายค่ะ ไม่งอแง อารมณ์ดี ยิ้มเก่งมากๆ (ถ่ายรูปลูกทีไรจะยิ้มหวานทุกที) ปรับกลางวัน-กลางคืนได้ก่อน 1 เดือน 

พอ 1 เดือนเริ่มนอนกลางคืนยาวแล้วค่ะ ตื่นมากินนม 2 รอบ  เริ่มให้นอนเองโดยไม่แบกค่ะ เพราะเราต้องดูลูกคนโตด้วย  คือ ถ้าร้องเราก็อุ้มกล่อม พอเงียบได้ซักพักเราก็วางค่ะ พยายามไม่ให้ติดอุ้มหลับ

พอ 2 เดือนก็เริ่มนอนยาวมากขึ้น ตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบค่ะ (บางคืนอาจจะ 2)
ตอนนี้เริ่มนอนเองได้แล้ว เวลาตื่นมากลางคืน หากกินนมแล้วไม่นอน ยิ้มตาหวานแป๋วๆให้ เราจับเค้าลงเตียงนอน เค้าก็หลับเองได้ค่ะ  (เคยตื่นมากินนมตี 4 ยิ้มให้แม่อย่างหวาน ปากบานเชียวค่ะ พร้อมเล่นเต็มที่  เราก็คิดว่าแล้วจะหลับไหมเนี่ย แต่ก็ลองเอาไปหย่อนเตียงเค้าทั้งๆที่ตาแป๋วๆอย่างนั้นแหละ แล้วเราก็ไปนอนต่อเอาแรงอีกหน่อยเพราะเดี๋ยวคนโตตื่นเราต้องจัดการเตรียมเค้าไปโรงเรียนอีก  เค้าก็หลับเองได้นะคะ ไม่ต้องกล่อมเลย) กลางวันเริ่มหลับเองได้เช่นกัน

ตอนนี้ 3 เดือนกว่าแล้วค่ะ เหลือตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบ หลับเองได้ทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ


ตอนลูกคนแรกเราขอบอกว่าเหนื่อยมากค่ะ ตื่นมากินนมหลายรอบ นอนเองไม่เคยเป็น
พอมามีคนเล็ก เราพยายามจะหัดเค้า ไม่ให้ติดอุ้มกล่อม เพราะเราก็ต้องจัดการคนโตด้วยไหนจะ อาบน้ำ แปรงฟัน เอาเข้านอน เลยลองปล่อยให้คนเล็กหัดหลับเอง ไม่งั้นเราก็ไม่ไหวเหมือนกันค่ะ เพราะต้องทั้งเลี้ยงลูกและทำงาน


หมอของลูกเราบอกว่าที่คนเล็กดูเลี้ยงง่าย สบายๆด้วย น่าจะเป็นเพราะพ่อแม่มีความมั่นใจมากขึ้นค่ะ มั่นใจและรู้จักวิธีการรับมือลูกมากกว่าเดิม เพราะมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว

-----------------------------
ช่วงอายุครบ 1 เดือน ลูกงอแงมากมายช่วงหัวค่ำ เราคิดแต่ว่าเค้าปวดท้อง ให้กิน air-x ก็แล้ว จับเรอก็แล้ว ให้กินนมอีก ฯลฯ ก็ไม่หาย จนมีคนมาเห็นบอกว่าเค้า "ง่วง" ค่ะ แค่นั้นแหละ เก็ตเลย หลังจากนั้นก็รับมือได้ พอง่วงก็กล่อมหลับ

ตอนนี้ 7 เดือนแล้วยังงอแงเวลาง่วงเหมือนเดิมเลย แต่แม่มันจับทางได้แล้วเวลาขยี้ตา ไม่ค่อยอยากเล่นของเล่นแล้ว แสดงว่าง่วงล่ะ ถ้าปล่อยไว้สักพักจะงอแงมาก ตามที่คุณ จขกท เขียนมาเป๊ะเลยค่ะ

ไล่ลม…ให้ลูกรัก

เมื่อเจ้า ตัวเล็กดูดนมมักกลืนลมไปด้วย โดยเฉพาะถ้ามื้อนั้นลูกหิวนมมากๆ หรือน้ำนมคุณแม่เยอะ ทำให้หนูน้อยดูดเร็ว ดูดแรง ส่งผลให้ลมเข้าไปแน่นท้อง เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อ และร้องไห้โยเยตามมา คุณแม่เลิกกังวล เมื่อต้องไล่ลมให้ลูกรักหลังมื้อนมได้แล้วค่ะ เพราะวิธีต่อไปนี้ช่วยได้

babymomypedia
ท่าอุ้มลูกพาดบ่า
คุณแม่อุ้มลูกหันหน้าเข้าหาตัว วางศีรษะลูกบนบ่าหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูก ส่วนมืออีกข้างประคองก้นลูกไว้ การอุ้มลูกท่านี้ ไหล่ของคุณแม่จะช่วยนวดลิ้นปี่ของลูกไปโดยปริยายอย่างเบาๆ ทำให้ลูกเรอได้ค่ะ

ท่าอุ้มลูกนั่งบนตัก
คุณแม่ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงคางของลูก จากนั้นก็โน้มตัวลูกมาข้างหน้าเล็กน้อย หลังตรง อุ้งมือคุณแม่จะอยู่บริเวณลิ้นปี่ลูก ให้ทิ้งน้ำหนักตัวลูกมากดทับที่มือคุณแม่ เป็นการช่วยคลึงท้องลูกเพื่อช่วยไล่ลมออก ส่วนมืออีกข้างก็ลูบหลังลูกเบาๆ

ท่าอุ้มลูกวางพาดบนขา
คุณแม่อุ้มลูกให้นอนคว่ำโดยช่วงหน้าอก (ลิ้นปี่) ของลูกอยู่บนหน้าขา (คุณแม่นั่งบนเก้าอี้ชันเข่า) ใช้มือข้างที่ถนัดประคองช่วงไหล่ลูก และใช้มืออีกข้างหนึ่งลูบหลังลูกเบาๆ หน้าขาคุณแม่จะช่วยนวดเบาๆ ที่ท้องลูก เพื่อช่วยไล่ลมได้เช่นกันค่ะ

ลืมไม่ได้เมื่อต้องไล่ลม
1. ขณะที่อุ้มไล่ลมให้ลูก ต้องเตรียมผ้าอ้อมสะอาดไว้ใกล้มือนะคะ เวลาที่ลูกแหวะนมออกมาจะได้หยิบใช้สะดวก
2. ทุกครั้งที่อุ้มลูก ต้องใช้มือข้างที่ถนัดประคองต้นคอลูกไว้เสมอ เพราะกล้ามเนื้อต้นคอของลูกยังไม่แข็งแรงพอ

มหาหิงส์ไล่ลม
คุณแม่สามารถใช้มหาหิงส์ไล่ลมให้ลูกได้เช่นกัน โดยทาให้ลูกที่ฝ่าเท้าหรือหน้าท้องลูกก็ได้ค่ะ กลิ่นระเหยที่มีความร้อนนิดๆ จะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวและบีบตัว ช่วยไล่ลมในท้องหนูน้อยได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ อย่าทามากเกินไป เพราะความร้อนทำให้ผิวบอบบางของลูกไหม้ได้ค่ะ

สำหรับคุณแม่มือใหม่หัดขับที่อุ้มลูกให้เรอแล้วแต่ลูกไม่เรอก็ไม่ต้องตกใจ เพราะปกติเด็กจะเรอหรือไม่เรอก็ได้ แต่คุณแม่ควรอุ้มลูกต่อไปอีกสักแป๊บนึง เพื่อให้น้ำนมลงในกระเพาะ ก่อนให้ลูกนอนค่ะ

ไล่ลม...ลูกรัก infrographic

จาก : นิตยสารรักลูก

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน

บำรุงร่างกายแม่หลังคลอดด้วยพืชผักพื้นบ้าน
สมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษกันมากขึ้น นั่นอาจเพราะด้วยเหตุผลที่ว่า การมีสุขภาพดี ย่อมทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่กับครอบครัวคนที่รักได้อย่างยืนยาวค่ะ และอย่างพืชผักพื้นบ้านของไทย ก็กินดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ฉะนั้นเราลองมาดูกันซิว่าพืชผักพื้นบ้านไทยชนิดใด ที่แม่หลังคลอดสามารถนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารบำรุงร่างกาย และยังช่วยบำรุงน้ำนมอีกด้วย


5 พืชผักที่กินดีมีประโยชน์




ใบกะเพรา

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม และยังมีเส้นใยอาหารสูง


           คุณประโยชน์ แก้ท้องอืด เป็นหวัดคัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน ช่วย ให้เจริญอาหาร


           เมนูสุขภาพ แกงเลียงใบกะเพราะ, ผัดกะเพราะหมู/ปลา, ไข่เจียว ใบกะเพรากรอบ ฯลฯ




ใบแมงลัก

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี และวิตามินซี


           คุณประโยชน์ ช่วยขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร


           เมนูสุภาพ แกงเลียงรวมมิตรใส่ใบแมงลัก, กินแกล้มกับขนมจีน น้ำยาป่า, ต้มยำน้ำใสใส่ใบแมงลัก, จิ้มจุ่ม ฯลฯ




หัวปลี

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยแคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน


           คุณประโยชน์ แก้โรคกระเพาะ บำรุงเลือด (โลหิตจาง) บำรุงน้ำนมในหญิงให้นมบุตร


           เมนูสุขภาพ ยำหัวปลี, แกงเลียงหัวปลี, ลวกจิ้มน้ำพริก, ทอดมัน หัวปลี ฯลฯ




ขิง

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และแคลเซียม


           คุณประโยชน์ ช่วยขับลม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยบำรุงเลือดให้ไหลเวียนดี


           เมนูสุขภาพ ยำกุ้งใส่ขิง, ไก่ผัดขิง, มันต้มขิง, ยำปลาทูใส่ขิง, บัวลอยน้ำขิง ฯลฯ




ฟักทอง

           คุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ฟอสฟอรัส เบต้า-แคโรทีน มีสารสีเหลือง และโปรตีน


           คุณประโยชน์ แก้อาการฟก ช้ำ ปวด บำรุงร่างกาย


           เมนูสุขภาพ ฟักทองผัดไข่, ซุปฟักทอง, แกงเลียงรวมมิตรใส่ฟักทอง ฯลฯ



Good to Know

          เมื่อแม่ให้นมลูกมีอาการคัดตึงเต้านม อาการ เต้านมคัดอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมอักเสบ ซึ่งสามารถบรรเทา หรือลดอาการเต้านมคัดได้ด้วยการให้ลูกดูดอย่างถูกวิธี และการอุ้มให้นมลูกอย่างถูกท่า เริ่มจากให้ลูกดูดบ่อยๆ และนานเท่าที่ลูกต้องการ ในช่วงแรกเมื่อน้ำนมมาเต็มเต้าพยายามให้ลูกดูดนมจากเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง การให้ลูกดูดนมจากเต้าจะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี และก็เป็นการระบายนมออกจากเต้า อีกวิธีหนึ่งเมื่อมีอาการคัดตึงเต้านมจนรู้สึกเจ็บ ซึ่งก็มีแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลายๆ ท่าน ใช้ใบกะหล่ำปลีช่วยบรรเทาอาการเต้าคัด โดยใช้ใบกะหล่ำปลีที่แช่เย็นแล้ว ตัดให้เป็นช่องสำหรับหัวนม และวางลงบนเต้านม โดยสวมไว้ในเสื้อชั้นใน อาการคัดตึงเจ็บเต้านมก็จะค่อยๆ บรรเทาลง


แหล่งที่มา นิตยสารบันทึกคุณแม่ ฉบับ กรกฎาคม ๒๕๕๖
 
 
Support : | |
Copyright © 2014. Guide Baby Care - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger