Latest Movie :
Recent Movies
 

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

โดยปกติแล้วเด็กเล็กที่ยังทานนมแม่อยู่จะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มให้ลูกกินอาหารเสริม เด็กบางคนอาจจะไม่ถ่ายหลายวัน เรามาทำความเข้าใจกับอาการท้องผูกนี้กันดีกว่า


ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก
ทารกที่ยังดื่มนมแม่อยู่มักถ่ายหลายรอบต่อวันโดยเฉพาะในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกหลังลืมตาออกมาดูโลก และอาจจะลดความถี่ของการขับถ่ายมาเป็น 2-3 ต่อสัปดาห์ พอเข้าสู่เดือนที่ 4-6 หลายคนจะเริ่มให้ทารกกินอาหารเสริม แม้ว่าคุณจะเริ่มให้ลูกกินอาหารเหลวและนิ่มสำหรับทารกก็ตาม คุณอาจจะสังเกตได้ว่าเวลาที่ลูกคุณถ่ายอาจจะมีการเบ่งอุจจาระหรือสัญญาณอื่น ๆ ที่กำลังบอกว่าลูกกำลังถ่ายอยู่
สำหรับทารกที่ทานนมผสมอาจจะมีอุจจาระที่แข็งกว่าและขับถ่ายไม่คล่องเท่า เด็กทารกที่กินนมแม่ อาจจะถ่ายทุก ๆ 3-4 วัน ลักษณะการขับถ่ายแบบนี้ไม่ถือว่าผิดปกติหรอกค่ะ หากอุจจาระไม่แข็งเป็นเม็ดคล้าย ๆ กระสุน อาการท้องผูกเกิดจากอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ยิ่งอุจจาระค้างอยู่นานเท่าไหร่อุจจาระก็จะยิ่งแห้งและแข็งนานมากขึ้น

ท้องผูกมีอาการอย่างไร

เด็กแรกเกิดถึงสามเดือนมักไม่ค่อยมีอาการท้องผูกสักเท่าไหร่ แม่ว่าคุณจะให้นมผสมก็ตาม เด็กบางคนทำท่าและสีหน้าเบ่งอุจจาระแม้ว่าจะไม่ใช่อุจจาระที่แข็งก็ตาม บางคนก็ร้องไห้เหมือนเจ็บก้นไม่สบายตัว ลองสอบถามคุณหมอดูหากว่าลูกของคุณถ่ายแข็งและถ่ายน้อยกว่าวันละครั้งในช่วง แรกเกิดเพราะนั่นคืออาการท้องผูกนั่นเอง

แต่สำหรับเด็กอายุ 4 เดือนขึ้นไปให้สังเกตอาการเหล่านี้
  • ปวดท้องและท้องอืด
  • ท้องแข็ง
  • ปวดท้องแต่หายปวดหลังขับถ่าย
  • มีเลือดออกติดก้อนอุจจาระ เนื่องจากอุจจาระแข็งและทำให้เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักฉีกขาด
  • อุจจาระมีลักษณะคล้ายกระสุน
ทำไมถึงท้องผูก
สาเหตุที่ท้องผูกเนื่องจากลูกอาจจะดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่ถ้าลูกเป็นเรื้อรังไม่หายสักทีต้องลองปรึกษาแพทย์ดูค่ะ
วิธีบรรเทาอาการท้องผูก
ในกรณีที่เป็นเด็กทารก คุณควรปรึกษาหมอก่อนเป็นอย่างแรก แต่ถ้าลูกเริ่มกินอาหารเสริมแล้วคุณสามารถเติมเนื้อลูกพรุนบดหรือน้ำลูกพรุน 2 ช้อนชาลงไปในอาหารธัญพืชของลูกได้ นอกจากนี้คุณอาจจะเพิ่มใยอาหารจากผลไม้และผักให้ลูกกินก็ได้ค่ะ
  • คุณอาจจะลองให้ลูกปั่นจักรยานอากาศเพื่อช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานดีขึ้น
  • อาหารบางอย่างก็สามารถทำให้ลูกท้องผูกได้ เช่น ข้าว ซีเรียล กล้วย

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ
ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ บี


ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ >> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่) เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ >>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ >>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ **เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ** สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ :) บี (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

การขับถ่ายของเด็กทารก 0-1 ปี

ธรรมชาติการขับถ่ายของทางรกวัย 0-1 ปี
เด็กทารกที่กินนมแม่มักมีระบบย่อยอาหารที่ดี ย่อยง่าย ถ่ายคล่อง โดยเฉพาะน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) หรือหัวน้ำนม ที่เป็นสุดยอดของอาหารสำหรับทารกแรกเกิดนั้น จะมากไปด้วยภูมิคุ้มกัน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน ซึ่งทั้งหมดล้วนไปช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงช่วยขับ “ขี้เทา” ซึ่งเป็นอึชุดแรกของลูกที่มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำที่จะอึออกมาใน 2-3 วันแรก แถมยังช่วยจับสารตัวเหลือง บิลิลูบิน (Billirubin) ออกมาทิ้งพร้อมกับอึกองโต ป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเกินไปอีกด้วย

