Latest Movie :
Recent Movies
 

บันทึกพัฒนาการเด็กตามวัยตั้งแต่อายุ 1 เดือน - 6 ขวบ พัฒนาการ

ข้อแนะนำในการใช้บันทึกพัฒนาการเด็ก สำหรับคุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง

พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล เปิดเผยถึงวิธีการรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของเด็กในวัยที่แตกต่างกันว่า พ่อแม่ควรมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ พร้อมแนะว่าเด็กแต่ละวัยจะมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน

    คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกเติบโตอย่างมีคุณภาพทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย สติ ปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรักและเข้าใจ ให้โอกาสเด็กได้เรียน รู้ และฝึกทำ
    คุณพ่อคุณแม่ และทุกคนในบ้านเป็นแบบอย่างที่จะปลูกฝังให้เด็กมีลักษณะนิสัย และความ เป็นอยู่ที่ดี เหมาะสมกับสภาพของชุมชน ตลอดจนเติบโตขึ้นเป็นคนดีมีความสามารถได้
    บันทึกพัฒนาการเด็กต่อไปนี้ แสดงความสามารถตามวัยของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจมี พัฒนาการเร็ว - ช้า แตกต่างกัน ถ้าถึงอายุที่ควรทำได้แล้วเด็กทำไม่ได้ ควรให้โอกาสฝึกก่อน ใน 1 เดือน ถ้าไม่มีความก้าวหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    ถ้าลูกมีลักษณะต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    - ถ้าลูกอายุ 3 เดือน แล้วลูกไม่สบตา หรือ ยิ้มตอบ ไม่ชูคอในท่านอนคว่ำ
    - ถ้าลูกอายุ 6 เดือน แล้วไม่มองตาม หรือ ไม่หันตามเสียง หรือ ไม่สนใจคนมาเล่นด้วย ไม่ พลิกคว่ำหงาย
    - ถ้าลูกอายุ 1 ปี ยังไม่เกาะเดิน ไม่สามารถใช้นิ้วมือหยิบของกินเข้าปาก ไม่เลียนแบบท่าทาง และเสียงพูด
    - ถ้าลูกอายุ 1 ปี 6 เดือน แล้วยังไม่สามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ เช่น นั่งลง สวัสดี เดินมาหา แม่
    - ถ้าลูกอายุ 2 ปี ยังไม่พูดคำต่อกัน
    - พัฒนาการล่าช้ากว่าวัย น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เจ็บป่วยบ่อยๆ

หมายเหตุ : คุณพ่อคุณคุณแม่ ผู้ปกครองเด็ก บันทึกพัฒนาการเด็กในช่อง "ลูกของท่านทำได้ เมื่ออายุ"


พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 เดือน

    สบตา
    จ้องหน้าแม่

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    ยิ้มแย้ม มองสบตา เล่นพูดคุยกับลูก
    เอียงหน้าไปมาช้าๆ ให้ลูกมองตาม
    อุ้มบ่อยๆ อุ้มพาดบ่าบ้าง

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 2 เดือน

    คุยอ้อแอ้ ยิ้ม
    ชันคอในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    เล่นกับลูกโดยแขวนของสีสด ห่างจากหน้าลูกประมาณ 1 ศอกให้ลูกมองตาม
    พูดคุยทำเสียงต่างๆ และร้องเพลง
    ให้ลูกนอนคว่ำในที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป



พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 3 เดือน

    ชันคอได้ตรงเมื่ออุ้มนั่ง
    ส่งเสียงโต้ตอบ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กินนมแม่อย่างเดียว
    อุ้มท่านั่ง พูดคุยทำเสียงโต้ตอบกับเด็ก
    ให้ลูกนอนเปล หรืออู่ ที่ไม่มืดทึบ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 4 เดือน

    ไขว่คว้า
    หัวเราะเสียงดัง
    ชูคอตั้งขึ้นในท่าคว่ำ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    จัดที่ที่ปลอดภัยให้เด็กหัดคว่ำ คืบ
    เล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้ลูกไขว่คว้า
    ชมเชย ให้กำลังใจลูก เมื่อลูกทำได้

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 5 เดือน

    คืบ
    พลิกคว่ำ พลิกหงาย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    หาของเล่นสีสดชิ้นใหญ่ที่ปลอดภัยให้หยิบ จับ และให้คืบไปหา
    พ่อแม่ช่วยกันพูดคุย โต้ตอบ ยิ้มเล่นกับเด็ก
    พูดถึงสิ่งที่กำลังทำอยู่กับเด็ก เช่น อาบน้ำ กินข้าว

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 6 เดือน

    คว้าของมือเดียว
    หันหาเสียงเรียกชื่อ
    ส่งเสียงต่างๆ โต้ตอบ
    ลูกของท่านทำได้เมื่ออายุ ………………เดือน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    เวลาพูดให้เรียกชื่อเด็ก
    เล่นโยกเยกกับเด็ก
    หาของให้จับ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 7 เดือน

    นั่งทรงตัวได้เอง
    เปลี่ยนสลับมือถือของได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    อุ้มน้อยลง ให้เด็กได้คืบและนั่งเล่นเอง โดยมีคุณแม่คอยระวังอยู่ข้างหลัง
    ให้เล่นสิ่งที่มีสี และขนาดต่างกัน เช่น ลักษณะผิวเรียบ - หยาบ อ่อน - แข็ง
    ให้หยิบจับสิ่งของ เข้า - ออก จากถ้วย หรือกล่อง

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 8 เดือน

    มองตามของที่ตก
    แปลกหน้าคน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    กลิ้งของเล่นให้เด็กมองตาม
    พูดและทำท่าทางเล่นกับเด็ก เช่น จ๊ะเอ๋ จับปูดำ แมงมุม จ้ำจี้ ตบมือ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 9 เดือน

    เข้าใจเสียงห้าม
    เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ
    ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของชิ้นเล็ก

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    หัดให้เกาะยืน เกาะเดิน
    หัดให้เด็กใช้นิ้วหยิบ จับของกินชิ้นเล็กเข้าปาก เช่น ข้าวสุก มะละกอหั่น มันต้มหั่น ฟักทอง ต้ม
    ห้ามใช้ถั่ว หรือของที่จะสำลักได้

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 10 เดือน

    เหนี่ยวตัว เกาะยืน เกาะเดิน
    ส่งเสียงต่างๆ "หม่ำ หม่ำ", "จ๊ะ จ๋า"

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    จัดที่ให้เด็กคลาน และเกาะเดินอย่างปลอดภัย
    เรียกเด็ก และชูของเล่นให้เด็กสนใจเพื่อลุกขึ้นจับ

พัฒนาการเด็กเมื่ออายุ 1 ปี
    ตั้งไข่
    พูดเป็นคำที่มีความหมาย เช่น พ่อ แม่
    เลียนเสียง ท่าทางและเสียงพูด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้เด็กมีโอกาสเล่นสิ่งของโดยอยู่ในสายตาผู้ใหญ่
    พูดชมเชย เมื่อเด็กทำสิ่งต่างๆ ได้
    พูดคุย ชี้ และบอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 3 เดือน

    เดินได้เอง
    ชี้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตามคำบอก
    ดื่มน้ำจากถ้วย

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    พูดคุย โต้ตอบ ชี้ชวนให้เด็กสังเกตของและคนรอบข้าง
    ให้หาของที่ซ่อนใต้ผ้า
    ชี้ให้ดูภาพ และเล่าเรื่องสั้นๆ ให้เด็กฟัง
    ให้เด็กหัดตักอาหาร ดื่มน้ำจากถ้วย และแต่งตัวโดยช่วยเหลือตามสมควร

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 6 เดือน

    เดินได้คล่อง
    รู้จักขอ และทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้โอกาสเด็ก เดิน วิ่ง และหยิบจับสิ่งของโดยระมัดระวังความปลอดภัย
    ร้องเพลง คุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เล่นเกมส์ง่ายๆ
    จัดหา และทำของเล่นที่มีสี และรูปทรงต่างๆ

พัฒนาการของเด็กวัย 1 ปี 8 เดือน

    พูดแสดงความต้องการ
    พูด 2-3 คำ ติดต่อกัน
    เริ่มพูดโต้ตอบ
    ขีดเขียนเป็นเส้นได้

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    เมื่อเด็กพยายามทำสิ่งใด ควรสนใจ ชี้แนะ และให้กำลังใจ โดยให้เด็กคิดเอง และทำเอง บ้าง
    ฝึกลูกให้ช่วยตัวเอง เช่น ขับถ่ายให้เป็นที่ รู้จักล้างมือก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย
    ให้เด็กมีส่วนร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้าน

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี
    เรียกชื่อสิ่งต่างๆ และคนที่คุ้นเคย
    ตักอาหารกินเอง

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    คุณพ่อคุณแม่ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีตลอดเวลา และอบรมสั่งสอนลูกด้วยเหตุผลง่าย
    สอนลูกให้รู้จักทักทาย ขอบคุณ และขอโทษในเวลาที่เหมาะสม

พัฒนาการของเด็กวัย 2 ปี 6 เดือน

    ซักถาม "อะไร" พูดคำคล้องจอง
    ร้องเพลงสั้นๆ
    ร้องเพลงสั้นๆ
    หัดแปรงฟัน

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    พาเด็กเดินรอบบ้าน และบริเวณใกล้ๆ ชี้ชวนให้สังเกตสิ่งที่พบเห็น
    หมั่นพูดคุยด้วยคำพูดที่ชัดเจน และตอบคำถามของลูกโดยไม่ดุ หรือแสดงความรำคาญ
    ชวนลูกแปรงฟัน เมื่อตื่นนอนและก่อนนอนทุกวัน

พัฒนาการของเด็กวัย 3 ปี

    บอกชื่อ และเพศตนเองได้
    รู้จักให้และรับ รู้จักรอ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    สนับสนุนให้ลูกพูด เล่าเรื่อง ร้องเพลง ขีดเขียน และทำท่าทางต่างๆ
    สังเกตท่าทีความรู้สึกของเด็ก และตอบสนองโดยไม่บังคับ หรือตามใจลูกเกินไป ควรค่อยๆ รู้จักผ่อนปรน
    จัดหาของที่มีรูปร่าง และขนาดต่างๆ ให้เด็กเล่น หัดขีดเขียน หัดนับแยกกลุ่ม และเล่นสมมุติ

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี

    ซักถาม "ทำไม"
    ล้างหน้า แปรงฟันเองได้
    บอกขนาด ใหญ่ เล็ก ยาว-สั้น
    เล่นรวมกับคนอื่น รอตามลำดับก่อนหลัง
    ไม่ปัสสาวะรด

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ตอบคำถามของเด็ก
    เล่าเรื่องจากภาพ คุย ซักถาม เล่าเรื่อง
    ฝึกให้ลูกใส่เสื้อผ้า ติด และกลัดกระดุม รูดซิป

พัฒนาการของเด็กวัย 4 ปี 6 เดือน

    รู้จักสีถูกต้อง 4 สี
    ยืนทรงตัวขาเดียว และเดินต่อเท้า
    เลือกของที่ต่างจากพวกได้
    นับได้ 1-10 รู้จักค่าจำนวน 1-5

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกหัดเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว หัดยืนทรงตัวขาเดียว และกระโดดข้ามเชือก
    เล่นทาย "อะไรเอ่ย" กับลูกบ่อยๆ
    ฝึกหัดนับสิ่งของและหยิบของตามจำนวน 1-5 ชิ้น

พัฒนาการของเด็กวัย 5ปี
    พบผู้ใหญ่รู้จักไหว้ทำความเคารพ
    รู้จักขอบคุณ
    รู้จักเล่าเรื่องสั้นๆ

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆ และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ เช่น ซักผ้า
    ฝึกให้ลูกสังเกต รู้จักเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง และจัดกลุ่มสิ่งที่เหมือนกัน

พัฒนาการของเด็กวัย 6 ปี

    นับได้ 1-30 รู้ค่าจำนวน 1-10
    รู้จักซ้าย ขวา
    เริ่มอ่านและเขียนตัวอักษรและตัวเลข

วิธีการที่พ่อแม่สามารถส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการตามวัย

    ให้ลูกนับสิ่งของที่พบเห็น หัดอ่าน เขียนรูป และตัวอักษร
    พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับบุคคลต่างๆ และประเพณีท้องถิ่น
    ให้ลูกวาดรูปตามความคิดของตน และเล่าเรื่องจากรูปที่วาด หรืออธิบายสิ่งที่ตนพบเห็น

อนามัยวัยทารก ให้อาหารถูกหลักลูกรักแข็งแรง

อนามัยวัยทารก

ให้อาหารถูกหลักลูกรักแข็งแรง
     “อาหาร” ที่เหมาะสำหรับทารกทั้งชนิดปริมาณ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนา และการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง ทารก
เป็นช่วงชีวิตที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การเจริญเติบโตของสมองเกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งมีการพัฒนา
ไปประมาณร้อยละ 80 ของสมองผู้ใหญ่
     ดังนั้น อาหารระหว่างที่แม่ตั้งครรภ์ตลอดจนอาหารทารกหลังคลอด จึงมีความสำคัญอย่างมาก น้ำหนักทารกแรกคลอดจะประมาณ 3
กิโลกรัม แต่เมื่อทารกอายุได้ 5 เดือนจะมีน้ำหนักเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด และควรเป็น 3 เท่าเมื่อทารกอายุได้ 1 ปี จะเห็นว่า
ไม่มีวัยใดในชีวติของคนเราที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเท่าช่วงวัยทารก ดังนั้นความต้องการ สารอาหารต่าง ๆ จึงเพิ่มขึ้นด้วยถ้าได้
รับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เพียงพอการเจริญเติบโตก็จะหยุดชะงัก ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะให้อาหารชนิดต่าง ๆ จึงมีความจำเป็น เพื่อให้
ทารกมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
   
สารอาหารสำคัญที่ลูกน้อยต้องการ
     พลังงานและโปรตีน ความต้องการพลังงานและโปรตีนเทียบกับน้ำหนักตัวจะเห็นว่าสูงมากกว่าเด็กโตหรือว่าผู้ใหญ่ แหล่งโปรตีนและพลังงานในช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ดีที่สุดคือ นมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เครื่องชี้วัดการเจริญของเซลล์สมอง คือเส้นรอบศีรษะ
     แร่ธาตุเหล็ก จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทารกอายุ 4-12 เดือน ควรได้รับแร่ธาตุเหล็กจากตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง
     ไอโอดีน ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ไอโอดีนช่วยพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของร่างกาย ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร
     แคลเซียม จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่ได้รับจากนม
     สังกะสี ช่วยในการเจริญเติบโต สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีมากในอาหารพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และอาหารทะเล
     วิตามินเอ มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต สร้างเสริมเซลล์และระบบภูมิคุ้มกันช่วยเกี่ยวกับการมองเห็น แหล่งอาหารสำคัญ คือ ตับ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม และผลไม้สีแหลืงแสด

พัฒนาการกินในขวบปีแรก
     ลูกแรกคลอด คุณหมอจะให้นำมาแนบอกแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด ให้ลูกได้ดูดนมแม่ แม้ว่าบางครั้งแม่จะยังไม่มีนม หรือมีน้อยมากซึ่งเป็นหัวน้ำนมที่เป็นภูมิต้านทานของลูก เด็กแรกคลอดจะทำได้แค่ดูดและกลืนจึงยังไม่ต้องให้อาหารอื่นนอกจากนม ต่อเมื่อลูกอายุย่างเข้าเดือนที่ 4 จึงเริ่มให้ลูกได้อาหารอื่น นอกจากทารกเริ่มต้องการพลังงานแร่ธาตุวิตามินเพิ่ม และในช่วงนี้จะใช้ลิ้นช่วยให้อาหารในปากไปสู่การกลืน ควรเริ่มอาหารทีละอย่าง และทีละน้อย ๆ ก่อน 1 ช้อนเล็ก และจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้น เช่น เริ่มด้วยข้าว
บดไข่แดงบวกน้ำสุกเพื่อให้เหลวและเปลี่ยนเป็นกล้วยน้ำหว้าสุกบด (ไม่ใช้ไส้) ข้าวบดกับตับ ถ้าทารกปฏิเสธไม่ยอมรับอาหารใดให้เว้นเอาไว้ 3-4 วันแล้วกลับมาป้อนใหม่
     เมื่ออายุได้ 6-7 เดือน ทารกคุ้นเคยกับอาหารเสริมแล้ว ทารกบางคนเริ่มมีฟัน ดังนั้น อาหารจะค้นขึ้น เนื้อสัตว์สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ได้ปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1 ถ้วย หรือว่าแทนนม 1 มื้อ หมุนเวียนอาหารโดยเฉพาะผัก เพื่อฝึกการยอมรับรสชาติของผักหลาย ๆ ชนิด และไม่ปฏิเสธผักเมื่อโตขึ้น
     อายุ 8-12 เดือนให้อาหารหลัก 2 มื้อ นมอีก 4 มื้อ น้ำหนักตัวประมาณ 7-8 กิโลกรัม เด็กเริ่มหยิบของด้วยมือข้างเดียว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ในการหยิบของ ให้อาหารที่เป็นชิ้นที่นิ่มเมื่อเข้าปาก เช่น ขนมปังขาไก่ ฟักทองต้มเป็นชิ้น ๆ ผักต้มเด็กจะได้ช่วยตัวเองในการหยิบจับอาหารและสนุกกับการกิน
     อายุ 1-1ปีครึ่ง อาหาร 3 มื้อ นม 3 มื้อ มีสารอาหารครบเหมือนผู้ใหญ่โดยอาหารสุกอ่อนนุ่มเป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เคี้ยวได้ เด็กเริ่มที่จะใช้ช้อนในการตักเอง แต่ยังหกอยู่ ต้องปล่อยให้เด็กช่วยตัวเองในการตักอาหารและให้เด็กนั่งโต๊ะในการกินอาหารร่วมกับผู้ใหญ่เพื่อให้เคย ๆ ฝึกวินัยช่วงอายุนี้ เด็กสามารถดื่มนม ดื่มน้ำจากถ้วยได้แล้ว
     เมื่ออายุ 2 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 12 กิโลกรัม ตักอาหารกินเอง ถือถ้วยน้ำเองยังหกอยู่บ้าง เริ่มคิดตัดสินใจเอง มีการต่อต้านคำสั่ง แต่ถ้าได้ฝึกให้ลูกกินถูกหลักถูกวิธีตั้งแต่เริ่มกินได้ ก็จะไม่ยุ่งยากหรือว่าปฏิเสธในการกินผักให้หนักใจ

การให้อาหารที่เหมาะสมสำหรับทารก
     ถึงแม้ว่านมแม่จะเป็นอาหารที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่งนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ไม่พอสำหรับทารก ดังนั้นอาหารเสริมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ช่วงอายุที่เหมาะสมในการให้อาหารเสริมแก่ทารกก็คือ เริ่มให้ลูกอายุ 4-6 เดือนขึ้นไปเพราะว่าทารกมีความต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากนมแม่
     อาหารที่เหมาะกับทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 เดือนเต็มก็คือนมแม่อย่างเดียว แต่พอทารกอายุครบ 4 เดือนเต็ม ควรให้ข้างบดใส่ไข่แดงต้มสุก สลับกับตับ กล้วยน้ำหว้าสุกครูด ปริมาณ 1 –2 ช้อนชา แล้วค่อยเพิ่มจนถึง ½ ถ้วย แล้วให้กินนมแม่ตาม
    - ทารก 5   เดือน ควรเพิ่มปลาต้มสุกและผักต้มเปื่อยปริมาณ ½ ถ้วย
    - ทารก 6 เดือน ควรเพิ่มเนื้อสัตว์สับละเอียดและข้าวบดที่หยาบขึ้นประมาณเกือบ 1 ถ้วย
    - ทารก 7 เดือน ควรเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง และสามารถให้ไข่ทั้งฟองได้ ปริมาณอาหาร 1 ถ้วย สามารถแทนนมได้ 1 มื้อ
     - ทารก 8-9 เดือน สามารถให้อาหารที่หยาบขึ้นและให้อาหารแทนนมได้ 2 มื้อ
     - ทารก 10-12 เดือน เนื้อสัมผัสของอาหารจะหยาบขึ้นและไม่ต้องบด และให้อาหารแทนนมได้ 3 มื้อ

ทำอย่างไรไม่ให้ลูกเบื่ออาหาร
     ทารกช่วงอายุ 4 เดือนขึ้นไปแล้ว เป็นช่วงที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นระยะที่เปลี่ยนจากการกินอาหารเหลวมาเป็นอาหารที่หยาบกว่าเดิม เป็นช่วงที่ควรฝึกหัดนิสัยการกินให้เด็กเพิ่มเสริมพฤติกรรมการกินที่ดี เมื่อเด็กโตขึ้นบางครั้งอาจจะเบื่ออาหาร ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีข้อแนะนำดังนี้
     1. ควรให้อาหารที่มีลักษณะละเอียดหรือว่าหยาบให้เหมาะสมกับวัย เช่น การให้ข้าวตุ่นที่เนื้อละเอียดจนเกินไปอาจทำให้เด็กเบื่ออาหาร เมื่อเด็กโตขึ้นพอที่เคี้ยวอาหารได้ก็ควรเปลี่ยนเป็นข้าวที่แห้งขึ้น
     2. ควรหาวิธีให้เด็กคุ้นเคยต่อรสชาติของอาหาร เช่น เมื่อถึงวัยที่เด็กมีพัฒนาการชอบที่จะหยิบจับของใส่ปาก ควรหาอาหารที่ไม่เหนียว หรือว่าแข็งจนเกินไปให้เด็ก ถือกินเล่นจะช่วยให้เด็กคุ้นเคยกับกลิ่น และรสชาติของอาหาร
     3. ควรรู้จักวิธีการปรับเปลี่ยนอาหารให้หลากหลาย เช่น อาหารผักแทนที่จะเป็นผักล้วน ๆ ก็ควรปรุงไปกับอาหารอื่น ๆ เช่น ไข่เจียว
หรือว่าไข่ตุ่นใส่ผักสับละเอียดหรือว่าแกงจืดแตงกว่ายัดไส้หมูบด
     4. ส่วนเนื้อสัตว์ก็ควรหัดให้กินแบบที่ไม่เหนียวก่อน เช่น ให้กินเนื้อปลา ตับบด ก่อนที่จะกินพวกเนื้อ หมู ไก่ ตามลำดับ
     5. สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมโดยให้ร่วมโต๊ะอาหารพร้อมผู้ใหญ่ และผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการกิน เช่น การกินผัก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และปรับตัว นอกจากนี้ควรรู้จักสังเกตและคอยแก้ไขปัญหาให้เด็กจนกว่าเด็กจะโต และรู้จักเลือกรับประทานอาหารของตนเองได้

อาหารสำหรับเด็กท้องผูกและท้องเสีย
     การได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมจะช่วยให้การขับถ่ายของทารกดำเนินไปด้วยดีในระยะแรกทารกจะขับถ่ายด้วยการกระตุ้นของแล็กโทสในนม ซึ่งถูกย่อยไม่หมดแล็กโทสที่ถูกย่อยไม่หมดจะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ถูกหมักและย่อยต่อโดยแบคทีเรีย ทำให้เป็นกรดอ่อน ๆ ซึ่งกรดนี้จะทำให้ลำไส้เกิดการระคายเคือง เกิดการบิดตัวและกรดนี้มีคุณสมบัติในการดูดน้ำเข้าหาตัวด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้เด็กก็จะขับถ่ายออกมา (จะเห็นได้ว่าเด็กที่ทานนมแม่ทุกคนจะขับถ่ายมีน้ำปนออกมา ซึ่งไม่ใช้ท้องเสีย ไม่ควรตกใจ) ทารกอายุน้อย ๆ กินนมแม่จะไม่เกิดอาการท้องผูก ถ้าลูกเกิดกินนมผสมต้องผสมนมให้ถูกส่วน เพราะยิ่งใสนมให้น้อยเกินน้ำมากขึ้น ลูกจะยิ่งท้องผูกหนักขึ้น เพราะการที่เด็กทารกถ่ายได้ขึ้นกับแล็กโทสที่อยู่ในนมจะย่อยไม่หมด
     การแก้อาการท้องผูก ละลายน้ำผึ้งหรือน้ำตาลปี๊บ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำพอ ...... ต้มให้เดือด ทิ้งให้เย็นให้เด็กกินวันละ 2-3 ครั้ง ถ้าเด็กโตเพิ่มอาหารที่มีกากพวกผักใบเขียว ผลไม้ เช่น มะละกอ ส้มเขียวหวาน หรือเด็กที่โตกว่า 2 ขวบ อาจให้กินน้ำมะขามที่ต้มสุกแล้ว และฝึกให้ถ่ายหลังอาหารเช้าเป็นประจำจะได้ไม่เกิดท้องผูก
     ในกรณีที่ทารกอุจจาระร่วง
     ถ้าลูกท้องเสียฉับพลัน ให้แก้สภาวะสูญเสียน้ำก่อนภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยให้ดื่มน้ำเกลือผงละลายน้ำแล้วให้ดูดนมแม่ต่อไป ถ้าเด็ก
กินนมผสมให้ผสมเจือจางเท่าตัวก่อนแล้วค่อยเพิ่มเป็นปกติภายใน 3 วัน
     อาหารอื่นในระหว่างท้องเสีย ควรเป็นอาหารอ่อน ๆ จำนวนน้อยกว่าแล้วค่อยเพิ่มเป็นเท่ากับปกติ
     - โจ๊ก , ข้าวต้ม
     - ดื่มนมแม่

การพัฒนาการของเด็กตามวัยที่เหมาะสม
     ในช่วงขวบปีแรกนั้นเด็กจะเติบโตเร็วมาก ในแต่ละเดือนที่ผ่านไปจะมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ถ้าพ่อแม่หรือว่าคนเลี้ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการพัฒนาการของเด็กในวัยนี้ ก็สามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยได้
     พัฒนาการของเด็กในขวบปีแรกมีดังนี้
     แรกเกิด ทารกจะมองจ้องได้เฉพาะระยะใกล้ ๆ แต่ว่ายังหันศีรษะไม่ได้ ช่วงเดือนที่ 1 เด็กจะเริ่มชูศีรษะได้เล็กน้อยเมื่อนอนคว่ำ หันซ้าย หันขวา มองตามได้เล็กน้อย ยิ้มไม่มีความหมาย และทำเสียงในคอได้ ช่วงเวลาที่แม่ให้นมลูกควรมองสลับตาและยิ้มแย้ม และเอียงหน้าไปมาให้เด็กมองตาม ช่วงเดือนที่ 2 เด็กจะชันคอได้แข็งขึ้น ถ้าจับนั่งจะยกศีรษะหรือว่าแหงนหน้าขึ้นได้ ฟังเสียงคุย ยิ้มตอบ แสดงความสนใจได้แล้ว ให้หาของเล่นสีสันสดในแขวนให้เด็กมองตามและพูดคุยกับเด็กด้วยเสียงต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ 4 เด็กบางคนจะชันคอได้แข็ง สามารถใช้มือและแขนยันยกตัวชูได้ และจะแสดงสีหน้าดีใจเมื่อเห็นหน้าพ่อหน้าแม่ หรือคนเลี้ยง ดังนั้นจึงควรจัดที่ปลอดภัยเอาไว้ให้เด็กหัดคว่ำหรือหัดคืบเมื่อเข้าเดือนที่ 6 เด็กจะคว่ำและหงายเองได้ นั่งเองได้ชั่วครู่ จับให้หัดยืนได้ หันหน้าตามเสียงเรียก เล่นน้ำลาย และรู้จักแปลกหน้าคนแล้ว เพราะฉะนั้นต้องอุ้มเขาให้น้อยลง และปล่อยให้คลานเล่นเองมากขึ้น แต่ต้องมีผู้ใหญ่คอยระวังอยู่ข้างหลังด้วย ในช่วงเดือนที่ 9 เด็กจะนั่งได้มั่นคง คลานเกาะยืน ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มื้อได้ เล่นจ๊ะเอ๊ได้ โบกมือหรือว่าสาธุได้ ช่วงนี้ต้องให้เด็กได้หัดใช้นิ้วหยิบของหัดเดิน และหัดคลาน พออายุครบ 1 ขวบ ลูกจะตั้งไข่ เกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ หยิบของใส่ถ้วยได้ เรียกพอเรียกแม่หรือว่าพูดเป็นคำ ๆ ได้เช่น หม่ำ เที่ยว คุณแม่ควรเริ่มสอนให้เขารู้จัก
อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหัดดื่มจากแก้วหรือหัดเดินจูงมือ

เลี้ยงลูกอย่างมีคุณภาพ
     เด็กจะเติบโตเป็นคนดีมีความสามารถได้พ่อแม่มีส่วนมากทีเดียวเพราะต้องเป็นผู้ที่ปลูกฝังให้ลูกเป็นเด็กมีความพยายามด้วยต้องพัฒนาความสามารถของลูกให้เหมาะสมตามวัยครับ การเสริมสร้างความสามารถให้ลูกเป็นเด็กที่มีนิสัยขยันหมั่นเพียรนั้นมีหลักสำคัญ
ที่ต้องนำมาปฏิบัติประกอบการ 3 ประการ คือ
     1. การฝึกหัดให้เด็กพึ่งพาตนเอง ซึ่งพ่อแม่ต้องเริ่มปลุกฝังตั้งแต่ลูกอายุขวบกว่า ๆ จนกระทั้ง 4-5 ขวบ เพราะว่าเด็กวัยนี้เป็นไม้อ่อนดัดง่าย เช่นตอนเล็ก ๆ ก็ฝึกให้เขาตักอาหารรับประทานเอง ถอดเสื้อเองหรือ 2-4 ขวบก็ฝึกให้ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ .....
     2. หลักประการที่ 2 คือ พ่อแม่ต้องอบรมลูกด้วยความรัก ความเข้าใจและใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เรื่องนี้สำคัญมากต้องไม่ใช้วิธีการบังคับหรือฝืนใจและไม่ดุด่าให้ลูกกลัวหรือเสียกำลังใจ พ่อแม่ต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างคอยให้คำแนะนำพูดชมเชยเมื่อลูกทำได้และให้รางวัลถ้าเขาทำได้ดี ซึ่งรางวัลสำหรับเด็กเล็กนั้น เพียงแค่การกอดอย่างอ่อนโยน หอมแก้ม ตบมือ ให้เท่านี้เด็กก็ภูมิใจมากแล้ว เรียกว่าการใช้ความรักและเหตุผลในการสอนจะส่งเสริมให้เด็กมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสิ่งที่พ่อแม่อบรมให้ดียิ่งขึ้น
     3. และหลักประการสุดท้ายคือ การเล่านิทานหรือเรื่องที่เกี่ยกวับผู้มีความมานะพากเพียรให้ลูกฟังบ่อย ๆ สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เด็ก
มีความเพียรพยายามในทางที่เหมาะสม โดยเลือกนิทานที่มีตัวเอก ตัวเอกที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ โดยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมตามความสามารถที่มีอยู่ หรือว่าแก้ปัญหาด้วยปัญญาและความมานะอดทน หลักทั้ง 3 ประการนี้ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการความสามารถมีความเพียรพยายาม และอย่าลืมปลูกฝังจริยธรรม คุณธรรม และลักษณะที่ดีอื่น ๆ ให้ลูกได้พร้อม ๆ กันไปด้วย

พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมทารกวัย 3 เดือน


พัฒนาการทางร่างกายและการส่งเสริม


ลูกวัย 3 เดือนจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นมาก สามารถยกศีรษะได้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะมีสิ่งล่อตาให้มองหา เริ่มบังคับกล้ามเนื้อคอได้อย่างมั่นคง หากคุณพ่อคุณแม่จับลูกนั่งพิงลูกจะเริ่มหันซ้ายขวาและชะโงกหน้ามาดูสิ่งที่ลูกสนใจ และหากจับลูกยืนเขาจะทำท่าเหมือนกระโดดจั๊มขาคู่ อีกทั้งมือกับตาเริ่มประสานกันมากขึ้นโดยสังเกตจากลูกหยิบของเข้าปากได้แม่นยำขึ้น


ด้านสายตา ลูกจะหันมองแสง สี รูปร่าง และเสียงของวัตถุ เริ่มมองเพ่งไปที่โมบายที่แกว่งไปมา รวมทั้งจ้องใบหน้าคนอย่างมีจุดหมาย และในเดือนที่ 3 นี้ลูกสามารถมองรอบๆ ห้องได้อย่างเต็มตาแล้ว

พัฒนาการสำคัญที่เห็นชัดในทารกวัย 3 เดือนนี้ คือการใช้มือ กุมมือ จับมือ ตีมือ และจ้องมองมือตนเองมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าประสาทตาทำงานได้ดีขึ้นมากแล้วนั่นเอง บางครั้งถึงกับยิ้มคิกคักเมื่อจับมือตนเองได้ แต่หากลูกหยิบสิ่งของที่อยู่ในมือและหล่นไป หากรอแล้วของสิ่งนั้นไม่กลับมาอยู่ในมือ ลูกก็จะละเลยความสนใจนั้นไป ลูกจะไม่ชอบมองสิ่งซ้ำๆ และมองหาสิ่งแปลกใหม่หรือสะดุดตาอยู่เสมอ


พัฒนาการทางร่างกายที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                ควบคุมการทำงานของร่างกายดีขึ้น
                มองตามและหันตามของที่เคลื่อนไหว
                หากมีเสียงดังขึ้น จะหยุดดูดนิ้วหรือดูดนมและหันหาที่มาของเสียง
                รู้ความแตกต่างของเสียงพูดและเสียงชนิดอื่นๆ
                นอนคว่ำชันคอนาน แต่ชันอกได้ไม่กี่นาที
                ยกแขนทั้งคู่หรือขาทั้งคู่ได้
                เมื่อจับยืนขาจะยันพื้นได้ครู่เดียว
                นั่งพิงได้ ศีรษะเอนเล็กน้อย
                ตี คว้า ดึง สิ่งของเข้าหาตัวเอง
                เชื่อมโยงการเห็นและการเคลื่อนไหวได้
                นอนกลางคืนได้นาน 30 ชั่วโมง ตื่นช่วงกลางวันมากขึ้น



พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม
ลูกจะเข้าใจความพึงพอใจ เช่น ถ้าลูกเอามือเข้าปากแล้วจะรู้สึกพอใจ หรือการเอื้อมมือเข้าไปจับโมบายเพราะความพึงพอใจที่อยากจะทำ สามารถรอคอยได้ดีขึ้น เมื่อถึงเวลากินนมลูกจะอารมณ์ดี เพราะลูกจะรู้ว่าถึงช่วงเวลาแห่งความสุขแล้ว


พัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจที่เด่นชัดในทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                หยุดร้องไห้ทันทีเมื่อเห็นหน้าคน
                ตอบโต้สิ่งเร้าแทบทุกชนิด
                ยิ้มง่ายและยิ้มทันที
                มีเหตุผลมากยิ่งขึ้น และสามารถรอคอยได้บ้าง



พัฒนาการทางภาษาและการส่งเสริม
ลูกจะเข้าใจกิจวัตรประจำวันและเข้าใจพ่อแม่มากขึ้น ถึงแม้ว่าลูกยังอ้อแอ้อยู่ก็จะใช้ภาษากายเข้าช่วย เช่น เมื่อแม่เอานมมาก็จะโผเข้าหา อ้าปากรอเพื่อดูดนม และเริ่มเรียกอ้อแอ้ให้คุณสนใจ หรือเลือกวิธีร้องไห้ให้คุณพาไปเดินเล่นข้างนอกแทน


ลูกจะติดต่อกับพ่อแม่ด้วยวิธีจ้องตา ทำเสียงอืออา แม้ว่าสักพักลูกจะมองไปทางอื่น แต่ก็จะกลับมามองหน้าพ่อแม่อีกครั้งพร้อมส่งเสียงเหมือนทักทายด้วย

พัฒนาการทางภาษาที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่

                เงี่ยหูฟังเสียงอื่นๆ
                พูดแบบอือออ อ้อแอ้ หรือเสียงในลำคอตอบรับการได้ยิน
                โต้ตอบคำพูดหรือรอยยิ้มของแม่
                แยกออกระหว่างเสียงต่างๆ และเสียงของแม่
                ใช้การร้องไห้เพื่อบอกความต้องการเป็นหลัก
                หันไปหาเสียงพูดหรือเสียงเพลง


พัฒนาการเด็ก
พัฒนาการทางสังคมและการส่งเสริม
ลูกจะชอบอยู่กับคนอื่นและไม่ชอบที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่คนเดียวหรือเล่นคนเดียวนานๆ ชอบเล่นกับพ่อแม่พี่น้อง และหวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะนำสิ่งใหม่ๆ มาให้ดู แต่เด็กบางคนมีบุคลิกเงียบเฉย เรียบร้อยก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ต้องการความสนใจ เด็กทุกคนล้วนต้องการการได้รับความสนใจและเป็นอันดับหนึ่งในใจพ่อแม่เสมอ


พัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                แสดงอารมณ์ด้วยสีหน้าถ้าเจอคนคุ้นเคยจะแสดงออกทั้งร่างกาย
                เรียกร้องความสนใจ
                ต่อต้านเมื่อต้องอยู่คนเดียว



พัฒนาการทางสมองและการส่งเสริม
คลื่นสมองของเด็กอายุ 3 เดือน มีลักษณะใกล้เคียงกับสมองผู้ใหญ่ จะเห็นได้ว่าลูกสามารถควบคุมร่างกายและการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นแล้ว


ลูกจะจดจำเสียงพ่อแม่ได้และสนใจเสียงต่างๆ พร้อมอยากรู้ที่มาของเสียงนั้นด้วย ลูกจะเรียนรู้ผ่านมือมากขึ้นโดยเรียนรู้จากการสัมผัส รูปร่าง ขนาดของสิ่งของ สมองจะแยกแยะความแตกต่างเก็บเป็นข้อมูลชีวิตในภายภาคหน้า ซึ่งจะตามมาด้วยหลักในการเรียนรู้เรื่องเหตุและผล ช่น เมื่อลูกร้องไห้และเมื่อได้ยินเสียงแม่เดินเข้ามาก็จะหยุดร้อง เพราะรู้ว่าสักพักก็จะได้กินนมแล้ว เป็นต้น

ช่วงเวลา 6 เดือนแรกนี้เป็นช่วงเวลาทองที่สภาพแวดล้อม พ่อ แม่ และคนใกล้ชิดมีอิทธิพลต่อลูกเป็นอย่างมาก ซึ่งคนใกล้ชิดควรช่วยดูแลลูกเติมเต็มความต้องการพื้นฐาน เช่น กินอื่ม นอนหลับ ขับถ่ายดี รวมทั้งการดูแลเรื่องการเรียนรู้ โดยสอนให้ลูกได้ลองสัมผัส ดมกลิ่น ชิมรส กับสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวบ้าง เพราะสิ่งใหม่ๆ จะทำให้ลูกมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้โลกใบนี้และพัฒนาสมองได้อย่างดีด้วย


พัฒนาการทางสมองที่เด่นชัดของทารกวัย 3 เดือน ได้แก่
                รู้ความแตกต่างของใกล้และไกล
                สนใจสิ่งหนึ่งๆ ได้นานถึง 45 นาที
                เบื่อเสียงหรือสิ่งซ้ำๆ
                เรียนรู้ผ่านมือและการมองเห็น

เด็กทารกสื่อสารด้วยการร้องไห้


   ช่วงเวลาสำหรับคุณแม่มือใหม่ในการเลี้ยงทารกช่วงวัยเด็กอ่อน แรกเกิดถึงประมาณ 3 เดือน เป็นช่วงที่ต้องเตรียมรับมือกับเสียงร้องของลูกน้อยที่หนักหน่วงที่สุด โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกที่เด็กทารกต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกครรภ์ และกำลังอยู่ในช่วงที่ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายโดยเฉพาะระบบลำไส้และการย่อยอาหารกำลังปรับตัว พอเมื่อผ่านพ้นช่วงเดือนแรกไป การร้องของเด็กก็จะลดน้อยลงจนเข้าเดือนที่ 3 ลองมาดูกันค่ะว่าการร้องของเด็กทารกสื่อสารอะไรให้คุณแม่ทราบบ้าง


หนูร้องเพราะหิวนม เด็กทารกแต่ล่ะคนมีอุปนิสัยการกินแตกต่างกันทั้งในเรื่องของช่วงเวลาและปริมาณ เด็กบางคนกินนมตรงเวลาแล้วหลับยาวแต่เด็กบางคนกินทีล่ะน้อยแต่ตื่นมากินบ่อย เมื่อถึงเวลากินนมเด็กเริ่มหิวก็จะร้องให้คุณแม่ป้อนนม นอกจากการร้องเพราะหิวนมตามช่วงเวลาปกติแล้วในบางครั้งการร้องอาจเป็นเพราะทานนมไม่อิ่ม อาจเนื่องมาจากน้ำนมแม่มีไม่เพียงพอหรือเด็กเริ่มทานนมมากขึ้นตามช่วงอายุ ดังนั้นเพื่อให้เด็กหลับได้ยาวนานขึ้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตุว่ามีนมเพียงพอสำหรับลูกน้อยรึเปล่า หรือถ้าให้ดื่มนมขวด สามารถสังเกตุได้ว่าเมื่อเวลาที่ดูดจนหมดขวด เด็กจะพยายามดูดขวดเปล่าต่ออย่างเอาจริงเอาจังเสียง ดังจ๊วบ ๆ นั่นแปลว่าเขากินไม่อิ่มค่ะถ้าหลับไปเดี๋ยวก็ตื่นขึ้นมาร้องกินนมอีก

หนูเหนื่อยอยากนอนแล้ว เด็กทารกพออ่อนเพลียและเริ่มง่วงนอนจะเริ่มงอแงและต้องแสดงพลังเฮือกสุดท้ายคือการร้องไห้ออกมา คุณแม่อาจลองให้นมและเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็กสบายตัวและวางลงปล่อยให้เขาร้องหลับไปเอง แต่ถ้าเด็กยังร้องไห้ไม่ยอมหลับ การอุ้มขึ้นมากล่อมให้เขาสงบลงและผล๊อยหลับในอ้อมอกแม่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งค่ะ


ผ้าอ้อมหนูเลอะ ความเปียกชื้นจากฉี่หรืออึทำให้เด็กทารกรู้สึกไม่สบายตัวและร้องบอกคุณแม่ให้เปลี่ยนผ้าอ้อมให้หนูหน่อยจ้าาา

หนูยังไม่ชินกับโลกภายนอก โดยเฉพาะเด็กอ่อนในช่วงแรกเกิด-1เดือนยังปรับตัวได้ไม่ดีในสภาพแวดล้อมนอกครรภ์ของคุณแม่ การร้องของเด็กในบางครั้งก็ไม่ใช่เพราะหิวนม ไม่สบายตัว หรือป่วยแต่เป็นเพราะเขายังปรับตัวได้ไม่ดีกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีเสียงอึกทึก แขนขาเคว้งคว้างไปในอากาศ(จากที่เคยขดอยู่ในท่าเดียวตลอด 9 เดือนในครรภ์แม่) เสียงภายนอกก็อึกทึกไม่เหมือนตอนอยู่ในท้องแม่ หรือแสงสว่างจ้าที่เข้ามาแยงตา หากสาเหตุการร้องเป็นเพราะความไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ การอุ้มเด็กขึ้นมากระชับในอ้อมอกแม่จะช่วยให้เด็กรู้สึกถึงความมั่นคงปลอดภัย(ได้ขดตัวอยู่ในอ้อมอกแม่เสมือนอยู่ในครรภ์)
สำหรับการปรับสภาพแวดล้อมภายในห้อง ลดแสงสว่าง เปิดเครื่องดูดฝุ่นเบา ๆ (เลียนเสียงเหมือนตอนอยู่ในน้ำคร่ำในครรภ์แม่) รวมถึงการพันผ้าห่อตัวเด็กในช่วงเวลานอน สามารถช่วยให้เด็กสงบลงและหยุดร้องและนอนได้นานขึ้น



หนูท้องอืด อาการท้องอืดมีลมในกระเพาะจะเป็นมากในช่วงเด็กอ่อนแรกเกิด-2 เดือน เนื่องจากระบบลำไส้และการย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เด็กจะร้องไห้งอแงเพราะแน่นท้องรู้สึกไม่สบายตัว ปกติหลังกินนมคุณแม่ควรอุ้มเด็กพาดบ่าให้เรอออกเพื่อให้เด็กสบายตัว การทามหาหิงส์หรือให้ทานยาแก้ท้องอืด(ควรปรึกษาแพทย์) สามรถช่วยลดอาการท้องอืดในเด็กได้ และคุณแม่ควรสังเกตุการถ่ายของเด็กหากไม่ได้ถ่ายเป็นเวลา 2-3 วันเด็กก็จะมีอาการแน่นท้องเช่นกันค่ะ

หนูนอนไม่หลับ เด็กแต่ล่ะคนก็มีนิสัยการนอนแตกต่างกันบางคนนอนยาวแต่เด็กบางคนก็มักจะตื่นมาร้องกวนได้หลาย ๆ ครั้งกลางดึกทั้งที่ไม่ได้หิวนม สำหรับคำแนะนำโดยเฉพาะเด็กทารกในช่วงเดือนแรกที่ชอบตื่นมาร้องกวนอาจมีสาเหตุมาจากการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกยังทำได้ไม่ดี เนื่องจากต้องนอนในพื้นที่กว้าง ๆ ต่างกับตอนอยู่ในครรภ์ที่ได้นอนคุดคู้ขดตัวในพื้นที่แคบ ๆ เวลาตื่นมากลางดึกแขนขาก็จะรู้สึกเคว้งคว้างในอากาศ และยากที่จะนอนหลับต่อได้ การห่อตัวเด็กในเวลานอนโดยเฉพาะกับเด็กทารกในช่วงเดือนแรกสามารถช่วยลดการร้องกวนลงได้เนื่องจากการห่อตัวเสมือนว่าเด็กได้นอนขดแขนขาแนบชิดอยู่ในครรภ์

หนูป่วย เด็กทารกร้องเนื่องจากอาการป่วยมีไข้ตัวร้อน มีน้ำมูก คุณแม่สามารถสังเกตุอาการได้ง่าย แต่หากเด็กแผดร้องเสียงดังโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ(โดยที่เด็กไม่ได้มีอาการโคลิค)และคุณแม่ได้ทำทุกวิถีทางแล้ว คุณแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยค่ะเพราะอาจเป็นอาการป่วยภายในที่เราไม่ทราบได้


หนูเป็นโคลิค "อาการเด็กร้องโคลิค"มักเกิดในเด็กอ่อนพบมากในช่วงปลาย ๆ เดือนแรก และเด็กจะร้องต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน(ชาวบ้านมักเรียกอาการโคลิคว่า เด็กร้อง 3 เดือน) ลักษณะอาการเด็กจะแผดเสียงร้องจ้าเหมือนเจ็บปวดอยู่นานหลายนาทีเด็กบางคนร้องนานเป็นชั่วโมง และจะร้องในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันทุกวันและหยุดร้องไปเอง พอหยุดร้องเด็กก็จะกลับมาอารมณ์ดีเหมือนเดิมกินนมได้ตามปกติ สำหรับอาการเด็กที่เป็นโคลิคในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวกับระบบการการย่อยอาหารของเด็กยังทำงานไม่สมบูรณ์ เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้นอาการโคลิคก็จะหายไปเอง สำหรับการรับมือกับเด็กที่มีอาการโคลิคติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ

การนอนของลูกน้อยวัยแรกเกิด – 3 เดือน

    ถ้าเราจะกล่าวในเรื่องของกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมที่ทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนั้นพึงกระทำได้นั่น ต้องบอกว่ามีแค่สอง สาม อย่างเท่านั้นเอง คือ การร้องไห้ เมื่อต้องการที่จะสื่อสารหรือบอกในส่วนของอารมณ์ความรู้สึกในตอนนั้น อาจจะรู้สึกไม่สบายตัว หิว หรือมดกัด หรือกิน เพราะลูกน้อยต้องการนมจากคุณแม่อีกทั้งในวัยนี้ก็กินได้แค่นมเท่านั้น และสุดท้าย คือการนอน ซึ่งต้องบอกเลยว่าการนอนของลูกน้อยนั้น ถือว่าเป็นกิจกรรมหรือกิจวัตรหลักๆเลยที่ลูกน้อยทำทุกวัน ก็แม้แต่คนเราโตแล้วยังต้องการเวลาพักผ่อนเลย จริงหรือไม่ ดังนั้นการนอนจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องของการนอนของทารกกันดีกว่า โดยเราจะมุ่งเน้นไปในโซนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน ว่าแต่มีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย

ท่านอนที่เหมาะสมสำหรับทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน คือ

ท่านอนหงายหรือนอนตะแคง อาจจะเกิดข้อสงสัยมาว่า ทำไมต้องนอนหงายกับนอนตะแคงละ นอนคว่ำไม่ได้หรอ ถ้าเอาแต่นอนหงาย ศีรษะลูกน้อยไม่สวยกันพอดี หากจับนอนคว่ำแล้ว ศีรษะหรือรูปทรงของหัวลูกน้อยก็จะทุย กลม มน สวยงาม เรามีคำตอบกัน “ที่แนะนำว่า ท่านอนที่เหมาะสมที่สุดของทารกแรกเกิด – 3 เดือนนั้นคือ ท่านอนหงายกับนอนตะแคงก็เพราะว่า ทารกในวัยแรกเกิด ต้องบอกว่าทารกแรกเกิด – 3 เดือนนี้ก็ยังถือว่าเป็นวัยแรกเกิด คุณพ่อคุณอย่าเพิ่งคาดหวังในเรื่องของคอที่จะแข็ง ต้องบอกว่าทารกในช่วงนี้นั้น ช่วงคอของเขายังอ่อนไหวมากนัก อีกทั้งตัวของลูกน้อยเองก็ยังไม่มีความสามารถพอที่จะสามารถชันคอได้ ดังนั้นด้วยที่เขายังไม่สามารถที่จะใช้แรงเกร็งคอ และชันคอได้ท่านอนหงายกับตะแคงจึงเหมาะที่สุด เพราะถ้าหากทารกแรกเกิดนั้นนอนคว่ำ เขาไม่สามารถที่จะชันคอได้ คอไม่แข็ง อาจจะทำให้การหายใจของลูกน้อยนั้นลำบาก อีกทั้งยังเสี่ยงต่อภาวะที่สุดแสนจะอันตรายที่มี ชื่อว่า SIDS  (Sudden Infant Death Syndrome) หรือการหยุดหายใจไปชั่วขณะ หรือที่ชาวบ้านอย่างเราๆเรียกกันว่า โรคไหลตายในเด็กนั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าอันตรายมาก มากจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว ดังนั้นหากไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิดแนะนำอย่าให้ลูกน้อยในวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้นอนคว่ำเด็ดขาด หรือทางที่ดีเลี่ยงไปเลยดีที่สุด”

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะว่า “การนอนหงายและนอนตะแคงมีประโยชน์ต่อลูกน้อยในเรื่องของพัฒนาการการเรียนรู้ด้วยนะ” ทั้งนี้เพราะว่าการนอนคว่ำนั้นนอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไหลตายในเด็กแล้ว ยังปิดกั้นในการเรียนของลูกน้อยด้วย เพราะทารกน้อยจะมองไม่เห็น กลายเป็นคนไม่ช่างสังเกต ดังนั้นให้เขานอนหงายและนอนตะแคงจะดีกว่า เพราะว่าพวกเขายังสามารถที่จะเอียงคอมองไปในสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ อีกทั้งยังมีการสรุปอีกว่า เด็กที่ตอนเด็กๆพ่อแม่ให้นอนคว่ำบ่อยครั้ง มักจะเป็นคนไม่ช่างสังเกต เมื่อเทียบกับเด็กที่นอนหงายและนอนตะแคงนั่นเอง”
ช่วงเวลาของการนอนที่มีระบบ ระเบียบขึ้นมาอีกนิดหนึ่งของลูกน้อยหรือทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือน

ต้องขอย้ำคำนี้เลยจริงๆกับระบบ ระเบียบการนอนของหนูน้อยที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาอีกสักนิดหนึ่ง ที่เราบอกว่าเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหนึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยจะเริ่มนอนกลางคืนมากขึ้นและนอนกลางวันน้อยลงนั้นเองนั่นคือในช่วง 2 เดือนแรกของลูกน้อยนั้นจะนอนมากสักนิดหนึ่งคือประมาณวันละ 17-18 ชั่วโมงแต่เมื่อลูกน้อยอายุย่างเข้าประมาณ 3 เดือนลูกน้อยจะมีความต้องการในเรื่องของเวลาการนอนลดลงประมาณ 15 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นและด้วยเหตุนี้เองก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องดีมากๆเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายได้นอนหลับพักผ่อนในตอนกลางคืนมากขึ้นนั่นเอง ดังนั้นในช่วงเดือนแรกของทารกนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณนั้นหลับได้สบายและยาวนานมากขึ้น โดยกระทำได้โดยการให้คุณแม่ห่อตัวลูก หรือวางผ้าไว้ที่หน้าอก หรือหลังของลูก ทั้งนี้ที่ทำแบบนี้เพื่อเสริมสร้างความรู้สึก ให้ลูกรู้สึกว่าปลอดภัยและอบอุ่น และเมื่อลูกอาบน้ำแล้ว อีกทั้งยังได้ทานนมจนอิ่ม ก็จะเรื่องปกติที่เขาจะหลับได้โดยง่าย อีกทั้งเคล็ดลับสำคัญ ทดสอบเสียง ร้องเพลงกล่อมลูกกันดีกว่า เพื่อสร้างความผ่อนคลายนั่นเอง หรือคุณพ่อจะมาช่วยอีกแรงก็ได้

ขอเสริมอีกสักนิดว่า หากลูกน้อยของคุณนั้นอาจจะมีบางอาการหรือลักษณะที่ไม่เหมือนเด็กคนอื่น เช่น นอนน้อยตื่นบ่อย อย่าตกใจไปถ้าหากลูกยังร่าเริง น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์  ดื่มนมได้เป็นปกติ เพราะว่าเดี๋ยวเขาก็สามารถปรับตัวได้ปกติเอง

ดังนั้นในส่วนของการนอนของทารกวัยแรกเกิด – 3 เดือนนี้จะให้สรุปง่ายๆคือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะใส่ใจในเรื่องของท่านอนที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะวัยนี้คอของลูกน้อยหรือทารกนั้นยังอ่อนอยู่มากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อย่าให้นอนคว่ำเพราะอาจจะจะไหลตายได้ อีกทั้งการนอนหงายและนอนคว่ำยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการเรียนรู้ได้อีกด้วย และสุดท้ายการนอนของลูกจะดีและผ่อนคลายมากขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่เขินอาย มาร้องเพลงกล่อมลูกน้อยกันดีกว่า

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก ไม่ถ่ายหลายวัน

โดยปกติแล้วเด็กเล็กที่ยังทานนมแม่อยู่จะไม่มีปัญหาเรื่องท้องผูก แต่ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นเมื่อคุณเริ่มให้ลูกกินอาหารเสริม เด็กบางคนอาจจะไม่ถ่ายหลายวัน เรามาทำความเข้าใจกับอาการท้องผูกนี้กันดีกว่า


ทําอย่างไรเมื่อลูกท้องผูก
ทารกที่ยังดื่มนมแม่อยู่มักถ่ายหลายรอบต่อวันโดยเฉพาะในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกหลังลืมตาออกมาดูโลก และอาจจะลดความถี่ของการขับถ่ายมาเป็น 2-3 ต่อสัปดาห์ พอเข้าสู่เดือนที่ 4-6 หลายคนจะเริ่มให้ทารกกินอาหารเสริม แม้ว่าคุณจะเริ่มให้ลูกกินอาหารเหลวและนิ่มสำหรับทารกก็ตาม คุณอาจจะสังเกตได้ว่าเวลาที่ลูกคุณถ่ายอาจจะมีการเบ่งอุจจาระหรือสัญญาณอื่น ๆ ที่กำลังบอกว่าลูกกำลังถ่ายอยู่
สำหรับทารกที่ทานนมผสมอาจจะมีอุจจาระที่แข็งกว่าและขับถ่ายไม่คล่องเท่า เด็กทารกที่กินนมแม่ อาจจะถ่ายทุก ๆ 3-4 วัน ลักษณะการขับถ่ายแบบนี้ไม่ถือว่าผิดปกติหรอกค่ะ หากอุจจาระไม่แข็งเป็นเม็ดคล้าย ๆ กระสุน อาการท้องผูกเกิดจากอุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ยิ่งอุจจาระค้างอยู่นานเท่าไหร่อุจจาระก็จะยิ่งแห้งและแข็งนานมากขึ้น

ท้องผูกมีอาการอย่างไร

เด็กแรกเกิดถึงสามเดือนมักไม่ค่อยมีอาการท้องผูกสักเท่าไหร่ แม่ว่าคุณจะให้นมผสมก็ตาม เด็กบางคนทำท่าและสีหน้าเบ่งอุจจาระแม้ว่าจะไม่ใช่อุจจาระที่แข็งก็ตาม บางคนก็ร้องไห้เหมือนเจ็บก้นไม่สบายตัว ลองสอบถามคุณหมอดูหากว่าลูกของคุณถ่ายแข็งและถ่ายน้อยกว่าวันละครั้งในช่วง แรกเกิดเพราะนั่นคืออาการท้องผูกนั่นเอง

แต่สำหรับเด็กอายุ 4 เดือนขึ้นไปให้สังเกตอาการเหล่านี้
  • ปวดท้องและท้องอืด
  • ท้องแข็ง
  • ปวดท้องแต่หายปวดหลังขับถ่าย
  • มีเลือดออกติดก้อนอุจจาระ เนื่องจากอุจจาระแข็งและทำให้เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักฉีกขาด
  • อุจจาระมีลักษณะคล้ายกระสุน
ทำไมถึงท้องผูก
สาเหตุที่ท้องผูกเนื่องจากลูกอาจจะดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่ถ้าลูกเป็นเรื้อรังไม่หายสักทีต้องลองปรึกษาแพทย์ดูค่ะ
วิธีบรรเทาอาการท้องผูก
ในกรณีที่เป็นเด็กทารก คุณควรปรึกษาหมอก่อนเป็นอย่างแรก แต่ถ้าลูกเริ่มกินอาหารเสริมแล้วคุณสามารถเติมเนื้อลูกพรุนบดหรือน้ำลูกพรุน 2 ช้อนชาลงไปในอาหารธัญพืชของลูกได้ นอกจากนี้คุณอาจจะเพิ่มใยอาหารจากผลไม้และผักให้ลูกกินก็ได้ค่ะ
  • คุณอาจจะลองให้ลูกปั่นจักรยานอากาศเพื่อช่วยให้ระบบการขับถ่ายทำงานดีขึ้น
  • อาหารบางอย่างก็สามารถทำให้ลูกท้องผูกได้ เช่น ข้าว ซีเรียล กล้วย

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ

ยอดฮิตเรื่องลูกไม่อึ ขอแชร์อีกรอบค่ะ
ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ บี


ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ >> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่) เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ >>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ >>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ **เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ** สบายใจขึ้นไหมคะ ฝากกดแชร์บอกเพื่อนๆ ด้วยนะคะ :) บี (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

ลูกใครกินนมแม่ล้วน แต่ไม่อึทุกวันคะ ชูมือหน่่อยค่ะ
>> อยากถามว่านานกี่วันคะกว่าจะอึ เท่าที่ทราบมีนานถึง 20 วันค่ะ (ปกติของเด็กนมแม่)

เรื่องมันมีอยู่ว่า... ช่วงเดือนแรก (หรือ 3 อาทิตย์แรก) น้องควรอึทุกวันค่ะ ส่วนนึงเพราะทานนมส่วนหน้ากระตุ้นการถ่าย ร่างกายจะขับสารเหลืองออกทางอึนะคะ
ฉี่บ่อยวันละ 6-8 ครั้ง (แพม 4-5 แผ่น) แสดงว่านมพอค่ะ

แต่อยู่มาวันหนึ่งตอนลูกอายุ 1 เดือน น้องไม่อึ 3 วัน เข้าวันที่ 4-5 แม่เริ่มทนไม่ได้ หลายคนเตรียมสวนให้ลูก แต่! ไม่จำเป็นค่ะ

>>> เพราะนมแม่กากน้อย เข้าอาทิตย์ที่ 4 ลำไส้ของลูกจะพัฒนาและดูดซึมได้ดีขึ้น น้องจึงแทบไม่อึ และจะอึครั้งละมากๆ ไม่เหมือนเดือนแรกที่อึน้อยและบ่อยเป็นสิบครั้งค่ะ

>>> บางคนอาจสงสัย ลูก 1 เดือนอัพแต่ยังอึวันละหลายๆ ครั้ง ลูกปกติไหม
แสดงว่าลูกได้นมส่วนหน้ามากค่ะ (เปลี่ยนข้างเร็วหรือเปล่าคะ) ให้น้องดูดข้างละนานๆ แต่หากยังอึบ่อยจนก้นแดง ให้บีบนมส่วนหน้าเก็บไว้ (กะๆ เอานะคะ แต่ละคะไม่เท่ากันค่ะ) พอทานนมส่วนหน้าน้อยลง อึน้องจะข้นขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตามแม้ลูกจะอึน้อยลง ยังต้องฉี่บ่อยเหมือนเดิมนะคะ
**เฉพาะเด็กที่กินนมแม่ล้วน 0-6 เดือนค่ะ**

การขับถ่ายของเด็กทารก 0-1 ปี

ธรรมชาติการขับถ่ายของทางรกวัย 0-1 ปี
เด็กทารกที่กินนมแม่มักมีระบบย่อยอาหารที่ดี ย่อยง่าย ถ่ายคล่อง โดยเฉพาะน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) หรือหัวน้ำนม ที่เป็นสุดยอดของอาหารสำหรับทารกแรกเกิดนั้น จะมากไปด้วยภูมิคุ้มกัน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน ซึ่งทั้งหมดล้วนไปช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงช่วยขับ “ขี้เทา” ซึ่งเป็นอึชุดแรกของลูกที่มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำที่จะอึออกมาใน 2-3 วันแรก แถมยังช่วยจับสารตัวเหลือง บิลิลูบิน (Billirubin) ออกมาทิ้งพร้อมกับอึกองโต ป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเกินไปอีกด้วย

การขับถ่ายของทารก

อึ 7 วันแรกของทารก
อึของเด็กแรกเกิดมักบอกสุขภาพและความสมบูรณ์ของเด็กได้ เช่น เด็กที่คลอดครบกำหนดก็มักจะแข็งแรงขับขี้เทาออกมาได้ตามเวลา และกินเก่งเพราะถ่ายออกไปมาก น้ำนมแม่เลยพามีมากตามการดูดของลูก เข้าข่ายแข็งแรงมาก กินมาก ถ่ายมาก


อึตามอายุของลูกใน 7 วันแรก

อายุ (วัน)     จำนวนครั้ง     วันสีของน้ำนม     สีอึ     ลักษณะ
0-1     1-2 ครั้ง     หัวน้ำนมสีส้มเหลือง     ขี้เทาสีเขียวเข้มเกือบดำ     เหนียวข้นมาก
2-3     2 ครั้ง     หัวน้ำนม มีสีขาวขุ่นปนมากขึ้น     ขี้เทาปนเหลือง     มีอึสีเหลืองนิ่มปนเหนียวข้นน้อยลง
3-4     3 ครั้ง     สีขาวขุ่น Transition     เหลือง     อึเป็นเนื้อเละ เนียน
7     3-4 ครั้ง     สีขาวอมฟ้า True milk     เหลือง     อึเป็นเนื้อ เละ เนียน


เมื่อลูกอายุประมาณ 1 เดือนจึงจะเริ่มอึเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่ทารกหลายคนที่กินนมแม่อาจจะมีบางคนที่อึแบบวันเว้นวัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อาจจะทำให้ลูกแน่อนท้อง ไม่สลบายตัว คุณแม่อาจจะต้องมีเครื่องมือช่วยให้จำวันที่ลูกอึหรือระยะความถี่ห่างการอึของลูกได้ อาจทำเป็นตารางจดบันทึกไว้ง่ายๆ ด้วยการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้


สีอึบอกอะไร

                อึสีเหลืองปนเขียว - มักเกิดจากการดูดนมที่ท่าดูดทำให้หัวนมยืดไม่ดี ทำให้กลไกน้ำนมพุ่งออกมาน้อย (Let down's reflex) ลองแก้ไขท่าดูดโดยให้ลูกอมลึกถึงลานนม จะช่วยให้น้ำนมพุ่งดีขึ้น
                อึมีมูกปน – อาจมาจากน้ำมูกที่ลูกกลืนลงไปปนออกมากับอึ
                อึมีเลือดปน - ลูกอาจมีแผลที่ร่องก้น หรือเกิดจากอาการแพ้โปรตีนในอาหารของแม่หรือลูก หรืออาจมีเลือดออกจากลำไส้ อึลักษณะนี้คุณแม่ต้องดูให้ละเอียดหน่อย
                อึมีน้ำปนมาก - มักพบในกรณีที่คุณแม่กินยาปฏิชีวนะ จึงทำให้ลูกอาจมีอาการถ่ายเหลว

ข้อควรสังเกต

                เด็กเกิดครบกำหนดถ้าผ่านไป 4-5 วันแล้วยังถ่ายเป็นขี้เทา แสดงว่ากินนมแม่ไม่เพียงพอ หรือกินไม่ถูกวิธีทำให้ไม่ได้น้ำนม ต้องมีการแก้ไขเรื่องวิธีการดูดนมแม่ ด้วยการจัดท่า และการดูดกลืนน้ำนม
                การที่อึลูกเป็นสีเขียวมักเกิดจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอาหารที่แม่กินเข้าไป ซึ่งรู้อย่างนี้แล้วคุณแม่คงต้องระมัดระวังและเลือกรับประทานสักหน่อย

เด็กที่กินนมแม่อาหารทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ และเหลือเป็นกากอาหารเพื่อขับถ่ายเพียงเล็กน้อย ลูกจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจถ่ายแค่ 2-3 ครั้งในสัปดาห์ ถ้าลูกกินอิ่มนอนหลับ ร่าเริงดี ไม่งอแงเพราะอึดอัด น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งในหนึ่งวันแสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล

ปัญหาท้องผูกในทารก

ช่วงอายุที่มักจะท้องผูกมากที่สุดคือประมาณ 6 เดือน - 4 ปี ซึ่งสาเหตุแตกต่างกันไป และการท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น เด็กบางคนถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง ไม่ชอบกินผักและผลไม้ และที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาลคือห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย เป็นต้น แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนน้อยที่มีอาการท้องผูกจากโรคร้ายแรง เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคของไขสันหลัง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น

                ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมาก
                อุจจาระแข็ง อาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือก้อนใหญ่ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย
                บางครั้งจะมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ทำให้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายแต่ละครั้ง

วิธีแก้ปัญหาทารกท้องผูก

                ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ เช่น ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรดื่มน้ำประมาณวันละ 4 ออนซ์ การผสมนมต้องเติมน้ำให้ถูกอัตราส่วน แต่ถ้าลูกอายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้น้ำผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะ
                ให้ลูกมีเวลานั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที ซึ่งช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสำหรับนั่งถ่ายคือ หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว และอาจช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น เวลานั่งถ่ายไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่น เพราะเขาจะไม่ตั้งใจหรือพยายามเบ่งถ่ายอุจจาระ

ลูกขี้แยชอบร้องไห้

เด็กๆ ยังพูดไม่ค่อยเก่งค่ะ ก็เข้าใจค่ะว่า ส่วนใหญ่ถ้าเด็กๆ ต้องการจะบอกอะไร ก็จะใช้การร้องไห้นี่แหละบอกนำไปก่อน แต่ถ้าโดนนี่นิดก็ร้องถูกนั่นหน่อยก็ร้องอีกแล้ว แบบนี้ลูกเข้าข่ายเป็นเด็กขี้แยหรือเปล่าเนี้ยะ...!!!



แบบไหนถึงเรียกว่า เป็นเด็กขี้แย


ร้องไห้เก่ง นี่ล่ะ อาการเริ่มต้นแล้วล่ะค่ะ ไม่พอใจนิดหรืออยากได้อะไรก็จะร้องไห้นำไปก่อนเลย นี่ยังไม่รวมถึงพอได้ยินเสียงดังเข้าหน่อยก็ร้องไห้แล้วด้วยนะคะ

ชอบเรียกร้องความสนใจ สังเกตง่ายๆ ค่ะ บางทีร้องไห้ไม่มีน้ำตาหรอกค่ะ ร้องแต่เสียง พอคุณแม่เดินมาหา หรือทำอะไรที่ลูกอยากให้ทำก็หยุดร้องไปเสียเฉยๆ

ขี้น้อยใจ ตามมาติดๆ กับอาการขี้น้อยใจ ชอบคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บมาน้อยใจ หรือถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียวนานไปก็อาจจะทำให้น้อยใจได้

อ่อนไหวง่ายมาก ถ้า ลูกไม่เห็นคุณแม่หลังจากที่เขาตื่นนอน บางทีอาจจะทำให้ลูกน้อยใจจนร้องไห้ออกมาได้ค่ะ อาการอ่อนไหวง่ายๆ นี่ อาจจะทำให้ลูกเป็นเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองได้ค่ะ


จัดการอย่างไรกับลูกขี้แย

ใช้วิธีอื่นแทนการตำหนิ ถ้าลูกขี้แยขี้น้อยใจนี่ ถ้าจะบอกจะสอนอะไรให้หลีกเลี่ยงการใช้คำตำหนิ เพราะการตำหนิจะยิ่งทำให้ลูกคิดนั่นคิดนี่แล้วก็เก็บไว้น้อยใจต่ออีก แบบนี้จะยิ่งทำให้ลูกร้องไห้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ใช้ไม้อ่อน ถ้าจะ พูดจะบอกอะไรขอให้เลือกใช้ไม้อ่อนไว้ก่อนค่ะ ใช้การปลอบโยน น้ำเสียงที่นุ่มนวล ใช้วิธีให้กำลังใจ เพื่อลูกจะได้พยายามทำอะไรด้วยตัวเองเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

ให้ความสนใจ แต่ไม่มากจนกลายเป็นการตามใจลูกไป เป็นเรื่องปกติค่ะที่เด็กๆ มักจะเรียกร้องความสนใจจากพ่อกับแม่ แต่ถ้าคุณแม่ตามใจทุกครั้งอาจจะทำลูกมีนิสัยที่เอาต่าใจได้ค่ะ

ให้ความอบอุ่น บาง ครั้งเด็กๆ ร้องไห้ เพราะเขารู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองค่ะ การกอดลูกบ่อยๆ ช่วยได้มากค่ะ นอกจะทำให้รู้สึกอบอุ่นแล้ว ยังช่วยให้ลูกรู้สึกมีกำลังใจขึ้นด้วยค่ะ

วิธีจัดการเด็กแรกเกิดงอแง

เป็นธรรมดาค่ะ
 ตอนแรกคลอดร้องอยู่ตั้งหลายชั่วโมง ไอ้เรารึเหนื่อยหลับแบบสลบเป็นตาย พอตื่นขึ้นมาก็ยังได้ยินเสียงเค้าร้องจากห้องดูแลทารก ก็เลยบอกพยาบาลว่าพาเค้ามาให้ด้วย

ก็เอาเค้ามานอนข้าง ๆ บนเตียงที่มีที่กั้น พยายามให้นมด้วย แล้วเค้าก็หลับไป ไม่แน่ใจว่าร้องมาจนเหนื่อยแล้วหรือว่าเป็นเพราะมาอยู่กับแม่ กอดกันกลมเชียว

อีกอย่างนึง อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นสภาพแวดล้อมใหม่ภายนอกที่เค้ายังไม่ชิน ต้องกอดเค้าไว้ ให้รู้สึกเหมือนกับว่ายังอยู่ในพุง โดยเฉพาะถ้าเอาเค้ามานอนบนตัวเรานะ หลับสบายทีเดียว-ลูกลับนะ ไม่ใช่แม่หลับ

ใจ เย็น ๆ ค่ะ ปรกติแล้ว เด็กกับการร้องไห้เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเปียก, หิว, ไม่สบายตัวก็จะร้อง เค้าไม่สามารถจะสื่อสารด้วยวิธีอื่นได้ นอกจากการร้อง

ถ้า เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ แม่จะต้องระวังเรื่องอาหารที่ทานเข้าไปด้วย เพราะจะมีผลโดยตรงกับเค้าที่ทานนมเรา ตอนแรกก็ไม่เชื่อหรอก แม่บอกก็ยังไม่เชื่อ ต้องเจอกับตัวเองจึงพูดไม่ออก อาหารรสจัด ๆ จะทำให้ลูกปวดท้องแล้วก็ร้องไม่หยุดไม่หย่อนทีเดียว

มื่อลูกงอแง - สาเหตุ 7 ประการที่ทำให้ลูกร้องไห้ และทำอย่างไรให้เขาหยุดร้อง

เรามาดูกันค่ะว่าเราว่าสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้ลูกน้อยร้องไห้นั้น มีอะไรบ้าง และจะช่วยแก้ไขอย่างไรดี

ร้องเพราะหิว
สัญญาณที่ทำให้คุณเรียนรู้ได้จากการร้องเสียงดังของลูกคุณก็คือ เขาต้องการกิน ถ้าคุณอุ้มเขาขึ้นมาให้นม
แล้วคุณสังเกตดูว่าเขาร้องหลังให้นม นั่นแสดงว่าเขาร้องเพราะหิว
หรือไม่บางครั้งเด็กอาจร้องเพราะให้นมมื้อก่อนน้อยไปซึ่งแน่นอนที่เดียวเขาจะตื่นเร็ว และร้องเพราะเขาหิว
ถ้าคุณให้นมเขาเพิ่มเมื่อเขาอิ่มแล้วเขาจะหยุดร้องแล้วก็หลับไป

ร้องเพราะผ้าอ้อมเปียกแฉะต้องการเปลี่ยน
เด็กแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อการเปียกแฉะของผ้าอ้อมต่างกัน
เด็กบางคนจะร้องให้เปลี่ยนผ้าอ้อมเมื่อเขาปัสสาวะออกมาสักพัก เนื่องจากว่าตอนที่เขาปัสสาวะออกมาใหม่ ๆ จะยังไม่รู้สึกเย็น
แต่พอทิ้งไว้และปัสสาวะเริ่มระเหยไปในอากาศ เขาจะเริ่มรู้สึกเย็นขึ้นและเริ่มร้องไห้
แต่ในขณะเดียวกันเด็กบางคนอาจจะรู้สึกเย็นสบายเมื่อปัสสาวะออกมาและไม่ร้องกวนให้เปลี่ยนผ้าอ้อมก็ได้ค่ะ

ร้องเมื่อรู้สึกร้อน หรือหนาว
เด็กแรกเกิดชอบการห่อหุ้มเพื่อความอบอุ่นเสมือนอยู่ในท้องแม่ ถ้าคุณปล่อยให้เขาเปลือยกายนานๆ
ไม่ ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเสื้อผ้าเขาหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กแรกเกิดนั้นยังปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่นี้ไม่ทัน เขาจะรู้สึกหนาวและร้องไห้ได้
ดังนั้นคุณควรรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมโดยเร็วอย่าปล่อยให้เขาเปลือยเปล่าอยู่กับอากาศเย็นเป็นเวลานาน ๆ

ร้องเพราะอยากให้อุ้ม
เด็กที่ต้องการความอบอุ่นจากแม่จะร้องให้อุ้ม การกอด จูบ ลูบไล้ การได้มอง ได้ยิน ได้จับสัมผัส จะทำให้เขารู้สึกปลอดภัย
การอุ้มประคองจากพ่อแม่จึงดียิ่งกว่ายาวิเศษขนานใด ฉะนั้นเมื่อลูกร้อง คุณควรอุ้มเขา กอดเขาไว้
สัมผัสนี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการพัฒนาของเซลล์สมองและแน่นอนการเพิ่มจำนวนเซลล์ย่อมเพิ่มความสามารถและความฉลาด
และยังสมารถกระตุ้นให้ลูกเป็นเด็กดี และมีสุขได้

ร้องเพราะเพลียเหนื่อยล้า
คุณพ่อคุณแม่บางคน ชอบเล่นกับลูกตลอดเวลาจนเรียกว่ามีอาการขี้เห่อ คือไม่ให้ลูกได้ว่างเอาเสียเลย เพราะเด็กน่ารักน่าเอ็นดู
ซึ่งอาจทำให้หนูน้อยเพลีย และหงุดหงิดง่าย ๆ ความจริงเด็กแรกเกิดไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก การกอดจูบบ่อย ๆ ไม่ควรทำ
เพราะเด็กแรกเกิดจะยังอยู่ในช่วงที่บอบบาง ถ้าเราเจ็บป่วยจะนำไปยังเด็กได้ เด็กบางคนร้องลั่นแล้วเสียงค่อย ๆ เบาลงและหลับไป
แสดงว่าเขาเพลียและรำคาญที่พวกผู้ใหญ่ไปวุ่นวายกับเขามาก

ร้องเพราะรู้สึกไม่สบาย
คุณแม่ควรหมั่นตรวจเช็คความสมบูรณ์ของลูกอยู่เสมอ ถ้าลูกมีอาการที่ดูผิดปกติเช่น หงุดหงิด ซึม อ่อนเพลีย
ร้อง กวนอย่างกระวนกระวายอยู่ไม่สุข ซึ่งอาจจะมีไข้ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำยิ่งถ้าวัดอุณหภูมิในร่างกายแล้วพบว่า เกิน 38 Co ยิ่งต้องรีบพามาพบแพทย์ เพราะเด็กช่วยอายุ 1-2 ปี แม้จะมีโรคติดเชื้อเล็กน้อยก็มีไข้สูงได้

ต้องการการห่อหุ้มและอุ้มไว้
เด็กแรกเกิดรู้สึกคุ้นเคยกับความอบอุ่นมาจากในครรภ์ของแม่ ให้คุณลองห่อผ้าให้กระชับและอุ้มเขาขึ้นพาดบ่าของคุณ จะรู้สึกได้เลย
ว่าเขาจะหดแขนขากอดรัดคุณเพื่อค้นหาความอบอุ่นจากอกแม่ จะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้นและร้องน้อยลง


เราจะให้เขาหยุดร้องได้อย่างไร

ให้ฟังเพลง
เด็กคุ้นเคยกับเสียงหัวใจเต้นของแม่มาตั้งแต่อยู่ในท้อง
เพราะฉะนั้นถ้าอุ้มลูกน้อยแนบอกแม่ให้ชิดตรงตำแหน่งที่เป็นหัวใจแม่ ลูกจะร้องน้อยลง นอกจากนี้ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่อเสียงดนตรีได้ดี
ทั้ง นี้อาจเพราะเสียงจังหวะดนตรีนั้น ไม่ว่าจะเป็นแบบใด คลาสสิค แจ๊ส ร็อค มักมีจังหวะตี ซึ่งเป็นจำนวนที่พอ ๆ กับเสียงหัวใจเต้นของคนพอดี

การเคลื่อนที่
เด็กบางคนชอบให้อุ้มแค่นั้นก็พอแล้วเขาก็จะเงียบไปเอง แต่บางครั้งเด็กชอบให้อุ้มโยกตัวไปมาบนเก้าอี้โยก หรือไกวเปลไปมาเบาๆ
ซึ่ง พอๆ กับจังหวะการเต้นของหัวไจ 60-100 ครั้ง/นาที เด็กจะรู้สึกเพลิดเพลินไปกับจังหวะนั้นคล้ายจังหวะที่ลูกเคยได้ยินตอนที่ อยู่ในท้องแม่
ซึ่งเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจแม่

ลูบท้องอย่างแผ่วเบา
การลูบท้อง หรือหลังอย่างแผ่วเบาจะทำให้เด็กเรอออกมาหรือผายลม จะทำให้ลูกรู้สึกสะบาย ควรยึดถือปฏิบัติหลังจากลูกดื่มนมทุกมื้อ
เพราะเป็นการไล่ลมที่เต็มกระเพาะหลังจากลูกดื่มนมเสร็จแล้ว มิฉะนั้นแก จะเกิดอาการจุกเสียดไม่ยอมนอนได้

การให้นมลูก
คุณแม่ควรจัดท่าในการให้นมลูกที่สบายที่สุด พร้อมทั้งการทรงตัวของลูกน้อยให้ผ่อนคลาย
เมื่อให้นมเขาอิ่มแล้วเขาจะหลับไปควรนวดตามแขนขา และนิ้วอย่างแผ่วเบาจะทำให้เขารู้สึกสบายขึ้น เมื่อคุณให้นมลูกนานพอควรจนรู้ใจกัน
คุณจะแปลกใจในการไหลของนม เช่นพอลูกเริ่มร้องเมื่อถึงเวลาให้นม น้ำนมคุณก็จะไหลออกมาเอง

สุดท้ายนี้ขอให้อย่าลืมใส่ใจกับตัวเองบ้าง
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่เหนื่อยยากและวิตกกังวล ซึ่งไม่ใช่การเจ็บป่วยของลูกแต่เด็กปกติดี

ถ้าคุณแม่อดทนรอจนครบ 3 เดือน เด็กที่ร้องมาก ๆ คุณแม่ไม่ควรไปวุ่นวายกับเขามาก คุณควรหาเวลาให้กับตัวเองบ้าง หางานอดิเรกทำ เช่น
- ออกไปเดินเล่น คุยกับเพื่อนบ้าน หรือญาติใกล้ ๆ บ้าง
- ผลัดเวรกันดูแลกับคุณพ่อ อาจจะให้คุณพ่อช่วยเห่กล่อม ส่วนคุณแม่ก็ไปเปิดสมอง
- ทำใจให้สบาย ปลดปล่อยอารมณ์ที่ต้องทนกับการฟังเสียงลูกร้องบ้าง สุขภาพจิตจะได้ดีขึ้น

ที่มา http://www.dumex.co.th/forums_and_friends/mums_stories/not-so-cute_baby_behaviour/story/Story_50


ทำไมทารกร้องไห้โยเย

             ไม่มีอะไรซับซ้อน ทารกร้องไห้โยเยด้วยสาเหตุเดียวกับผู้ใหญ่ คือ เขารู้สึกเจ็บปวด (ไม่ทางกายก็ทางใจ) หรือเขาต้องการอะไรบางอย่าง การร้องไห้มีมากมายหลายแบบ เช่น ทารกที่ร้องไห้เพราะอยากให้อุ้ม เราสามารถปลอบเขาให้เงียบได้ง่ายตราบเท่าที่ยังมีคนอุ้มเขาอยู่ ส่วนทารกที่ร้องไห้เพราะรู้สึกเจ็บปวด อาจจะร้องไห้งอแงและไม่สามารถปลอบให้เงียบได้ง่าย ๆ เราเรียกว่าอาการร้องไห้แบบนี้ว่า โคลิก

ทารกร้องไห้โยเยเพราะรู้สึกไม่สบายตัว ตอนทารกอยู่ในท้องแม่ เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับเขาอย่างสมบูรณ์แบบ สภาพที่ได้ลอยตัวอย่างเป็นอิสระในถุงน้ำคร่ำ มีอุณหภูมิคงที่ตลอดเวลา ความต้องการสารอาหารได้รับการตอบสนองโดยอัตโนมัติ สิ่งแวดล้อมในท้องแม่เป็นระเบียบและสะดวกสบาย ทารกร้องโยเยเพราะคิดถึงสภาวะที่เขาเคยชินในท้องแม่ การออกจากท้องแม่ทำลายความเป็นระเบียบและสะดวกสบายนี้ไป

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด ทารกอยากกลับไปสู่สภาวะที่มีระเบียบและสะดวกสบาย และต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับชีวิตนอกท้องแม่ การกำเนิดและการปรับตัวเข้าสู่ชีวิตหลังคลอดจะดึงอารมณ์ของทารกออกมา เป็นครั้งแรกที่เขาต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง เขาถูกบังคับให้กระทำ ให้ทำตัวดี ๆ ถ้ารู้สึกหิว, หนาว, กังวล เขาจะร้องไห้ เขาต้องใช้ความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เขาต้องการจากสิ่งแวดล้อมที่ให้ความดูแลเขาอยู่ ถ้าเขามีความต้องการในเรื่องง่ายๆ เขาก็จะได้รับสิ่งที่เขาต้องการได้อย่างง่ายดาย และเราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงง่าย” แต่ถ้าเขาไม่ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เราก็จะคิดว่าเขาเป็น “เด็กเลี้ยงยาก” ทารกที่หงุดหงิดงอแง คือทารกที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ยาก คือทารกที่ไม่พอใจง่าย ๆ กับการดูแลที่เขาได้รับ พวกเขามีความต้องการมากกว่านั้น และพวกเขาแสดงอาการหงุดหงิดงอแง เพื่อให้ได้มันมา

การร้องไห้ ไม่ใช่แค่เสียง แต่มันคือสัญญาณที่ถูกออกแบบเพื่อความอยู่รอดของทารกและพัฒนาการของพ่อแม่ การไม่ตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ ทั้งพ่อแม่และทารกจะเสียประโยชน์ทั้งคู่

ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่สามารถบอกความต้องการของเขาออกมาเป็นคำพูดได้ ในระหว่างที่ทารกไม่สามารถพูด “ภาษาของพ่อแม่” ได้ เขาก็มีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาเองที่เรียกว่า “การร้องไห้”
เมื่อทารกมีความต้องการ เช่น หิวหรือต้องการให้คนปลอบเวลาที่เขารู้สึกไม่สบาย ความต้องการเหล่านี้จะไปกระตุ้นให้เกิดเสียงที่เราเรียกว่า เสียงร้องไห้ ทารกไม่ได้คิดหรอกว่า “ตอนนี้ตีสามแล้ว หนูคิดว่าหนูควรจะปลุกแม่ขึ้นมาป้อนอาหารว่างให้หนูดีกว่า” การใช้เหตุผลแบบผิด ๆ นี้เป็นการตีความของผู้ใหญ่ นอกจากนี้ทารกก็ไม่มีความฉลาดปราดเปรื่องมากพอที่จะเข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงตอบสนองเสียงร้องของเขาอย่างดีตอนบ่ายสามโมง แต่กลับไม่อยากตอบสนองเสียงร้องเดียวกันตอนตีสาม

เสียงร้องของทารกแรกเกิดบอกพวกเราว่า “หนูต้องการอะไรบางอย่าง ตอนนี้มีอะไรบางอย่างผิดปกติ ช่วยทำให้มันดีเหมือนเดิมด้วย”

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้เกี่ยวกับการร้องไห้ของลูก

1. การร้องไห้ของทารก คือ การส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

นักวิทยาศาสตร์ยอมรับกันมานานแล้วว่า เสียงร้องไห้ของทารก มีลักษณะ 3 อย่างของการส่งสัญญาณที่สมบูรณ์แบบ

    หนึ่ง. สัญญาณที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ – ทารกแรกเกิดร้องไห้โดยอัตโนมัติ เขารับรู้ถึงความต้องการ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการสูดอากาศเข้าปอดอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการไล่อากาศออกผ่านเส้นเสียง เมื่อเส้นเสียงถูกอากาศสั่นจะเกิดเสียงร้องที่เราเรียกกันว่า เสียงร้องไห้ ในเดือนแรก ๆ ทารกไม่ได้คิดว่า “การร้องไห้แบบไหนจะทำให้เราได้กินนม?” ทารกแค่ร้องไห้ไปตามกลไกอัตโนมัติ นอกจากนี้การร้องไห้ยังทำได้ง่าย เมื่อมีอากาศอยู่เต็มปอด ทารกสามารถร้องไห้ได้โดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามเลย
    สอง. การร้องไห้เป็นการรบกวนที่พอเหมาะ – เสียงร้องไห้จะกวนหูมากพอที่จะทำให้ผู้แลหันมาสนใจทารกและพยายามปลอบให้เขาหยุดร้องไห้ แต่ก็ไม่รบกวนมากเกินไปจนทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญจนไม่อยากจะทนฟัง
    สาม. การร้องไห้สามารถปรับเปลี่ยนไปได้ในขณะที่ผู้ร้องและผู้ฟังเรียนรู้วิธีส่งสัญญาณให้ถูกต้องแม่นยำขึ้น – สัญญาณจากทารกแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสียงร้องไห้ของทารก คือ ภาษาของเขา และทารกแต่ละคนร้องไห้แตกต่างกันไป นักวิจัยด้านเสียงเรียกเสียงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนี้ว่า “ลายเสียงร้องไห้” ซึ่งจะแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับลายนิ้วมือของทารก

2. การตอบสนองต่อเสียงร้องของทารกเป็นความปกติทางชีวภาพ

คนที่เป็นแม่จะถูกกำหนดโดยทางชีวภาพให้ตอบสนองต่อเสียงร้องของทารก และไม่สามารถต่อต้านหรือฝืนใจตนเองได้ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพอันน่าอัศจรรย์นี้จะเกิดขึ้นในร่างกายของคนที่เป็นแม่เพื่อตอบสนองเสียงร้องไห้ของลูกตนเอง เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง เลือดจะไหลเวียนไปที่หน้าอกมากขึ้น และมีความต้องการทางชีวภาพที่อยากจะ “อุ้มลูกและให้นม”

การให้นมลูกทำให้ระดับโปรแล็คตินสูงขึ้นอย่างผิดปกติ โปรแล็คตินคือฮอร์โมนที่เข้าใจกันว่าเป็นพื้นฐานทางชีวภาพของคำว่า “สัญชาติญาณความเป็นแม่” ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งน้ำนม จะทำให้คนเป็นแม่รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขใจ รู้สึกปลดปล่อยจากความเครียดก่อตัวจากเสียงร้องของทารก ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้คนเป็นแม่รู้สึกรักลูกของตัวเอง

เวลาที่ลูกร้องไห้ แม่จะฟังเสียงเรียกร้องทางชีวภาพภายในร่างกายของตนเอง มากกว่าฟังเสียงคนอื่นที่คอยแนะนำให้ทำหูทวนลม ความเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพเหล่านี้ คือสาเหตุว่าทำไมมันจึงง่ายสำหรับคนอื่นที่จะพูดเช่นนั้น เพราะพวกเขาไม่มีความสัมพันธ์ทางชีวภาพกับทารก ระดับฮอร์โมนของเขาจึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อลูกของคุณร้องไห้

3. ควรละเลยหรือตอบสนองต่อเสียงร้องไห้?

เมื่อคุณตระหนักถึงคุณค่าอันเป็นสัญญาณพิเศษของเสียงร้องไห้แล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ คุณจะทำอย่างไรกับมัน คุณแม่มี 2 ทางเลือก ละเลย หรือ ตอบสนอง

การละเลยเสียงร้องของทารกมักจะเป็นทางเลือกที่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวอ่อนหรือว่าง่ายจะยอมแพ้และหยุดส่งสัญญาณ กลายเป็นเด็กเงียบและเริ่มตระหนักได้ว่า การร้องไห้ไม่มีประโยชน์ และคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ทารกเริ่มหมดแรงบันดาลใจที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ และพ่อแม่ก็เสียโอกาสที่จะได้รู้จักลูกตัวเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ทารกที่หัวแข็งหรือดื้อดึง (ทารกที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด) จะไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เขาจะร้องไห้ดังขึ้น และเพิ่มความแรงของสัญญาณขึ้น ทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นเรื่อย ๆ คุณแม่อาจละเลยสัญญาณอันดื้อดึงนี้ได้หลายวิธี

คุณแม่อาจจะรอจนกว่าเขาจะหยุดร้องไห้ แล้วค่อยอุ้มเขาขึ้นมา เพื่อที่เขาจะได้ไม่คิดว่าการร้องของเขาสามารถเรียกร้องความสนใจของคุณได้ นี่คือการต่อสู้เพื่อแสดงอำนาจ คุณสอนลูกให้รู้ว่าคุณคือผู้ที่ควบคุมสถานการณ์ ในขณะเดียวกันคุณก็กำลังสอนลูกว่าเขาไม่มีอำนาจในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นี่เป็นการปิดช่องทางการสื่อสารระหว่างพ่อแม่กับลูก และในระยะยาวทุกคนก็เสียประโยชน์

คุณอาจจะตัดความรู้สึกอ่อนไหวออกไปได้หมด จนคุณไม่รู้สึกรู้สากับเสียงร้องของทารกเลย วิธีนี้คุณสามารถสอนให้ลูกรู้ว่า เขาจะได้รับการตอบสนองเมื่อถึงเวลา นี่ก็คือทางเลือกที่เสียทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน ทารกไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ พ่อแม่ก็ติดอยู่กับความรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถมีความสุขกับบุคลิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของลูก

คุณอาจจะอุ้มลูกขึ้นมา ปลอบให้เงียบ แล้วก็วางเขาลงเพราะ “ยังไม่ถึงเวลากินนม” เพราะท้ายที่สุด เขาควรจะต้องเรียนรู้ที่จะมีความสุขด้วยตัวของเขาเอง เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกเช่นกัน เพราะเขาก็จะร้องไห้อีก แล้วคุณก็จะโมโห ทารกจะเรียนรู้ว่าการพยายามสื่อสารของเขามีคนรับรู้ แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งจะทำให้เขาเริ่มไม่เชื่อมั่นความรู้สึกของตนเอง เขาอาจจะเริ่มคิดว่า “บางทีพ่อแม่อาจจะถูก บางทีหนูอาจจะยังไม่หิวนมจริง ๆ ก็ได้”

4. ให้ความทะนุถนอม

อีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ คือ ตอบสนองอย่างรวดเร็วและทะนุถนอม นี่คือทางเลือกที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ลูกน้อยและคุณแม่สามารถสร้างระบบการสื่อสารที่ช่วยทั้งสองฝ่าย

คุณแม่ที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะทำให้ทารกรู้สึกกังวลน้อยลงเวลาที่เขาต้องการอะไรในคราวต่อไป ทารกจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดียิ่งขึ้น” ร้องไห้น่ารำคาญน้อยลง เพราะเขารู้แล้วว่าแม่จะต้องมาหาแน่ ๆ แม่จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมของทารกเพื่อเขาจะไม่จำเป็นต้องร้องไห้บ่อย ๆ เช่น แม่จะให้ลูกอยู่ใกล้ ๆ ตัวถ้ารู้ว่าเขากำลังง่วงและใกล้หลับ แม่จะเพิ่มความละเอียดอ่อนต่อเสียงร้องเพื่อที่จะสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้อง เช่น การตอบสนองอย่างรวดเร็วตอนทารกยังเล็กและต้องการการดูแลใกล้ชิด หรือเมื่อเสียงร้องแสดงว่าสถานการณ์กำลังอันตรายจริง ๆ แต่การตอบสนองจะช้าลงเมื่อทารกโตขึ้นและเริ่มจะเรียนรู้ที่จะจัดการต่อสิ่งรบกวนได้ด้วยตัวเอง

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกกอย่างเหมาะสม เป็นสิ่งแรกและหนึ่งในสิ่งที่ยากที่สุดในการสื่อสารกับลูกที่คุณแม่จะต้องเผชิญ คุณแม่จะมีความเชียวชาญขึ้นหลังจากได้ฝึกซ้อมเป็นพัน ๆ ครั้งในช่วงเดือนแรก ๆ

ถ้าคุณแม่คิดไว้ตั้งแต่แรกว่า การร้องไห้ของทารกคือสัญญาณที่ต้องประเมินสถานการณ์และได้รับการตอบสนอง มากกว่าจะคิดว่ามันคือนิสัยเสียที่ต้องแก้ไข ความคิดของคุณแม่ก็จะเปิดกว้างขึ้นและกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการอ่านสัญญาณจากลูก ซึ่งจะทำให้คุณแม่กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับลูกในที่สุด

การส่งสัญญาณระหว่างแม่ลูกแต่ละคู่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นมันจึงเป็นความคิดตื้น ๆ ถ้า “ผู้ฝึกสอนการร้องไห้” ที่จะแนะนำสูตรสำเร็จในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ให้กับคุณแม่ เช่น “คืนแรกปล่อยให้เขาร้อง 5 นาที คืนที่สอง 10 นาที” ฯลฯ

5. การที่ลูกร้องไห้ไม่ใช่ความผิดของคุณ

ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ละเลยต่อการร้องไห้ของลูก และพยายามทำให้เขารู้สึกปลอดภัยในโลกใหม่ของเขา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะคิดว่ามันเป็นความผิดของพวกคุณที่ลูกร้องไห้บ่อย ๆ และไม่ควรคิดว่าการจะทำให้ลูกหยุดร้องไห้ขึ้นอยู่กับคุณ

แน่นอนว่าความคิดของพวกคุณจะต้องเปิดกว้างเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่จะช่วยลูก (เช่น เปลี่ยนอาหารการกินของตัวเอง หรือเรียนวิธีใหม่ ๆ ในการอุ้มลูก) และคุณอาจจะต้องพาลูกไปพบหมอถ้าหากสงสัยว่ามีอาการเจ็บป่วยเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกร้องไห้

แต่อาจจะมีบางเวลาที่คุณหาสาเหตุไม่ได้ว่าทำไมลูกร้องไห้ บางครั้งคุณอาจจะสงสัยด้วยซ้ำไปว่าลูกรู้ตัวหรือเปล่าว่าเขาร้องไห้เพราะอะไร อาจจะมีบางเวลาที่ทารกแค่ต้องการจะร้องไห้ ถ้าคุณได้ลองทำทุกวิธีที่ปกติเคยทำให้เขาหยุดร้องไห้ได้แล้ว แต่ก็ยังไม่ทำให้เขาหยุดร้องไห้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องรู้สึกสิ้นหวังที่จะทำให้เขาหยุดร้องไห้

มันเป็นสัจธรรมในชีวิตของพ่อแม่มือใหม่ว่า ถึงแม้ทารกจะร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการ แต่วิธีการที่เขาร้องไห้เป็นผลมาจากลักษณะอารมณ์ของเขา อย่าเอาการร้องไห้ของทารกมาเป็นอารมณ์ หน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่คือสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อทำให้เขาจำเป็นต้องร้องไห้น้อยลง ให้ความห่วงใยและอ้อมแขนอันอบอุ่นเพื่อที่ลูกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่คนเดียว และทำงานสืบสวนให้มากที่สุดเพื่อหาสาเหตุว่าทำไมลูกจึงร้องไห้ และคุณจะช่วยเขาได้อย่างไร เรื่องอื่น ๆ ที่เหลือเป็นเรื่องของลูก

6. งานวิจัยเกี่ยวกับการร้องไห้

ซิลเวีย เบลล์ และ แมรี เอนส์เวิร์ธ สองนักวิจัยซึ่งทำการศึกษาในช่วงศตวรรษ 1970 ได้ทำลายความเชื่อเรื่อง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” (สิ่งที่น่าสนใจคือ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงช่วงเวลานั้นหรืออาจจะถึงปัจจุบันนี้ด้วยซ้ำ ที่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพัฒนาการของทารกที่คอยพร่ำบอกว่า ควรปล่อยให้ทารกร้องไห้จนพอใจ มักจะเป็นผู้ชายแทบทั้งนั้น ต้องใช้นักวิจัยผู้หญิงมาแก้ความเชื่อผิด ๆ ให้ถูกต้อง)

นักวิจัยทั้งสองศึกษาคู่แม่ลูก 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เมื่อลูกร้องไห้ แม่จะตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน กลุ่มที่ 2 แม่จะหักห้ามใจในการตอบสนองมากกว่า พวกเขาพบว่าเด็กในกลุ่มที่ 1 ซึ่งแม่ตอบสนองอย่างอ่อนโยนและรวดเร็วกว่า จะไม่ค่อยใช้การร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารเมื่อเขาอายุ 1 ขวบ เด็กเหล่านี้รู้สึกผูกพันกับแม่ของพวกเขาค่อนข้างมาก และมีพัฒนาการของทักษะการสื่อสารดีกว่า เป็นเด็กที่ไม่ค่อยโยเยและไม่เอาแต่ใจตัวเอง

ก่อนการวิจัยครั้งนี้ พ่อแม่ถูกทำให้เชื่อว่า ถ้าพวกเขารีบอุ้มลูกทุกครั้งที่ลูกร้อง ลูกจะไม่มีทางเรียนรู้ที่จะปรับตัวและจะยิ่งเรียกร้องมากขึ้น งานวิจัยของเบลล์และเอนส์เวิร์ธแสดงผลในทางกลับกัน ทารกที่มีความรู้สึกปลอดภัยและได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน จะติดพ่อแม่น้อยลงและเรียกร้องน้อยลง มีการทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นเพื่อลบล้าง “ทฤษฏีการถูกตามใจจนเสียเด็ก” แสดงว่า ทารกที่ไม่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจะร้องไห้มากขึ้น, นานขึ้น, และด้วยวิธีการที่น่ารำคาญมากขึ้น

ในการวิจัยครั้งหนึ่ง เปรียบเทียบเด็ก 2 กลุ่ม เด็กกลุ่มหนึ่งได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วและอ่อนโยน ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ เด็กที่ได้รับการตอบสนองอย่างอ่อนโยนจะร้องไห้น้อยลง 70 เปอร์เซ็นต์ ในทางกลับกัน เด็กที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จนพอใจ ไม่ร้องไห้ลดลง สรุปง่าย ๆ ก็คือ งานวิจัยเรื่องการร้องไห้แสดงว่า ทารกที่เสียงร้องไห้ของเขามีคนรับฟังและตอบสนองจะเรียนรู้ที่จะ “ร้องไห้ให้ดีขึ้น” ทารกที่พ่อแม่พยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูก จะเรียนรู้ทีจะ “ร้องไห้ให้ดังขึ้น”

สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า นอกจากจะมีความแตกต่างของวิธีที่ทารกสื่อสารกับพ่อแม่ตามการตอบสนองที่เขาได้รับต่อการร้องไห้ของเขาแล้ว และยังมีความแตกต่างในหมู่คุณแม่อีกด้วย งานวิจัยแสดงว่า แม่ทีพยายามยับยั้งใจในการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ หรือตอบสนองด้วยความอ่อนไหวน้อย จะมีความรู้สึกอ่อนไหวต่อเสียงร้องของทารกน้อยลงเรื่อย ๆ และความไม่อ่อนไหวนี้จะส่งต่อไปยังความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกด้านอื่น ๆ งานวิจัยแสดงว่าการปล่อยให้ลูกร้องจนพอใจ ทำให้ความรู้สึกของครอบครัวเสียไปด้วย

7. การร้องไห้ไม่ได้ช่วยให้ทารก “ได้ขยายปอด”

หนึ่งในความเชื่อผิด ๆ ทางการแพทย์คือ “ปล่อยให้ทารกร้องไห้ ช่วยขยายปอด” ช่วงปลายศตวรรษที่ 1970 มีงานวิจัยแสดงว่าทารกที่ถูกปล่อยให้ร้องไห้จะมีอัตราการเต้นหัวใจสูงขึ้นถึงระดับที่น่าเป็นห่วง มีปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เมื่อการร้องไห้ของเขาได้รับการปลอบประโลม ระบบหัวใจและหลอดเลือดกลับสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นว่าทารกสามารถรับรู้ความเป็นดีอยู่ดีทางกายได้รวดเร็วมาก ถ้าการร้องไห้ไม่ได้รับการปลอบประโลม ทารกจะตกอยู่ในความเครียดทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการร้องไห้ช่วยสร้างเสริมสุขภาพ ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ เพราะหนึ่งในคะแนน Apgar (การทดสอบที่แพทย์ใช้ประเมินสภาพของทารกแรกเกิด) ทารกจะได้คะแนนเพิ่ม 2 คะแนนถ้า “ร้องไห้เสียงดังเต็มที่” ทั้ง ๆ ที่การได้คะแนนเพิ่มเพราะการร้องไห้ไม่มีความสมเหตุสมผลในทางสรีระศาสตร์เลย ทารกแรกเกิดซึ่งรู้สึกตัวดีแต่นอนเงียบ ๆ หายใจในระดับปกติ และตัวเป็นสีชมพูมากกว่าเด็กที่ร้องไห้เสียงดัง กลับเสียคะแนน Apgar นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดว่า เสียงร้องไห้ ซึ่งเป็นเสียงที่น่าอัศจรรย์ที่สุดของมนุษย์ ยังคงถูกแปลความหมายไปในทางที่ผิดอยู่

วิธีสอนให้ลูกร้องไห้ได้ดีขึ้น

ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับซึ่งผ่านการทดสอบมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สามารถแปลความหมายและตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกได้อย่างเป็นธรรมชาติ และค่อย ๆ สร้างความสัมพันธ์ในการสื่อสาร เพื่อที่ทารกจะได้ไม่ต้องร้องไห้อยู่ตลอดเวลาเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่

1. คิดว่าการร้องไห้ของทารก คือ เครื่องมือสื่อสาร มากกว่า เครื่องมือที่ใช้บงการพ่อแม่ – คิดว่าการร้องไห้เป็นสัญญาณที่ต้องรับฟัง แปลความหมาย มากกว่า คิดกลัวว่าจะตามใจลูกจนเสียเด็ก หรือกลัวจะตกอยู่ในการควบคุมของลูก

2. เร็วดีกว่าช้า – พ่อแม่มือใหม่มักจะคิดว่า ยิ่งชะลอการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกออกไป ลูกจะร้องไห้น้อยลง ถึงแม้ว่านี่อาจจะเป็นเรื่องจริงสำหรับเด็กใจอ่อน, หัวอ่อน แต่ทารกที่มีบุคลิกดื้อดึงจะร้องไห้เสียงดังขึ้น, ส่งเสียงน่ารำคาญมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรจะหัดอ่านสัญญาณที่มักเกิดขึ้นก่อนการร้องไห้ เช่น สีหน้าวิตกกังวล การกางแขนหรือโบกมือเรียก การหายใจถี่ ฯลฯ การตอบสนองต่อสัญญาณเรียกร้องให้พ่อแม่อุ้มเหล่านี้ จะสอนให้ทารกรู้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ

คุณพ่อคุณแม่ควรลืมเรื่องถูกตามใจจนเสียเด็กไปก่อน ผลงานวิจัยแสดงว่า ทารกที่ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วเมื่อเขาร้องไห้ จะเรียนรู้ที่จะร้องไห้น้อยลงเวลาที่เขาโตขึ้น

3. ตอบสนองให้เหมาะสม – คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน ช่วงสัปดาห์แรกเป็นช่วงของการซ้อมคิว คุณแม่ควรตอบสนองอย่างรวดเร็วและทำตามสัญชาติญาณ เมื่อคุณกับลูกสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้น คุณแม่จะรู้เองว่าการร้องไห้ของเขาเป็น “เหตุด่วน” ที่ต้องตอบสนองทันที หรือสามารถรอได้

เรียนรู้คำตอบที่เหมาะสมสำหรับการร้องไห้ รู้ว่าจะพูดว่า “ได้จ้ะ” หรือ “ไม่ได้จ้ะ” เมื่อไร โดยธรรมชาติคุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยการเป็น “คุณแม่ได้จ้ะ” แต่ต่อมาสัญชาติญาณจะทำให้คุณแม่กลายเป็น “คุณแม่ได้จ้ะและไม่ได้จ้ะ” เวลาคุณแม่ที่ยังไม่แน่ใจ ให้ตอบว่า “ได้จ้ะ” ไปก่อน การตอบสนองมากเกินไปแก้ไขได้ง่ายกว่ามาก คุณแม่ก็แค่ถอยหลังออกมานิดหนึ่ง การแก้ไขความไม่เชื่อใจของทารกที่เกิดจากการตอบสนองไม่เพียงพอเป็นเรื่องยากกว่ามาก และอาจทำให้สูญเสียการสื่อสาร

4. ลองใช้วิธีแบบชาวแคริบเบียน – ระบบที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสงบทางจิตใจให้กับทารก เป็นระบบที่เราเรียกชื่อเล่นตามทัศนคติของชาวแคริบเบียนว่า “ไม่มีปัญหา” สมมติว่าลูกวัยเจ็ดเดือนของคุณกำลังนั่งเล่นอยู่ที่พื้นใกล้ ๆ ในขณะที่คุณกำลังคุยโทรศัพท์ ลูกเริ่มงอแงและทำท่าจะให้อุ้ม แทนที่จะวางโทรศัพท์แล้วรีบอุ้มเขาขึ้นมา คุณก็ทำหน้าสดใส แสดงให้เขาเห็นว่าคุณรับรู้ความต้องการของเขาและพูดกับว่า “ไม่เป็นไรนะจ๊ะ” การทำเช่นนี้ ภาษากายของคุณจะบอกว่า “ไม่มีปัญหา ไม่ต้องงอแง” อีกวลีหนึ่งที่พวกแคริบเบียนชอบใช้คือ “สบายดี ไม่มีปัญหา” ใช้ภาษากายของคุณ สื่อให้ลูกคุณรู้ว่า “สบายดี ไม่มีงอแง”

โรคปิดเครื่อง (SHUTDOWN SYNDROME)*

จากการทำงานตลอด 30 ปีร่วมกับพ่อแม่และทารก เราได้รับรู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตของเด็ก (ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ) และวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่

“เธอตามใจลูกมากเกินไป” ลินดากับนอร์ม พ่อแม่มือใหม่พาเฮทเธอร์ลูกสาววัยสี่เดือนซึ่งมีความต้องการสูงมาพบผม เพราะเฮทเธอร์หยุดเจริญเติบโต

เฮทเธอร์เคยเป็นเด็กที่มีความสุข เติบโตสมบูรณ์ (thrive) จากการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดเต็มที่ มีคนอุ้มวันละหลาย ๆ ชั่วโมง เวลาร้องไห้ก็ได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ได้กินนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ มีคนสัมผัสกอดรัดใกล้ชิดเกือบทั้งวัน ทั้งครอบครัวมีความสุขดี และการเลี้ยงดูแบบนี้ได้ผลดีสำหรับพวกเขา แต่เพื่อนผู้หวังดีเกลี้ยกล่อมให้พ่อแม่คู่นี้เชื่อว่า พวกเขาตามใจลูกมากเกินไป ลูกสามารถบงการพวกเขาได้ และเฮทเธอร์จะโตขึ้นมาเป็นเด็กที่ติดพ่อแม่

พ่อแม่หมดความเชื่อมั่น – เหมือนพ่อแม่มือใหม่ทั่ว ๆ ไป นอร์มกับลินดาหมดความเชื่อมั่นในสิ่งที่พวกเขาทำอยู่ และยอมแพ้ต่อแรงกดดันของคนรอบข้าง ยอมรับวิธีการเลี้ยงลูกแบบยับยั้งชั่งใจและห่างเหินกว่าเดิม พวกเขาปล่อยให้เฮทเธอร์ร้องไห้จนหลับไป ให้กินนมตามตารางเวลา และอุ้มเฮทเธอร์น้อยลงเพราะกลัวว่าลูกจะเสียเด็ก

สองเดือนต่อมา เฮทเธอร์เปลี่ยนจากเด็กที่มีความสุขและชอบโต้ตอบกับพ่อแม่ เป็นเด็กที่เศร้าสร้อยและเงียบงัน น้ำหนักของเธอไม่เพิ่มขึ้น จากเด็กที่อยู่บนสุดของตารางการเจริญเติบโต ตกลงมาอยู่ล่างสุด เฮทเธอร์ไม่เติบโตสมบูรณ์อีกต่อไป พ่อแม่ของเธอก็เช่นกัน

ทารกหมดความเชื่อมั่น – หลังจาก 2 เดือนที่ไม่มีการเจริญเติบโต หมอบอกว่าเฮทเธอร์ “ล้มเหลวในการเติบโตสมบูรณ์” (fail to thrive) และเกือบจะต้องเข้ารับการตรวจรักษาอย่างละเอียด เมื่อพ่อแม่มาปรึกษาผม ผมวินิจฉัยว่าเธอเป็น “โรคปิดเครื่อง”

ผมอธิบายว่าเฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์เพราะการเลี้ยงดูอย่างทะนุถนอม และด้วยการเลี้ยงดูแบบนี้ เฮทเธอร์มีความเชื่อมั่นว่าความต้องการของเธอจะได้รับการตอบสนอง และสภาพทางกายภาพโดยรวมของเธอจะได้รับการจัดการเป็นอย่างดี เพราะคิดว่าพวกเขาจะให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก พ่อแม่คู่นี้ปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงไปใช้วิธีการเลี้ยงดูแบบอื่น พวกเขาถอดปลั๊กความผูกพันระหว่างพวกเขากับเฮทเธอร์โดยไม่รู้ตัว และสูญเสียช่องทางที่ทำให้เฮทเธอร์เติบโตสมบูรณ์ ความกดดันต่อทารกก็จะเกิดขึ้น และระบบทางกายภาพของเฮทเธอร์ชะลอตัว

ผมแนะนำพ่อแม่คู่นี้ให้กลับไปใช้วิธีเลี้ยงดูแบบเดิม อุ้มลูกบ่อย ๆ ให้กินนมเวลาที่ต้องการ ตอบสนองต่อเสียงร้องของเธอย่างอ่อนโยนทั้งกลางวันและกลางคืน ภายใน 1 เดือนเฮทเธอร์กลับมาเติบโตสมบูรณ์เหมือนเดิม

ทารกจะเติบโตสมบูรณ์เมื่อได้รับการทะนุถนอม – เราเชื่อว่า ทารกทุกคนมีความต้องการที่จะได้สัมผัสและทะนุถนอมระดับหนึ่งเพื่อที่เขาจะเติบโตสมบูรณ์ (เติบโตสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความแค่ โตขึ้น แต่ต้องโตขึ้นได้เต็มศักยภาพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)

เราเชื่อว่า ทารกสามารถสอนพ่อแม่ได้ว่าเขาต้องการการเลี้ยงดูในระดับใด มันขึ้นอยู่กับพ่อแม่ว่าจะรับฟังหรือไม่ และขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในทางวิชาชีพที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ ไม่ทำลายความมั่นใจด้วยการแนะนำวิธีการเลี้ยงดูที่เหินห่างกว่า เช่น “ปล่อยให้ลูกร้องไห้ให้พอใจ” หรือ “คุณต้องอุ้มเขาให้น้อยลง” ตัวทารกเท่านั้นที่รู้ระดับความต้องการของตัวเอง และพ่อแม่เป็นคนที่จะเข้าใจภาษาของลูกตัวเองได้ดีที่สุด

ทารกที่ “ได้รับการฝึกสอน” ให้ไม่แสดงความต้องการของตัวเองออกมา อาจจะดูเงียบสงบ, หัวอ่อน, หรือ เป็นเด็กดี แต่ทารกเหล่านี้อาจจะเป็นเด็กที่มีความกดดัน ซึ่งปิดกั้นการแสดงความต้องการของตัวเอง พวกเขาอาจจะกลายเป็นเด็กที่ไม่กล้าพูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และสุดท้ายก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่เอาแต่ใจตัวเองมากที่สุด

(แปลและเรียบเรียงจากบทความในเว็บไซต์ www.askdrsears.com) โดย คุณนิจวรรณ ตั้งวิรุฬห์

* หมายเหตุ ครั้งแรกผู้แปลแปลคำว่า Shutdown Syndrome ว่า โรคเงียบ เพราะเข้าใจผิดว่าดร.เซียร์สจะบอกว่าทารกนิ่งเงียบไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อได้ไปอ่านทวนบทความภาษาอังกฤษอีกรอบ จึงเข้าใจว่าประเด็นหลักน่าจะเป็นการหยุดเจริญเติบโตของทารกมากกว่าการไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คำว่า Shutdown นี้จึงควรจะเป็นความหมายเดียวกับที่่เราใช้เวลาเราปิดหรือหยุดสิ่งต่าง ๆ เช่น ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, หยุดกิจการ, ปิดโรงงาน ฯลฯ โรคเงียบ จึงถูกเปลี่ยนเป็น โรคปิดเครื่อง ด้วยประการฉะนี้...
--------------------------------------------------------------------
บทความนี้ ถึงกับทำให้ผู้แปลเปลี่ยนทัศนคติ และรู้สึกผิดที่เคยหงุดหงิดหลานๆ ซึ่งร้องไห้ งอแงพูดไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว บทความนี้ให้ความรู้กับเราในประเด็นที่แตกต่างไปอย่างมาก จากที่เคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก  อย่างไรก็ตาม อยากให้ผู้อ่านพิจารณาให้ดีว่า การที่ลูกร้องไห้นั้น เราควรตอบสนองอย่างไร ในแต่ละช่วงวัยหรือสถานการณ์  ดังที่ในบทความก็กล่าวไว้ว่า "คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรีบอุ้มลูกวัยเจ็ดเดือนเร็วเท่ากับลูกวัยเจ็ดวัน"

การตอบสนองต่อเสียงร้องไห้ของลูกอย่างเหมาะสมนั้นไม่ได้หมายถึงการตามใจลูกทุกครั้งที่ลูกร้องไห้นะคะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถสื่อสารกับเราด้วยวิธีอื่นได้แล้ว - webmother

ทำไมลูก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ง่วงนอน แต่ไม่ยอมนอน

     ตามหัวข้อเลยค่ะ ลูกชายเราก็เป็นค่ะ แรกๆร้องบ้านแตกเลยค่ะเพราะเค้าง่วง แต่หลับเองไม่เป็น ร้องทั้งวันเลยค่ะ ร้องจนหมดแรงหลับไปเอง เรากลุ้มมากเพราะอยากให้ลูกนอน จนในที่สุดเราเลยหาข้อมูลตามเน็ท และอ่านหนังสือเกี่ยวกับการนอนของเด็ก และเราได้ลองเอาคำแนะนำจากหนังสือมาลองใช้กับลูกเราดู ปรากฎว่าลูกเราเปลี่ยนเป็นคนล่ะคนเลยค่ะ จากเด็กที่หงุดหงิดงอแงกลายมาเป็นเด็กที่อารมณ์ดีมาก และถือว่าเลี้ยงง่ายมากค่ะ เราเลยอยากเอาข้อมูลความรู้ที่ได้จากหนังสือมาแบ่งปันให้คุณแม่ๆทั้งหลายได้ลองนำไปใช้ดูค่ะ

เด็กทารก (แรกเกิดถึง 3 เดือน) ยังหลับเองไม่เป็น คุณแม่ต้องช่วยกล่อมให้เค้าหลับค่ะ หลังจาก 4 เดือนๆไปแล้วค่อยเริ่มสอนให้เค้ากล่อมตัวเองให้หลับ  เราต้องรู้ว่าเค้าเริ่มง่วงตอนไหน โดยปกติแล้วเค้าจะแสดงอาการเหล่านี้เมื่อเริ่มง่วง

เอามือขยี้ตา
เลิกสนใจของเล่น
นอนนิ่งๆ
หาว
ตาลอย หรือตาปรือ
อยู่ดีๆก็งอแงขึ้นมาเฉยๆ

พอเราเห็นอาการดังกล่าวแล้วเราก็ต้องเริ่มกล่อมให้เค้านอนได้แล้ว เด็กวัยนี้เค้าจะตื่นมากินนมหรือเล่นได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ถ้าเราปล่อยให้ลูกตื่นนานกว่านี้ร่างกายเค้าจะทนรับไม่ไหว สมองเค้ายังไม่พัฒนาพอที่จะหลับเองได้  ร่างกายเค้าก็จะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งขี้นมา ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เด็กไฮเปอร์ตื่นตัวไม่ยอมหลับ และในที่สุดเค้าก็จะร้องให้ ร้องจนเหนื่อยจนร่างกลายทนไม่ไหว และน็อคไปในที่สุด  ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้บ่อยๆล่ะก็ไม่ดีต่อสุขภาพของเค้าแน่นอน

มาดูขั้นตอนการช่วยให้ลูกหลับกันค่ะ

1 จับเวลาค่ะ เค้าตื่นเมื่อไหร่เราก็เริ่มจับเวลาได้เลย 1-2 ชั่วโมงหลังจากลูกตื่น เค้าจะเริ่มแสดงอาการง่วงนอนออกมา (ลูกเราประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที ก็เริ่มแสดงอาการแล้ว กล่อมประมาณ 5-10 นาทีก็หลับแล้วค่ะ)

2 พอเค้าเริ่มง่วงเราก็กล่อมเค้าให้หลับได้เลย ใช้วิธีที่เค้าชอบที่สุดเช่น ให้กินนม อุ้มเดิน ไกวเปล เป็นต้น

3 จำไว้ว่าเราต้องกล่อมเค้าให้หลับภายในเวลาที่กำหนด ถ้าปล่อยไว้เกินเวลา รับรองร้องบ้านแตกแน่ค่ะ แถมกล่อมยังไงก็ไม่หลับอีกต่างหาก

เด็กที่พักผ่อนเพียงพอ จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี เรียนรู้ได้ดีกว่าเด็กที่นอนไม่พอด้วยค่ะ
---------------------------------------------
ลูกชายเราอายุ 2 เดือน 3 อาทิตย์ ค่ะ ตั้งแต่ได้นอนเต็มอิ่มก็แทบจะไม่งอแงเลยค่ะ

ช่วงแรกเกิด - 3 เดือนลูกเราเลี้ยงง่ายค่ะ ไม่งอแง อารมณ์ดี ยิ้มเก่งมากๆ (ถ่ายรูปลูกทีไรจะยิ้มหวานทุกที) ปรับกลางวัน-กลางคืนได้ก่อน 1 เดือน 

พอ 1 เดือนเริ่มนอนกลางคืนยาวแล้วค่ะ ตื่นมากินนม 2 รอบ  เริ่มให้นอนเองโดยไม่แบกค่ะ เพราะเราต้องดูลูกคนโตด้วย  คือ ถ้าร้องเราก็อุ้มกล่อม พอเงียบได้ซักพักเราก็วางค่ะ พยายามไม่ให้ติดอุ้มหลับ

พอ 2 เดือนก็เริ่มนอนยาวมากขึ้น ตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบค่ะ (บางคืนอาจจะ 2)
ตอนนี้เริ่มนอนเองได้แล้ว เวลาตื่นมากลางคืน หากกินนมแล้วไม่นอน ยิ้มตาหวานแป๋วๆให้ เราจับเค้าลงเตียงนอน เค้าก็หลับเองได้ค่ะ  (เคยตื่นมากินนมตี 4 ยิ้มให้แม่อย่างหวาน ปากบานเชียวค่ะ พร้อมเล่นเต็มที่  เราก็คิดว่าแล้วจะหลับไหมเนี่ย แต่ก็ลองเอาไปหย่อนเตียงเค้าทั้งๆที่ตาแป๋วๆอย่างนั้นแหละ แล้วเราก็ไปนอนต่อเอาแรงอีกหน่อยเพราะเดี๋ยวคนโตตื่นเราต้องจัดการเตรียมเค้าไปโรงเรียนอีก  เค้าก็หลับเองได้นะคะ ไม่ต้องกล่อมเลย) กลางวันเริ่มหลับเองได้เช่นกัน

ตอนนี้ 3 เดือนกว่าแล้วค่ะ เหลือตื่นมากินนมคืนละ 1 รอบ หลับเองได้ทั้งกลางวันและกลางคืนค่ะ


ตอนลูกคนแรกเราขอบอกว่าเหนื่อยมากค่ะ ตื่นมากินนมหลายรอบ นอนเองไม่เคยเป็น
พอมามีคนเล็ก เราพยายามจะหัดเค้า ไม่ให้ติดอุ้มกล่อม เพราะเราก็ต้องจัดการคนโตด้วยไหนจะ อาบน้ำ แปรงฟัน เอาเข้านอน เลยลองปล่อยให้คนเล็กหัดหลับเอง ไม่งั้นเราก็ไม่ไหวเหมือนกันค่ะ เพราะต้องทั้งเลี้ยงลูกและทำงาน


หมอของลูกเราบอกว่าที่คนเล็กดูเลี้ยงง่าย สบายๆด้วย น่าจะเป็นเพราะพ่อแม่มีความมั่นใจมากขึ้นค่ะ มั่นใจและรู้จักวิธีการรับมือลูกมากกว่าเดิม เพราะมีประสบการณ์มาบ้างแล้ว

-----------------------------
ช่วงอายุครบ 1 เดือน ลูกงอแงมากมายช่วงหัวค่ำ เราคิดแต่ว่าเค้าปวดท้อง ให้กิน air-x ก็แล้ว จับเรอก็แล้ว ให้กินนมอีก ฯลฯ ก็ไม่หาย จนมีคนมาเห็นบอกว่าเค้า "ง่วง" ค่ะ แค่นั้นแหละ เก็ตเลย หลังจากนั้นก็รับมือได้ พอง่วงก็กล่อมหลับ

ตอนนี้ 7 เดือนแล้วยังงอแงเวลาง่วงเหมือนเดิมเลย แต่แม่มันจับทางได้แล้วเวลาขยี้ตา ไม่ค่อยอยากเล่นของเล่นแล้ว แสดงว่าง่วงล่ะ ถ้าปล่อยไว้สักพักจะงอแงมาก ตามที่คุณ จขกท เขียนมาเป๊ะเลยค่ะ

 
 
Support : | |
Copyright © 2014. Guide Baby Care - All Rights Reserved
Template Created by Published by
Proudly powered by Blogger