การขับถ่ายของทารก

อึ 7 วันแรกของทารก
อึของเด็กแรกเกิดมักบอกสุขภาพและความสมบูรณ์ของเด็กได้ เช่น เด็กที่คลอดครบกำหนดก็มักจะแข็งแรงขับขี้เทาออกมาได้ตามเวลา และกินเก่งเพราะถ่ายออกไปมาก น้ำนมแม่เลยพามีมากตามการดูดของลูก เข้าข่ายแข็งแรงมาก กินมาก ถ่ายมาก


อึตามอายุของลูกใน 7 วันแรก

อายุ (วัน)     จำนวนครั้ง     วันสีของน้ำนม     สีอึ     ลักษณะ
0-1     1-2 ครั้ง     หัวน้ำนมสีส้มเหลือง     ขี้เทาสีเขียวเข้มเกือบดำ     เหนียวข้นมาก
2-3     2 ครั้ง     หัวน้ำนม มีสีขาวขุ่นปนมากขึ้น     ขี้เทาปนเหลือง     มีอึสีเหลืองนิ่มปนเหนียวข้นน้อยลง
3-4     3 ครั้ง     สีขาวขุ่น Transition     เหลือง     อึเป็นเนื้อเละ เนียน
7     3-4 ครั้ง     สีขาวอมฟ้า True milk     เหลือง     อึเป็นเนื้อ เละ เนียน


เมื่อลูกอายุประมาณ 1 เดือนจึงจะเริ่มอึเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่ทารกหลายคนที่กินนมแม่อาจจะมีบางคนที่อึแบบวันเว้นวัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อาจจะทำให้ลูกแน่อนท้อง ไม่สลบายตัว คุณแม่อาจจะต้องมีเครื่องมือช่วยให้จำวันที่ลูกอึหรือระยะความถี่ห่างการอึของลูกได้ อาจทำเป็นตารางจดบันทึกไว้ง่ายๆ ด้วยการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้


สีอึบอกอะไร

                อึสีเหลืองปนเขียว - มักเกิดจากการดูดนมที่ท่าดูดทำให้หัวนมยืดไม่ดี ทำให้กลไกน้ำนมพุ่งออกมาน้อย (Let down's reflex) ลองแก้ไขท่าดูดโดยให้ลูกอมลึกถึงลานนม จะช่วยให้น้ำนมพุ่งดีขึ้น
                อึมีมูกปน – อาจมาจากน้ำมูกที่ลูกกลืนลงไปปนออกมากับอึ
                อึมีเลือดปน - ลูกอาจมีแผลที่ร่องก้น หรือเกิดจากอาการแพ้โปรตีนในอาหารของแม่หรือลูก หรืออาจมีเลือดออกจากลำไส้ อึลักษณะนี้คุณแม่ต้องดูให้ละเอียดหน่อย
                อึมีน้ำปนมาก - มักพบในกรณีที่คุณแม่กินยาปฏิชีวนะ จึงทำให้ลูกอาจมีอาการถ่ายเหลว

ข้อควรสังเกต

                เด็กเกิดครบกำหนดถ้าผ่านไป 4-5 วันแล้วยังถ่ายเป็นขี้เทา แสดงว่ากินนมแม่ไม่เพียงพอ หรือกินไม่ถูกวิธีทำให้ไม่ได้น้ำนม ต้องมีการแก้ไขเรื่องวิธีการดูดนมแม่ ด้วยการจัดท่า และการดูดกลืนน้ำนม
                การที่อึลูกเป็นสีเขียวมักเกิดจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอาหารที่แม่กินเข้าไป ซึ่งรู้อย่างนี้แล้วคุณแม่คงต้องระมัดระวังและเลือกรับประทานสักหน่อย

เด็กที่กินนมแม่อาหารทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ และเหลือเป็นกากอาหารเพื่อขับถ่ายเพียงเล็กน้อย ลูกจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจถ่ายแค่ 2-3 ครั้งในสัปดาห์ ถ้าลูกกินอิ่มนอนหลับ ร่าเริงดี ไม่งอแงเพราะอึดอัด น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งในหนึ่งวันแสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล

ปัญหาท้องผูกในทารก

ช่วงอายุที่มักจะท้องผูกมากที่สุดคือประมาณ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งสาเหตุแตกต่างกันไป และการท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น เด็กบางคนถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง ไม่ชอบกินผักและผลไม้ และที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาลคือห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย เป็นต้น แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนน้อยที่มีอาการท้องผูกจากโรคร้ายแรง เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคของไขสันหลัง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น

                ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมาก
                อุจจาระแข็ง อาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือก้อนใหญ่ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย
                บางครั้งจะมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ทำให้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายแต่ละครั้ง

วิธีแก้ปัญหาทารกท้องผูก

                ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ เช่น ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรดื่มน้ำประมาณวันละ 4 ออนซ์ การผสมนมต้องเติมน้ำให้ถูกอัตราส่วน แต่ถ้าลูกอายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้น้ำผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะ
                ให้ลูกมีเวลานั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที ซึ่งช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสำหรับนั่งถ่ายคือ หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว และอาจช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น เวลานั่งถ่ายไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่น เพราะเขาจะไม่ตั้งใจหรือพยายามเบ่งถ่ายอุจจาระ

 
 
Support : | |
Copyright © 2014. Guide Baby Care - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger